ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จูกัดเหลียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 188:
สถานที่พำนักของขงเบ้ง ที่ถูกบรรยายในวรรณกรรมว่าเป็นกระท่อมไม้ไผ่หรือกระท่อมหญ้าบนเขาโงลังกั๋ง ในปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันอยู่ระหว่าง 2 ที่ คือ กู่หลงจง ตั้งอยู่ห่างจากเมือง[[เสียนหยาง]] [[มณฑลหูเป่ย]] ไปประมาณ 10.6 กิโลเมตร ทางตะวันตกเยืองไปทางใต้ ที่นั่นมีศาลขงเบ้งตั้งอยู่ทั้งศาลเก่าและศาลที่สร้างขึ้นใหม่ ณ ที่นี่เชื่อว่าเป็นสถานที่ ๆ ขงเบ้งเสนอ[[ยุทธศาสตร์หลงจง]]แก่เล่าปี่ และอีกที่หนึ่ง คือ [[โว่หลงกัง]] หรือเขาโงลังกั๋ง ใน[[มณฑลเหอหนาน]] อยู่ห่างจากเมือง[[หนานหยาง]] ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=qrDLSq9_-ac|title=Spirit of Asia : เดินบนแผ่นดินสามก๊ก ตอนที่ 2 (17 ม.ค. 59)|date=2016-01-17|accessdate=2017-07-11|work=ไทยพีบีเอส}}</ref>
 
ขงเบ้งตัวตนจริงในประวัติศาสตร์แตกต่างจากบทบาทที่ปรากฏในวรรณกรรม โดยขงเบ้งไม่เคยวางกลอุบายการศึกแต่อย่างใด เพียงแต่นำทัพด้วยความสุขุมรอบคอบ และใช้เพียงกลยุทธธรรมดา ๆ การยืมลูกธนูแสนดอกจากโจโฉในศึกผาแดง ก็มิใช่ผลงานของขงเบ้ง แต่เป็นซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก และเหตุการณ์นี้ก็เกิดหลังจากศึกผาแดงนานถึง 5 ปี โดยซุนกวนล่องเรือไปเผชิญหน้ากับกองทัพของโจโฉ โจโฉจึงสั่งยิงธนูเข้าใส่เรือของซุนกวน ซุนกวนได้หันข้างเรือรับ จนเมื่อหนักกราบเรือปริ่มน้ำแล้วก็ให้หันอีกข้างรับต่อ และเดินทางกลับได้โดยปลอดภัย อีกทั้งกลอุบายเมืองร้าง ที่ม้าเจ๊กเสียด่านเกเต๋งให้แก่สุมาอี้ แม่ทัพของวุยก๊กครั้งนั้นก็มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็น[[เตียวคับ]] เพราะขณะนั้นสุมาอี้อยู่ที่เมือง[[ลกเอี๋ยง]] ไกลจากที่เกิดเหตุนับพันกิโลเมตร ขงเบ้งมิได้ใช้กลยุทธอุบายหลอกล่อใด ๆ เพียงแต่ถอยทัพด้วยความรวดเร็วเท่านั้น<ref>หน้า 12 ต่างประเทศ, '' 'ขงเบ้ง' เก่งการรบและกลศึก ?'' โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม. "เข้าใจโลก". '''กรุงเทพธุรกิจ''' ปีที่ 27 ฉบับที่ 9489: วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557</ref>
 
== อ้างอิง ==