ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:God-army.jpg|thumb|200px|นายจอนนี่เบดาห์หรือปรีดา ผู้นำก๊อด'ส อาร์มี่การก่อการร้ายที่ ร.พ.ศูนย์ราชบุรี]]
[[ไฟล์:Apr gods army 060919 ssh.jpg|thumb|200px|จอห์นนี่ (ซ้าย) และ ลูเธอร์ ทู (ขวา) ผู้นำก๊อด'ส อาร์มี่]]
'''เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543''' เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายใน[[ประเทศไทย]]ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกัน 2 เหตุการณ์ในช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงไม่กี่เดือน ด้วยกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน ที่เป็นนักศึกษา[[กะเหรี่ยง]][[ศาสนาคริสต์|คริสต์]] สัญชาติ[[พม่า]] ติดอาวุธสงคราม เรียกกองกำลังตัวเองว่า '''[[ก๊อด อาร์มี่|ก๊อด'ส อาร์มี่]]''' (God's Army) หรือ '''กองกำลังพระเจ้า'''
บรรทัด 6:
เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อ[[วันเสาร์]]ที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2542]] เวลา 11.45 น. จู่ ๆ กลุ่มนักศึกษาพม่า จำนวน 12 คน พร้อมอาวุธปืนและ[[ระเบิด]] บุกเข้าไปในสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ที่[[ถนนสาทร]] จับเจ้าหน้าที่สถานทูตและประชาชนที่เข้าไปติดต่อราชการเป็นตัวประกัน ไว้ได้ราว 20 คน จากนั้นก็ชัก[[ธงชาติพม่า]]และชักธงของ[[สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย|พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย]] (Nationality League for Democracy) ขึ้นไปแทน
 
ต่อมา เจ้าหน้าที่[[ตำรวจ]]ได้จับกุมนักศึกษาพม่าคนอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณเดียวกันมาสอบสวน ควบคู่ไปกับการเจรจาปล่อยตัวประกัน ทำให้ทราบว่า หัวหน้าผู้ก่อการครั้งนี้ ชื่อ '''นายจอนจอห์นนี่''' ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลทหารพม่าให้ปล่อยตัว นาง[[อองซาน ซูจี]] ผู้นำฝ่ายค้าน ให้กลับไปทำหน้าที่หลังได้รับ[[การเลือกตั้ง]]หลายถล่มทลายในปี [[พ.ศ. 2533]] ทางฝ่าย[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 ของไทย|รัฐบาลไทย]] พล.ต.[[สนั่น ขจรประศาสน์]] รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]ได้เดินทางมาสั่งการและเปิดศูนย์อำนวยการขึ้นที่อาคารไบเออร์ ที่อยู่ติดกับสถานทูต
 
ระหว่างนี้ การเจรจาไม่ได้ผล แต่ตัวประกันสามารถทยอยหนีออกมาได้เรื่อย ๆ หลังสถานทูต จนเหลือเพียง 5 คน
 
จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. นายจอนจอห์นนี่ได้ต่อรองขอ[[เฮลิคอปเตอร์]]ให้ไปส่งตนและพรรคพวกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่[[จังหวัดราชบุรี]] ทางรัฐบาลไทยได้ตอบรับ โดย ม.ร.ว.[[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร|สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] รัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงต่างประเทศ]] เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ซึ่งระหว่างตอนที่รถของนักศึกษาและรถของเจ้าหน้าที่ไทยออกจากสถานทูต ได้มีการปิดถนนสาทรและมีการรายงานสดจากที่เกิดเหตุของบรรดา[[สื่อมวลชน]][[สถานีโทรทัศน์|ช่อง]]ต่าง ๆ
 
ในที่สุด เมื่อผ่านไป 25 ชั่วโมงนับจากเกิดเหตุ เหตุการณ์ก็จบลงอย่างสงบ
บรรทัด 17:
 
== เหตุการณ์บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี ==
เช้าวันที่ [[24 มกราคม]] [[พ.ศ. 2543]] กองกำลังก๊อด'สนักศึกษาพม่า อาร์มี่ กลุ่มเดิมที่นำโดย นายจอนนี่เบดาห์หรือปรีดา จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุขึ้นอีกครั้งและอุกอาจยิ่งกว่าเดิม ด้วยการปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้[[เอ็ม 16|ปืนเอ็ม-16]] และระเบิดจี้คนขับรถให้พาไปยัง[[โรงพยาบาลราชบุรี|โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี]] เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้ประมาณ 1,000 คน เป็นตัวประกัน
 
จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ก่อการได้วางระเบิดดักไว้ที่ลาดจอดรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรองจนทราบว่า กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก การเจรจาผ่านไปเกือบ 20 ชั่วโมง กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ได้ร้องขอเครื่องมือสื่อสารและเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ให้พากลับไปส่งยังชายแดน ที่อำเภอสวนผึ้ง