ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จ่าดับ จำเปาะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จงประสิทธิ์พร (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17:
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ส.อาสนจินดา.jpg|thumb|left|150px|[[ส. อาสนจินดา]] ต้นกำเนิดตัวละครจ่าดับ จำเปาะ]]
=== การสร้างและแรงบันดาลใจ ===
ส. อาสนจินดา สร้างตัวละครจ่าดับ จำเปาะ โดยกำหนดให้เป็น ทหารรับจ้างมักจะสวมบทมือปืนคาดเชือกกล้วยกางเกงในสีแดงจนได้รับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง" อุปนิสัยใจร้อน มีความมั่นใจในตัวเองสูง รักพวกพ้องและเป็นผู้นำและเป็นที่เคารพของกลุ่ม โดยในกลุ่มพวกพ้องมีอยู่ 7 คนโดยมีชื่อที่คล้องจองกัน ได้แก่ ''จ่าดับ จำเปาะ, เหมาะ เชิงมวย, ตัวกวย แซ่ลี้, อัคคี เมฆยันต์, ดั้น มหิตรา, กล้า ตะลุมพุก, จุก เบี้ยวสกุล'' ทั้ง 7 คนถือเป็นตัวละครเอกของภาพยนตร์ชุดนี้
บรรทัด 27:
* '''ตังกวย แซ่ลี้''' เป็นคนโผงผาง รักเพื่อน ไม่ชอบให้ใครเรียกว่า เจ๊ก (ต้นฉบับแสดงโดย [[ทองฮะ วงศ์รักไทย]])
* '''อัคคี เมฆยันต์''' เป็นคนกะล่อนชอบวางแผนและชอบเล่นการพนันจนเสียงาน
* '''ดั้น มหิทธา''' เป็นคนเจ้าชู้ รักง่ายหน่ายเร็ว อกหักตลอด ชอบหาเรื่องกับจ่าดับ (ต้นฉบับแสดงโดย [[อดุลย์ ดุลยรัตน์]])<ref>http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2837</ref>
* '''กล้า ตะลุมพุก''' เป็นคนซื่อ อารมณืดี มีความสามารถในการใช้หมัด
* '''จุก เบี้ยวสกุล''' เป็นคนธรรมมะธัมโม เชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังชอบช่วยเหลือ มีความชำนาญในเรื่องระเบิด
 
=== ภาพยนตร์ชุด ''หนึ่งต่อเจ็ด'' ===
[[ไฟล์:หนึ่งต่อเจ็ด(2501).jpg|thumb|left|150px|ภาพยนตร์ [[หนึ่งต่อเจ็ด (ภาพยนตร์)|หนึ่งต่อเจ็ด]] ผลงานของ [[ส.อาสนจินดา]] ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงที่รู้จักกันในปี พ.ศ. 2501]]
จ่าดับ จำเปาะปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ "[[หนึ่งต่อเจ็ด (ภาพยนตร์)|หนึ่งต่อเจ็ด]]" ที่ออกฉายในปี [[พ.ศ. 2501]] สร้างมาจากความเคืองแค้นโรงภาพยนตร์อันเนื่องมาจากภาพยนตร์ที่ตั้งใจสร้างอย่าง ''พ่อจ๋า'' (2500) ที่ฉายโรงภาพยนตร์แกรนด์ โดนกลั่นแกล้งที่กำลังทำเงินแต่โดนออกจากโรง ขณะภาพยนตร์อีกเรื่อง ''สุภาพบุรุษสลึมสลือ'' (2500) ภาพยนตร์แอ็คชั่นที่ไม่ได้บรรจงสร้างเหมื่อนพ่อจ๋ากลับทำเงิน ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2501]] เจ้าของโรงภาพยนตร์พัฒนากรให้เงินก้อนหนึ่งแก่ ส.อาสนจินดา เพื่อนำไปสร้างภาพยนตร์แอ็คชั่นมาเข้าฉายในช่วงเทศกาล[[ตรุษจีน]] ส.อาสนจินดาจึงมีเวลาเพียง 27 วันในการถ่ายทำก่อนฉายในวันตรุษจีนตามเงื่อนไข<ref name="สยามศิลปิน">[http://www.youtube.com/watch?v=jVKSGuRi9mw รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๑ ตอน สมชาย อาสนจินดา พระเอกนักประพันธ์]</ref> ส.อาสนจินดาจึงสร้างภาพยนตร์เรื่อง ''[[หนึ่งต่อเจ็ด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2501)|หนึ่งต่อเจ็ด]]'' นำแสดงโดย [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]], [[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]], [[วิภา วัฒนธำรงค์]], [[ศรินทิพย์ ศิริวรรณ]], [[อดุลย์ ดุลยรัตน์]], สมชาย ตันฑกำเนิด, ทม วิศวชาติ และ ส.อาสนจินดา รับบทเป็น ''จ่าดับ จำเปาะ'' โดยบทบาทนี้ส.อาสนจินดาจะสวมบทมือปืนคาดเชือกกล้วยกางเกงในสีแดงเอง ซึ่งเป็นตัวละครได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนั้น จนได้รับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง"
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายเมื่อวันที่ [[14 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2501 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร หลังภาพยนตร์ออกฉายปรากฏว่ากวาดรายได้เกินหลักล้าน<ref>http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1996</ref> และสามารถทำรายได้ให้แก่โรงภาพยนตร์พัฒนากรได้เกือบ 9 แสนบาท<ref name="สยามศิลปิน"/> ซึ่งถือว่าสูงมากในสมัยนั้น ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในภาคแรกๆทำให้มีการสร้างภาคต่อๆมาร่วมสิบตอน เรียกได้ว่าหลังจาก พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา เรื่องราวการผจญภัยของจ่าดับและผองเพื่อนก็จะออกฉายแต่ละภาคเกือบจะทุกๆปี ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนชื่อหนังไปในแต่ละภาคแต่ละตัวละครยังคงเป็นจ่าดับคนเดิมและอาจจะมีบ้างที่ในบางภาคบางตอน ผองเพื่อนบางคนอาจจะหายไปแต่ตัวละครจ่าดับนั้นยังคงอยู่
บรรทัด 61:
* [[สายัณห์ จันทรวิบูลย์]] รับบทเป็น '''จุก เบี้ยวสกุล'''
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายเมื่อวันที่ [[11 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2520 มีเพลงโฆษณาโดยใช้ตัวละครเอกทั้ง 7 คนเป็นเนื้อร้อง ภาพยนตร์ออกฉายประสบความสำเร็จอย่างสูง<ref>http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2302</ref><ref>[http://archive.is/qVh9 หนึ่งต่อเจ็ด] sahamongkolfilm.com</ref> และมีภาคต่อในชื่อว่า "[[7 ประจัญบาน]]" โดยร่วมกำกับด้วยโดย [[วิเชียร วีระโชติ]] ออกฉายวันที่ [[7 ตุลาคม]] พ.ศ. 2520<ref>[http://archive.is/FUnO 7 ประจัญบาน] sahamongkolfilm.com</ref> ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้ประสบความสำเร็จเช่นกัน
 
=== นำมาสร้างใหม่ในชื่อ ''7 ประจัญบาน'' ===
ในปี [[พ.ศ. 2545]] ภาพยนตร์ ''หนึ่งต่อเจ็ด'' ได้ถูกนำโครงเรื่องและชื่อตัวละครมาสร้างใหม่ในชื่อ ''[[7 ประจัญบาน]]'' เป็นเรื่องราวที่เกิดในเหตุการณ์ในช่วง[[สงครามเวียดนาม]] โดยมี [[เฉลิม วงศ์พิมพ์]] เป็นผู้กำกับ<ref>[http://2g.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/7/7.html 7 ประจัญบาน] pantip.com</ref> โดยครั้งนี้ตัวละครจ่าดับ จำเปาะ รับบทโดย [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] ร่วมด้วย [[อัมรินทร์ นิติพน]], [[เท่ง เถิดเทิง]], [[ค่อม ชวนชื่น]], [[ทศพล ศิริวิวัฒน์]], [[แช่ม แช่มรัมย์]], [[พิเศก อินทรครรชิต]], [[พรรณวลินทร์ ศรีสวัสดิ์]], [[กุณฑีรา สัตตบงกช]], ดลยา โพธิภัทรกุล, ดี๋ ดอกมะดัน, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ และ ประกาศิต โบสุวรรณ ออกฉายวันที่ [[26 เมษายน]] พ.ศ. 2545 ทำรายได้ 58.30 ล้านบาท<ref>[http://www.boysapolclub.com/Forums/index.php?topic=1581.0;wap2 100 อันดับหนังไทย ที่ทำรายได้สูงที่สุด]</ref> ต่อมาจึงมีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อ "[[7 ประจัญบาน 2]]" ในปี [[พ.ศ. 2548]] โดยมี [[สามารถ พยัคฆ์อรุณ]] ซึ่งมารับบทแทนเท่ง เถิดเทิงในภาคแรก โดยรับบทเป็น เหมาะ เชิงมวย เป็นพี่ชายของหมัด เชิงมวย<ref>[http://2g.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/7_2/72.html 7 ประจัญบาน 2] pantip.com</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2553]] กอบสุข จารุจินดาได้นำเรื่อง ''7 ประจัญบาน'' กลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยดัดแปลงจากบทภาพยนตร์ดั้งเดิมของ [[ส. อาสนจินดา]] ในรูปแบบ[[ละครโทรทัศน์]]ออกอากาศทาง [[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] ผลิตโดยบริษัท สุขสันต์หรรษา 52 จำกัด บทโทรทัศน์โดย สิงห์พยศ กำกับการแสดง [[วีระชัย รุ่งเรือง]] เป็นเรื่องราววีรกรรมการกอบกู้ชาติไทยที่เกิดขึ้นในช่วงสมัย[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] โดยใช้นักแสดงหน้าใหม่ กับนักแสดงที่เคยแสดงในภาพยนตร์ คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ สรพงศ์ ชาตรี และตัวละครจ่าดับ จำเปาะ ก็ยังคงรับบทโดย [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] เช่นเดิม <ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20101106/จอแก้วเรื่องย่อ๗ประจัญบาน.html ละคร ๗ ประจัญบาน ช่อง 3]</ref>
 
== ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ==