ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศุลกสถาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล สิ่งก่อสร้าง | ชื่อสิ่งก่อสร้าง = อาคารศุลกสถา...
 
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ผังของศุลกสถาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวแผ่ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีระเบียงทางเดินด้าน หน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มหน้าต่างตลอดแนวอาคาร ชั้นล่างเป็นซุ้มสี่เหลี่ยมเรียบๆ ส่วนชั้น 2-3 เป็นซุ้มโค้ง ขอบระเบียงเป็นลูกกรงแก้วปูนปั้น มีเสาอิงเป็นระยะสลับกับแนวหน้าต่าง ช่วงกลางเป็นจั่ว รูปสามเหลี่ยมบรรจุนาฬิกาทรงกลมในจั่ว เหนือจั่วมีกระบังหน้าคล้ายมงกุฎปั้นเป็นตราแผ่นดิน<ref>''อรวรรณ บัณฑิตกุล'',[http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=1759 อาคารศุลกสถาน อดีตที่ร่วงโรยริมแม่น้ำเจ้าพระยา], ผู้จัดการออนไลน์ .สิงหาคม 2544</ref> อาคารมีทรงคล้ายคลึงกับ "ตึกเก่า" [[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] ซึ่งสร้างในช่วงเวลาและตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้คนออกแบบก็เป็นคนคนเดียวกันด้วย
 
อาคารศุลกสถานแห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ทำการเก็บภาษีสินค้าขาเข้า ที่เรียกว่า “ภาษีร้อยชักสาม”<ref>[http://www.myhappyoffice.com/index.php/2013/08/fire-station-bangruk/ สถานีดับเพลิงบางรักอลังการ..แนวยุโรปสถานที่เก่าแก่ 120 ปี], My Happy Office .วันที่ 28 ส.ค. 2556</ref> แล้ว ยังเคยเป็นสถานที่จัดเลี้ยงและเต้นรำของเชื้อพระวงศ์และชาวต่างชาติในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นที่จัดเลี้ยงงานสมโภชครั้ง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จนิวัติพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2502 สถานที่แห่งนี้ถูกปรับบทบาทเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก และอยู่ในความดูแลของกองตำรวจดับเพลิงมาจนปัจจุบัน
 
== อ้างอิง ==