ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัทธรรมปุณฑรีกสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จิตร (คุย | ส่วนร่วม)
จิตร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''สัทธรรมปุณฑรีกสูตร''' ({{lang-sa|सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र}}, ''{{IAST|Saddharma Puṇḍarīka Sūtra}}'') เป็น[[พระสูตร]]ที่สำคัญใน[[พุทธศาสนา]]ฝ่าย[[มหายาน]] เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะชาว[[จีน]]และประเทศในเอเชียตะวันออก
 
สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เวียดนาม เป็นต้น ของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9
สมัยแห่งการแต่งพระสูตรนั้นไม่มีมติที่แน่นอน บ้างก็ว่าหลายร้อยปีหลังพุทธปรินิพพาน บ้างก็ว่าแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 300 เป็นอย่างเร็ว แต่ต้นฉบับ[[สันสกฤต]]ที่ค้นพบใน[[เนปาล]]ล้วนมีอายุหลังพุทธกาลราว 1,500 ปีทั้งสิ้น แม้ฉบับแปลของ[[ทิเบต]]ก็มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระ[[นาคารชุน]]ได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน พ.ศ. 693 จึงสันนิษฐานได้ว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ความคิดแบบมหายานพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วใน[[อินเดีย]]
 
ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น
 
สมัยแห่งการแต่งพระสูตรนั้นไม่มีมติที่แน่นอน บ้างก็ว่าหลายร้อยปีหลังพุทธปรินิพพาน บ้างก็ว่าแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 300 เป็นอย่างเร็ว แต่ต้นฉบับ[[สันสกฤต]]ที่ค้นพบใน[[เนปาล]]ล้วนมีอายุหลังพุทธกาลราว 1,500 ปีทั้งสิ้น แม้ฉบับแปลของ[[ทิเบต]]ก็มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระ[[นาคารชุน]]ได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน พ.ศ. 693 จึงสันนิษฐานได้ว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ความคิดแบบมหายานพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วใน[[อินเดีย]]
 
== ชื่อ ==