ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24:
''ลุจุลศักราช ๑๑๕๓ ปีกุญตรีศก อ้ายเชียงแก้วซึ่งตั้งอยู่ตำบลเขาโองฝั่งโขงตวันออกแขวงเมืองโขง แสดงตนเปนผู้วิเศษ มีคนนับถือมาก อ้ายเชียงแก้วรู้ข่าวว่า เจ้าจำปาศักดิไชยกุมารป่วยหนักอยู่ เห็นเปนโอกาศอันดี จึ่งคิดการเปนขบถยกกำลังมาล้อมเมืองจำปาศักดิไว้ ขณะนั้นเจ้าจำปาศักดิไชยกุมารทราบข่าวว่า อ้ายเชียงแก้วยกมาตีเมืองจำปาศักดิก็ตกใจอาการโรคกำเริบขึ้นก็เลยถึงแก่พิราไลย อายุได้ ๘๑ ปี ครองเมืองจำปาศักดิได้ ๕๓ ปี มีบุตรชายชื่อเจ้าหน่อเมือง ๑ บุตรหญิงชื่อเจ้าป่อมหัวขวากุมารี ๑ เจ้าท่อนแก้ว ๑ ฝ่ายกองทัพอ้ายเชียงแก้วก็เข้าตีเอาเมืองจำปาศักดิได้ ความทราบถึงกรุงเทพ ฯ จึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครราชสิมา (ทองอิน) แต่ครั้งยังเปนพระพรหมยกรบัตร ยกกองทัพขึ้นไปกำจัดอ้ายเชียงแก้ว แต่พระพรหมไปยังมิทันถึง ฝ่าย'''พระประทุมสรราช'''บ้านห้วยแจละแมผู้พี่ กับท้าวฝ่ายน่าซึ่งไปตั้งอยู่บ้านสิงทา (คือเปนเมืองยโสธรเดี๋ยวนี้) ผู้น้อง จึ่งพากันยกกำลังไปตีอ้ายเชียงแก้วๆ ยกกองทัพออกต่อสู้ที่แก่งตนะ (อยู่ในลำน้ำมูลแขวงเมืองพิมูลบัดนี้) กองทัพอ้ายเชียงแก้วแตกหนี ท้าวฝ่ายน่าจับตัวอ้ายเชียงแก้วได้ให้ฆ่าเสียแล้ว พอกองทัพเมืองนครราชสิมายกไปถึงก็พากันไปเมืองจำปาศักดิ แลพากันยกเลยไปตีพวกข่าชาติกระเสงสวางจะรายระแดร์ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งโขงตวันออกจับได้มาเปนอันมาก จึ่งได้มีไพร่ข่าแลประเพณีตีข่ามาแต่ครั้งนั้น แล้วโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวฝ่ายน่าบุตรพระตาผู้มีความชอบ เปนเจ้าพระวิไชยราชขัติยวงษาครองเมืองจำปาศักดิ โปรดให้เจ้าเชษฐ เจ้านู ขึ้นไปช่วยราชการอยู่ด้วยเจ้าพระวิไชยราช จึ่งได้ย้ายเมืองขึ้นมาตั้งอยู่ทางเหนือ คือที่เรียกว่าเมืองเก่าคันเกิงณบัดนี้ เจ้าพระวิไชยราชขัติยวงษา จึ่งตั้งท้าวสิงผู้หลานอยู่ณบ้านสิงทาเปนราชวงษ์เมืองโขง (สีทันดร) แลทูลขอตั้งให้ท้าวบุตร เปนเจ้าเมืองนครพนม (อันเปนเมืองเก่าแขวง มณฑลอุดร) '''แลโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระประทุมสุรราช (คำผง) เปนเจ้าเมือง ยกบ้านห้วยแจละแมขึ้นเปนเมืองอุบลราชธานี (ตามนามพระประทุม) ขึ้นกรุงเทพฯ''' ทำส่วยผึ้ง ๒ เลข ต่อเบี้ย น้ำรัก ๒ ขวด ต่อ เบี้ยป่าน ๒ เลขต่อขอด '''พระประทุม'''จึ่งย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านร้างริมลำพมูล ใต้ห้วยแจละแมประมาณทาง ๑๒๐ เส้น คือ ที่ซึ่งเปนเมืองอุบลเดี๋ยวนี้ แลได้สร้างวัดหลวงขึ้นวัดหนึ่ง เขตรแดนเมืองอุบลมีปรากฏในเวลานั้นว่า ทิศเหนือถึงน้ำยังตกลำน้ำพาชีไปยอดบังอี่ ตามลำบังอี่ไปถึงแก่งตนะไปภูจอกอ ไปช่องนาง ไปยอดห้วยอะลีอะลองตัดไปดงเปื่อยไปสระดอกเกษ ไปตามลำกะยุงตกลำน้ำมูล ปันให้เมืองสุวรรณภูมิ ฝ่ายเหนือหินสิลาเลขหนองกองแก้วตีนภูเขียว ทางใต้ ปากเสียวตกลำน้ำมูล ยอดห้วยกากวากเกี่ยวชี ปันให้เมืองขุขันธ์ แต่ปากห้วยทัพทันตกมูลถึงภูเขาวงก์
 
==พิราลัยและการพระศพ==
พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ครองเมืองอุบลราชธานีมาแต่ตั้งเมืองเป็นเวลารวมได้ 17 ปี จนถึง [[พ.ศ. 2338]] จึงถึงแก่พิราลัย สิริรวมชนมายุได้ 85 ปี มีการประกอบพระราชทานเพลิงศพด้วย[[เมรุนกหัสดีลิงก์|เมรุนกสักกะไดลิงก์]] (เมรุนกสักกะไดลิง) ณ [[ทุ่งศรีเมือง]] แล้วเก็บอัฐิธาตุบรรจุในพระธาตุเจดีย์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ณ บริเวณที่เป็น[[ธนาคารออมสิน]] สาขาอุบลราชธานีทุกวันนี้ ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงย้ายอัฐิไปประดิษฐาน ณ วัดหลวงเมืองอุบลราชธานีจนทุกวันนี้ ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ประดิษฐานอยู่ที่ริม[[ทุ่งศรีเมือง]] กลางเมืองอุบลราชธานี และทุกวันที่ 10-11 พฤศจิกายนของทุกปี ชาวอุบลราชธานีและหน่วยงานราชการต่างๆ จะมีการจัดงาน '''สดุดีวีรกรรม พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)''' ขึ้น ซึ่งภายในงานมีการจัดขบวนอัญเชิญเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้าเมืองอุบลราชธานี พิธีการวางขันหมากเบ็งและเครื่องสักการะ นิทรรศการเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี และการแสดงมหรสพต่างๆ