ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จูกัดเหลียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
| image2 = Zhuge Liang.jpg
| Caption = '''จูกัดเหลียง''' ('''ขงเบ้ง''')
| Title = [[เสนาธิการ (จีน)|เสนาธิการ]]
| Kingdom = [[จ๊กก๊ก]]
| Born = [[19 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 724]]
| Died = [[23 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 777]] (อายุ 53 - 54 ปี)
| Death_place = [[ทุ่งอู่จั้งหยวน]]
| Predecessor =
บรรทัด 20:
| Zi = '''ขงเบ้ง''' (ข่งหมิง)
| Post =
| Era = [[ยุคสามก๊ก]]
| Temple =
| Other = '''ฮกหลง''' ([[มังกรหลับ]], 臥龍先生)
บรรทัด 28:
'''จูกัดเหลียง''' ({{lang-en|Zhuge Liang}}; {{zh-all|t=諸葛亮|s=诸葛亮|p=Zhūge Liàng}}) หรือ '''ขงเบ้ง''' (孔明; ''Kǒngmíng'') เป็นตัวละครใน[[วรรณกรรม]][[จีน]]อิง[[ประวัติศาสตร์]]เรื่อง[[สามก๊ก]]ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์[[ยุคสามก๊ก]] นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น ''มังกรหลับ'' (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็น[[นักการเมือง]]สมัย'''ปลาย[[ราชวงศ์ฮั่น]]'''ของ'''[[ประเทศจีน|จีน]]''' หรือในสมัยหลัง'''ราชวงศ์ฮั่น'''หากกล่าวอ้างอิงตาม[[ประวัติศาสตร์]]
 
จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของ[[พระเจ้าเล่าปี่]]ในตำแหน่ง[[สมุหนายก]]และ[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]]แห่ง[[จ๊กก๊ก]] รวมทั้งมีความสามารถในด้าน[[การเมือง]] [[การทูต]] [[นักปราชญ์]] [[วิศวกร]]และได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้น[[หมั่นโถว]] หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน<ref>http://www.stou.ac.th/study/sumrit/7-57(500)/page1-7-57(500).html</ref>
 
ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน<ref>http://www.samkok911.com/2014/05/Zhuge-Liang-and-Crane-feather-fan-legend.html</ref> (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ<ref>http://4.bp.blogspot.com/-H80sPtrs3Q4/U372i3OAbeI/AAAAAAAAeng/3OONKXydfxs/s1600/Zhuge-Liang-%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%87.jpg</ref>
บรรทัด 34:
'''ขงเบ้ง''' (Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า '''จูเก๋อเหลียง''' โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเงี่ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น
 
ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั้งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ [[ชีซี]] สื่อ[[กวงเหวียน]] [[เมิ่งกงเวย]] และ[[ซุยเป๋ง]] และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุค[[ชุนชิว]]และ[[ราชวงศ์ฉิน]] ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย
 
ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจาก[[ชีซี]] โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
 
ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนxxxนเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
 
ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ ([[เสิงเสี้ยน]]) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ([[อาเต๊า]]) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง
 
== ความสัมพันธ์ ==