ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มวยสากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
วงการมวยสากลของญี่ปุ่นถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1960]] ถึง[[คริสต์ทศวรรษ 1970]] เมื่อ [[ไฟติ้ง ฮาราด้า]] สามารถครองแชมป์โลกได้ถึง 2 รุ่น คือ [[ฟลายเวท]]และ[[แบนตั้มเวท]]ในเวลาต่อมา ซึ่งฮาราด้าได้มีชื่อบรรจุอยู่ใน[[หอเกียรติยศ]]ของวงการมวยสากลระดับนานาชาติด้วย ซึ่งฮาราด้าสามารถที่จะเอาชนะ [[อีดอร์ โจเฟร่]] นักมวยชาวบราซิล ซึ่งก็มีชื่อบรรจุอยู่ในหอเกียรติยศด้วยเช่นกัน และได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยรุ่นแบนตั้มเวทที่ดีที่สุดในโลกในขณะนั้น
 
ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และ[[คริสต์ทศวรรษที่ 1980]] ต่อมาถึง[[คริสต์ทศวรรษที่ 1990]] และจนถึงปัจจุบัน มีนักมวยญี่ปุ่นหลายรายได้เป็นแชมเปี้ยนโลก เช่น [[โยโกะ กูชิเก้น]] ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่น[[ไลท์ฟลายเวท]]ของ[[สมาคมมวยโลก]] (WBA) เป็นนักมวยที่ป้องกันแชมป์ได้ 13 ครั้งนับว่าสูงสุดของวงการมวยญี่ปุ่นด้วย, [[จิโร วาตานาเบ้]] ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่น[[ซูเปอร์ฟลายเวท]]ถึง 2 สถาบัน, [[คัตสุย่า โอนิซูกะ]] แชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของสมาคมมวยโลก และ[[โจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ]] แชมป์โลกในรุ่น[[แบนตั้มเวท]]ของ[[สภามวยโลก]] (WBC) 2 สมัย นับเป็นนักมวยที่สามารถเรียกผู้ชมใน[[วัยรุ่น]]และกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ให้มาสนใจขึ้นได้
 
โดยแชมป์โลกในรุ่นใหญ่ที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นเคยมี คือ [[ชินจิ ทาเคฮาร่า]] ในรุ่น[[มิดเดิลเวท]]ของสมาคมมวยโลก แม้จะเป็นแชมป์โลกในเวลาสั้น ๆ ใน [[พ.ศ. 2538]] ก็ตาม