ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
 
== ประวัติ ==
'''รถไฟฟ้า บีทีเอส''' เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก [[รถไฟฟ้ามหานคร]] โดยเกิดขึ้นจากการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรี [[จำลอง ศรีเมือง]]เป็น[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] เนื่องจากขณะนั้นในกรุงเทพมหานครไม่มี[[ระบบขนส่งมวลชนทางราง]] มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบ เช่น [[รถไฟฟ้าลาวาลิน]] แต่มีแนวโน้มไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ขณะที่การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรีให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาล[[อานันท์ ปันยารชุน]] (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ){{อ้างอิง}}
 
ต่อมา กรุงเทพมหานครอนุมัติสัมปทานการก่อสร้างและจัดการเดินรถให้กับ[[ธนายง|บริษัท ธนายง จำกัด]] (ปัจจุบัน คือ [[บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)]]) ของ[[คีรี กาญจนพาสน์]] ทีแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่[[สวนลุมพินี]] แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่พระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากโครงสร้างยกระดับลอยฟ้าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้ที่ราชพัสดุของ[[กรมธนารักษ์]] ซึ่งเป็นที่ทำการและ[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)|สถานีขนส่งสายเหนือเดิม (สถานีหมอชิต)]] ใกล้กับ[[สวนจตุจักร]] โดยในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า '''[[รถไฟฟ้าธนายง]]''' <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=5004 จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า] นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538</ref> ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน
 
ปัจจุบัน'''รถไฟฟ้าบีทีเอส'''อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย ในการโอนย้ายกิจการรถไฟฟ้าทั้งหมดจากเดิมที่เป็นสัมปทานและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครไปเป็นทรัพย์สินของ[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]]แทน<ref>[http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046003 ยื้อสรุปบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว "สุพจน์"แบะท่ารฟม.เหมาะสมกว่ากทม.]</ref> เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า กรุงเทพมหานครไม่เหมาะสมที่จะดูแลโครงการใหญ่ ๆ เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเดินรถในส่วนต่อขยายของสายสุขุมวิท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะไม่ใช้วิธีว่าจ้าง BTSC เข้าไปดำเนินการ แต่จะใช้วิธีการประมูลโครงการแบบ PPP Gross-Cost แบบเดียวกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง]] ซึ่งอาจเกิดกรณีผู้ให้บริการอาจไม่ใช่ BTSC อีกต่อไปได้ และยังเพิ่มความสะดวกกับรัฐในการควบคุมค่าโดยสาร และการออกตั๋วร่วมที่จะไม่มีค่าแรกเข้าอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้บริหารของกรุงเทพมหานครได้ตัดสินใจดำเนินการให้มีการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี เพื่อทำสัญญาแทนสัญญาเดินรถที่จะหมดอายุในวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 และในวันที่ 11 สิงหาคม 2555<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339415835&grpid=03&catid=&subcatid=</ref> ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยจากสมาชิก[[พรรคเพื่อไทย]] พรรครัฐบาลในขณะนั้น<ref>http://www.showdee.com/12137-พท.แฉต่อสัญญาBTSทำกทม.สูญ6.4พันล</ref> และการตอบโต้จากสมาชิก[[พรรคประชาธิปัตย์]] พรรคฝ่ายค้าน ประเด็นหลัก คือ เรื่องการได้หรือเสียประโยชน์ของภาครัฐและการได้หรือเสียประโยชน์ของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครซึ่งเรื่องนี้ทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติอนุญาตให้มีการแจกใบปลิวภายในสถานีรถไฟสถานีต่าง ๆ อีกด้วย จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการตอบโต้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)<ref>http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000077990</ref> ถึงผลได้ผลเสียในเรื่องนี้และเป็นการโต้ตอบพรรครัฐบาลในขณะนั้นที่ต้องการให้[[กรมสอบสวนคดีพิเศษ]]เข้ามาระงับการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี{{อ้างอิง}}
[[ไฟล์:Bangkok Skytrain 06.jpg|thumb|left|260px|รถไฟฟ้าชุดใหม่ของ BTS ขบวนละ 4 ตู้โดยสาร สั่งซื้อเมื่อต้นปี [[พ.ศ. 2554]] ใช้วิ่งหลักในสายสีลม]]