ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
 
'''เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร''' เป็นแหล่ง[[มรดกโลก]]ของ[[ประเทศไทย]]โดยการขึ้นทะเบียนของ[[ยูเนสโก]]ร่วมกับ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง]] ภายใต้ชื่อ '''[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง]]''' เมื่อปี พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ [[อำเภอบ้านไร่]] [[อำเภอลานสัก]] [[อำเภอห้วยคต]] [[จังหวัดอุทัยธานี]] [[อำเภอสังขละบุรี]] [[อำเภอทองผาภูมิ]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]] และ[[อำเภออุ้มผาง]] [[จังหวัดตาก]] มีพื้นที่ 2,279,500 ไร่ หรือ 3,647 ตารางกิโลเมตร<ref>[http://www.dnp.go.th/statistics/2553/stat2553.asp รายงานข้อมูลสถิติ พ.ศ. 2553] กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช</ref>
 
== เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ==
* เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร 3,647 กม²
* เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 2,780 กม²
 
== ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก ==
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมือง[[คาร์เทจ]] [[ประเทศตูนิเซีย]] โดยผ่าน[[มรดกโลก#ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก|ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา]]ให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
 
* ''' (viii) ''' - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
* ''' (ix) ''' - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
* ''' (x) ''' - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
 
โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลก]]พร้อมกันกับ[[อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]] และ[[เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร]]([[อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย]] [[ศรีสัชนาลัย]] และ[[กำแพงเพชร]]) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลกทางธรรมชาติ]]แห่งแรกของประเทศไทย ถือได้ว่าะเป็น "[[ผืนป่าตะวันตก]]" ซึ้งเทีบบได้กับ "[[ผืนป่าตะวันออก]]" คือ[[ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่]]([[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]] [[อุทยานแห่งชาติทับลาน]] [[อุทยานแห่งชาติปางสีดา]] [[อุทยานแห่งชาติตาพระยา]] และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่]]) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในการประชุม[[คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2548]] ที่เมืองเดอร์บัน [[ประเทศแอฟริกาใต้]]
 
== ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ==