ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "Logoสคบ.png", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย Jcb เพราะ Copyright violation; see Commons:Licensing - Using VisualFileChange.
บรรทัด 97:
 
== ประวัติ ==
ในปี พ.ศ. 2512 สมาคมผู้บริโภคของประเทศต่างๆ ได้เข้ามาชักชวนให้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้นในประเทศไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในรัฐบาลของ [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ได้มีการจัดตั้ง '''"คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค"''' ขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพลตรี [[ประมาณ อดิเรกสาร]] รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และยุติการดำเนินการในเวลาต่อมา
 
ในรัฐบาลของ [[พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ชมะนันทน์]] ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นอีกครั้ง โดยมอบหมายให้นาย [[สมภพ โหตระกิตย์]] รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ จนนำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เป็นผลให้เกิด "คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค" อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา
 
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายรัฐมนตรี พ.ศ. 2522 ตั้งแต่วันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2522]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/105/1.PDF พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2522]ราชกิจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนพิเศษ 105ก วันที่ 1 กรกฎาคม 2522</ref> จึงถือกำเนิด สคบ. ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการ '''ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่...) พ.ศ. ...''' ซึ่งได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง '''คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ''' แทน '''คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค''' และให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการนอกจากนี้ยังกำหนดให้โอนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมาอยู่ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีโดยตรง
 
== คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ==