ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาสิงโต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
| synonyms_ref = <ref name="itis" />
}}
'''ปลาสิงโต''' ({{lang-en|Lionfishes, Turkeyfishes, Firefishes, Butterfly-cods}}) เป็น[[genus|สกุล]]ของ[[ปลาน้ำเค็ม]][[ปลาทะเล|ทะเล]]สกุลหนึ่ง ใน[[วงศ์ปลาแมงป่อง]] (Scorpaenidae) ใช้ชื่อสกุลว่า ''Pterois'' (/เท-โร-อิส/; มาจาก[[ภาษากรีก]]คำว่า "''πτερον''" (pteron) หมายถึง "ปีก" หรือ "ครีบ")<ref>[http://www.fishbase.org/summary/Pterois-miles.html จาก fishbase.org {{en}}]</ref>)
 
==ลักษณะและพิษ==
มีลักษณะทั่วไป คือ มีลำตัวยาวปานกลาง แบนข้างเล็กน้อย หัวมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูก และมีหนามจำนวนมาก เกล็ดขนาดเล็ก ครีบหลัง และครีบอกขนาดใหญ่แผ่กว้าง โดยทั่วไปครีบอกมีความยาวถึงโคนหาง ก้านครีบแข็งของครีบหลัง และครีบอกมีขนาดใหญ่แหลมคม แต่ละชนิดมีก้านครีบแข็งจำนวนแตกต่างกัน หัวและลำตัวมีแถบลาย[[สีน้ำตาล]]ปน[[แดง]] มักว่ายช้า ๆ หรือลอยตัวนิ่ง ๆ ตามแนวปะการัง และบริเวณแนวหินในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทั่วไป
 
เป็นปลาที่มีต่อมพิษที่ก้านครีบแข็งทุกก้าน รวมถึงมีถุงพิษเล็ก ๆ อยู่เต็มรอบไปหมด<ref name="pine"/> โดยจะอยู่ใต้ชั้น[[ผิวหนัง]]โดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนปลายของก้านหนามหุ้มห่อด้วย[[เนื้อเยื่อ]] พิษเป็นสารประกอบโปรตีน เมื่อแทงเข้าไปแล้ว ถุงพิษเล็ก ๆ นั้นจะแตกกลายเป็นของเหลวเข้าไปในเนื้อเยื่อของเหยื่อ ซึ่งผู้ที่โดนแทงจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในวงศ์นี้ แต่โดยรวมแล้ว ปลาสิงโตจะมีความรุนแรงของพิษน้อยกว่าปลาสกุลอื่นหรือวงศ์อื่น ใน[[อันดับปลาแมงป่อง|อันดับเดียวกัน]]<ref>[{{cite web|url=http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9/|title= สัตว์มีพิษในทะเลไทย:ปลาทะเลที่มีพิษ]|work=healthcarethai}}</ref> ผู้ที่โดนต่อมพิษของปลาสิงโตแทงจะมีหลายอาการ ทั้งอัมพาต, อัมพาตชั่วคราว หรือแผลพุพอง<ref name="pine"/>
 
เป็นปลาที่มีความ[[สวย]]งาม จึงนิยมเลี้ยงเป็น[[ปลาสวยงาม]] ปกติไม่บริโภคเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์อยู่ตาม[[แนวปะการัง]]หรือกองหินใต้น้ำ ในเขต[[อินโด-แปซิฟิก]] เป็นปลาที่กิน[[กุ้ง]]หรือปลาขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร ด้วยการกางครีบแล้วไล่ต้อนให้จนมุม แล้วใช้ปากฮุบกินไปทั้งตัว ขากรรไกรขยายออกถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้แล้วครีบต่าง ๆ นั้นยังใช้สำหรับกางเพื่อขู่ศัตรูได้ด้วย<ref>หน้า 111, ''คู่มือปลาทะเล'' โดย ดร.[[ชวลิต วิทยานนท์]] ([[ตุลาคม]], [[พ.ศ. 2551|2551]]) ISBN 978-974-484-261-9</ref> นอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังถือเป็นปลาที่ฮุบกินอาหารได้เร็วมากจนตาเปล่าไม่อาจมองทัน ต้องใช้กล้องถ่ายภาพความเร็วสูงที่มีความเร็ว 2,000 เฟรม/วินาที จึงจะจับภาพทัน<ref name="pine"/>
บรรทัด 42:
 
==ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น==
นอกจากนี้แล้ว ปลาสิงโตยังกลายเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น]]ใน[[ฝั่งทะเลด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา]] โดยเฉพาะชนิด [[ปลาสิงโตปีกจุด]] (''P. volitans'') บริเวณ[[แคริบเบียน]], ชายฝั่งฟลอริดา และ[[หมู่เกาะ]]ต่าง ๆ ใน[[มหาสมุทรแอตแลนติก]]ไปจนถึงตอนเหนือของบราซิล ตาม[[ท่าเรือ]], [[ชายหาด]] หรือ[[แนวปะการัง]]ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกถึง 600 ฟุต และยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัดว่ามีการแพร่กระจายพันธุ์ข้ามคลองปานามาได้หรือไม่ โดยการพบปลาสิงโตครั้งแรกในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเกิดขึ้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2002 ที่ฟลอริดาโดยนักดำน้ำผู้หญิงคนหนึ่งในยามค่ำคืน เมื่อพบกับปลาที่เธอไม่รู้จัก จนกระทั่งต่อมาทราบว่า คือ ปลาสิงโตนั่นเอง<ref name="pine"/> เชื่อว่าเกิดจากการเพาะขยายพันธุ์ของนักเลี้ยงปลาสวยงาม หรือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำท้องถิ่น แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือหลุดรอดออกมา แต่ในความเห็นของ ดร.[[ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] นักวิชาการด้าน[[สมุทรศาสตร์]][[ชาวไทย]]เชื่อว่า คงเกิดจากเรือบรรทุกน้ำมันที่ดูดไข่ปลาสิงโตหรือ[[ตัวอ่อน]]ของปลาซึ่งมีสภาพเป็น[[แพลงก์ตอน]]ข้ามมหาสมุทรไป<ref name= "ข่าวสด">[{{cite web|url=http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakV6TURnMU13PT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdPQzB4TXc9PQ==|title= ปลาสิงโต จาก|work=[[ข่าวสด]]]}}</ref> ซึ่งปลาสิงโตสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยวางไข่ใน[[ป่าชายเลน]] ปลาหนึ่งตัวภายในเวลาไม่ถึง 30 [[นาที]] สามารถกินลูกปลาหรือปลาขนาดเล็กไปได้ถึง 20 กว่าตัวเลยทีเดียว <ref>[{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000109812|title= ปลาสิงโตระบาดข้ามมหาสมุทร / |first=วินิจ|last= รังผึ้ง|work= จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]}}</ref>คิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว กระเพาะอาหารของปลาสิงโตสามารถขยายออกได้ถึง 30 เท่าของขนาดกระเพาะปกติ นอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังเป็นปลาที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเกี้ยวพาดึงดูดปลาตัวเมีย เมื่อตัวเมียตอบรับจะว่ายขึ้นสู่บน ปล่อยไข่ซึ่งเกาะตัวรวมเป็นเหมือนก้อนวุ้นออกมา ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมพันธุ์และปฏิสนธิ ก้อนวุ้นนี้จะลอยน้ำชั่วระยะ ก่อนจะค่อย ๆ แตกตัวสลายไปเป็นไข่และฟักออกเป็นลูกปลาตามกระแสน้ำไปไกล ปลาสิงโตสามารถวางไข่ได้ทุก ๆ 3-3–4 วัน โดยปริมาณไข่ในแต่ละครั้งนับแสนฟอง ปลาสิงโตตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึงปีละ 2 ล้านฟอง เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1-1–2 ปี<ref name="pine"/> แต่ขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อน ลูกปลาจะมีสภาพเป็นแพลงก์ตอน และตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ <ref name= "ข่าวสด" /> การแพร่ระบาดของปลาสิงโตที่มหาสมุทรแอตแลนติกพบมีปลาสิงโตแทบทุกพื้นที่ จนมีการกำจัดที่[[บาฮามาส]]โดยรัฐบาลที่นั่นเพื่อควบคุมปริมาณในแนวปะการัง รวมถึงมีการแข่งขันจับมารับประทานเป็นอาหาร แต่กระนั้น ปลาสิงโตก็ตกเป็นอาหารของปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น [[ปลาเก๋า]] เป็นต้น<ref name="pine"> ''The Lion Fish'', " The Conquerors". สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556</ref>
 
==อ้างอิง==