ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตั๋งโต๊ะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คำผิด ตั๊ง เป็น ตั๋ง, -เปียน เป็น หองจูเปียน
บรรทัด 27:
'''ตั้งโต๊ะ''' หรือต่งจัว ({{zh|t=董卓|s=董卓|p=Dǒng Zhuō}}) เป็นตัวละครอีกตัวหนึ่งซึ่งคาดว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน ตามบันทึกที่มีนั้น ทำให้ทราบว่า ตั๋งโต๊ะ เป็นผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งซึ่งนำความหายนะมาสู่จีน
== ประวัติ ==
ตั๋งโต๊ะ มีชื่อรองว่า จ้งอิ่ง เกิดเมื่อ [[ค.ศ. 139]] เป็นชาวเมืองหลงเสที่อยู่ทางตอนเหนือของจีนซึ่งเป็นถิ่นของนักรบบนหลังม้าที่เหี้ยมหาญ เกิดเมืองเมืองหลินเถา(臨洮) มีบิดาเป็นนายอำเภอเมืองนั้น ในวัยฉกรรจ์เขาเป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนใหญ่โต กำลังแขนและบ่าเหนือคนทั่วไป มีความชำนาญในการขี่ม้ายิงธนูและรำทวน จากนั้นได้รับราชการ เนื่องจากชำนาญการรบและคุ้นต่อชัยภูมิแถวชายแดน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเมืองเสเหลียง(หรือเมืองหลงซี (隴西))มีหน้าที่คอยป้องกันการรุกรานศัตรูจากตอนเหนือบนกำแพงจีน เมื่อเกิดเหตุการณ์โจรโพกผ้าเหลืองออกอาละวาด ตั๋งโต๊ะได้ติดสินบนกับขันทีให้ตนเองได้เข้าร่วมปราบ โดยสลับกับ[[โลติด]](ซึ่งเป็นอาจารย์ของ[[เล่าปี่]]) แต่ตั๋งโต๊ะกลับรบพ่ายแพ้และถูกเกาทัณฑ์เข้าที่ไหล่ โชคดีที่กองทหารอาสาของเล่าปี่มาช่วยได้ทัน ตั๋งโต๊ะก็ได้ถามยศของเล่าปี่แต่พอทราบว่า เล่าปี่เป็นสามัญชนจึงทำท่ายโสโอหัง ทำให้[[เตียวหุย]]โกรธจึงจะพุ่งเข้าไปฆ่าตั๊งตั๋งโต๊ะแต่เล่าปี่กลับห้ามไว้ หลังการปรามโจรโพกผ้าเหลืองสิ้นสุดลง ตั๋งโต๊ะได้โดนลงทัณฑ์ที่พ่ายแพ้กลับมา แต่ก็ได้ติดสินบนกับขันทีอีกครั้งทำให้รอดตัวและได้รับความดีความชอบด้วยการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการราชการมณฑลเสเหลียง แต่ตั๋งโต๊ะเริ่มมีบทบาทและเป็นที่รู้จักของชาวจีนในรัชสมัยของฮ่องเต้หองจูเปียน (弘農王) เพราะหลังจากจักรพรรดิเลนเต้ (漢靈帝) เสด็จสวรรคตลงใน[[ค.ศ. 189]] เจ้าชายหองจูเปียนซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษาได้ขึ้นครองราชย์แทน นายพลโฮจิ๋น (何進) ได้ส่งสารไปยังหัวเมืองต่างๆให้มาช่วยตนปราบเหล่าขันทีในวัง เพราะเหล่าขันทีนั้นพยายามจะล้มหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบ พระอนุชาต่างมารดาของฮ่องเต้หองจูเปียนขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงต้องการล้มล้างขันทีเสียก่อน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
 
เมื่อตั๋งโต๊ะมาถึงราชธานีลกเอี๋ยง (洛陽) ก็พบว่าความวุ่นวายนั้นถูกสะสางไปแล้ว และองค์หองจูเปียนและหองจูเหียบปลอดภัย ก็ฉวยโอกาสทำเหมือนเป็นฝีมือของตนที่ทำให้องค์ฮ่องเต้ปลอดภัย [[ไทเฮา]]จึงให้เข้ามาทำงานในเมืองหลวง ในปีนั้น ตั๋งโต๊ะตัดสินใจทำการใหญ่เพื่อเสริมบารมีให้ตนเอง โดยการชักชวน[[ลิโป้]] (呂布) นักรบผู้เก่งกาจมาร่วมงาน และทำการเปลี่ยนตัวฮ่องเต้ โดยใช้วิธีขอความเห็นของเหล่าขุนนางในสภาโดยใช้คำพูดอ่อนหวาน แต่กริยาแกมขู่บังคับ และนำลิโป้มายืนหน้าเขม็งอยู่ใกล้ๆ เพื่อเป็นการขู่ทางอ้อม สภาจึงต้องจำยอม ในปี [[ค.ศ. 189]]ตั๋งโต๊ะจึงอัญเชิญ (ปลด) ฮ่องเต้หองจูเปียนและไทเฮาโฮ มารดาของหองจูเปียนลงจากบัลลังก์ และแต่งตั้งหองจูเหียบ ขึ้นเป็น "พระเจ้าเหี้ยนเต้ (漢獻帝)" ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาพร้อมแต่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ส่วนฮ่องเต้หองจูเปียนและไทเฮาโฮ พระมารดานั้น ตั๋งโต๊ะได้สั่งให้คุมขังในตำหนักร้าง (และได้ส่งคนไปสังหารทั้งคู่ใน [[ค.ศ. 190]])
 
และใน [[ค.ศ. 189]] ตั๋งโต๊ะต้องพบศึกหนักกับทัพของสิบแปดหัวเมืองที่นำทัพโดยโจโฉ และ [[อ้วนเสี้ยว]] ทางด้านลิยู ที่ปรึกษาของตั๋งโต๊ะ บอกว่า ถ้าตอนนี้เรามีเตียงฮัน (長安) เป็นราชธานี เราจะสามารถตั้งรับศึกได้ดีกว่านี้ ตั๋งโต๊ะจึงได้อัญเชิญพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปยังเตียงฮันและสั่งให้ทหารของตนไปปล้นฆ่าราษฏร์ในเมืองและริบทรัพย์สินมาทั้งหมด และเผาลกเอี๋ยงให้ราบ พร้อมสร้างเตียงฮันเป็นราชธานีใหม่โดยนำเงินที่ปล้นมาเป็นทุน จากนั้นไม่นานกองทัพของสิบแปดหัวเมืองก็ได้แตกแยกกัน ทำให้ตั๋งโต๊ะดีใจจนกำเริบเสิบสานว่าจะไม่มีผู้ใดมาโค่นตนได้และได้สร้างความวิบัติให้จีนต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง ตั๋งโต๊ะได้มีเรื่องบาดหมางกับลิโป้ ต่อมาก็คืนดีกัน แต่ไม่นานก็บาดหมางกันในเรื่องเดิมถึงขนาดอาฆาตเคียดแค้นกัน ว่ากันว่าสาเหตุมาจากหญิงงามที่ชื่อว่า [[เตียวเสี้ยน ]](貂蟬) บุตรสาวบุญธรรมของ[[อ้องอุ้น]]ขุนนางอาวุโสของราชวงศ์ฮั่น