ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: File:Dphil gown.jpg|thumb|ผู้มีวุฒิการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจาก[[มหาวิทยาล...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Dphil gown.jpg|thumb|ผู้มีวุฒิการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจาก[[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]]สวมชุด[[ครุย]]แสดงถึงวุฒิการศึกษาของเขา]]
 
'''ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต''' ({{lang-en|Doctor of Philosophy}}) เป็นประเภทวุฒิการศึกษาในระดับ[[ปริญญาเอก]]ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในหลายประเทศ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจะได้รับในสาขาวิชาที่หลากหลายต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ (ตัวอย่างเช่น [[ชีววิทยา]] [[เคมี]] [[ฟิสิกส์]] [[คณิตศาสตร์]] ฯลฯ) [[วิศวกรรมศาสตร์]] [[มนุษยศาสตร์]] (ตัวอย่างเช่น [[ประวัติศาสตร์]] [[วรรณกรรม]] [[ดนตรีวิทยา]] ฯลฯ) และอื่น ๆ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตถือว่าเป็นปริญญาสูงสุดในหลายสาขา การได้มาซึ่งปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมักจะเป็นที่ต้องการสำหรับอาชีพ[[อาจารย์|อาจารย์มหาวิทยาลัย]] [[นักวิจัย]] หรือ[[นักวิทยาศาสตร์]]ในสาขาต่าง ๆ มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง "ปริญญาที่ต้องเรียนมา" (earned doctorate) ซึ่งได้รับจากการสำเร็จในหลักสูตรที่ศึกษาและ[[วิทยานิพนธ์]] กับ "[[ปริญญากิตติมศักดิ์]]" (honorary doctorate) ซึ่งได้รับจากมหาวิทยาลัยด้วยการประสบความสำเร็จหรือความโดดเด่นส่วนบุคคลที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกหรือจัดทำวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย บุคคลจากปริญญาที่ต้องเรียนมาสามารถใช้[[คำนำหน้าชื่อ]]ว่า "[[ดอกเตอร์ (คำนำหน้านาม)|ดอกเตอร์]]" กับชื่อของพวกเขา และใช้ตัวย่อลงท้ายชื่อ เช่น "Ph.D.", "PhD", "DPhil"<ref>[http://www.economics.ox.ac.uk/Graduate/graduate-courses ''Graduate Courses'', University of Oxford]</ref > หรือ "ปร.ด."<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.mua.go.th/users/bhes/DATA%20BHES2558/criterion_2559.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙] เล่ม 133 ตอนพิเศษ 158 ง, 14 กรกฎาคม 2559, หน้า 6-18</ref>
 
ในบริบททางวุฒิการศึกษา คำว่า "ปรัชญา" ไม่ได้หมายถึงสาขาหรือศาสตร์สาขาวิชาการทาง[[ปรัชญา]]เพียงอย่างเดียว แต่ถูกนำมาใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นตามความหมายดังเดิมในภาษากรีก คือ "ความรักในความรู้" (love of wisdom) ส่วนใหญ่ในยุโรปทุกสาขา ([[ประวัติศาสตร์]] [[ปรัชญา]] [[สังคมศาสตร์]] [[คณิตศาสตร์]] และ[[ปรัชญาธรรมชาติ]]/[[วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ]])<ref>Sooyoung Chang, ''Academic Genealogy of Mathematicians'', World Scientific, 2010, p. 183.</ref> รวมถึง[[เทววิทยา]] [[นิติศาสตร์]] และ[[แพทยศาสตร์]] (ทั้งหลักสูตรวิชาชีพ อาชีวศึกษา และเทคนิค) เป็นที่รู้ตามธรรมเนียมว่าคือปรัชญา ใน[[เยอรมนี]] และที่อื่น ๆ ในยุโรป คณะพื้นฐานทาง[[ศิลปศาสตร์]]เป็นที่รู้จักกันว่า "คณะปรัชญา"