ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิสุทธินิยมทางภาษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
==รูปแบบ==
* '''พิสุทธินิยมโดยเปลี่ยนให้มีลักษณะโบราณ''' (Archaizing purism): เกิดขึ้นเมื่อสังคมต้องการนำคำโบราณ (archaic words) หรือคำที่เลิกใช้ (obsolete words) กลับมาใช้ในภาษาใหม่ คำเหล่านี้ มักจะถูกมองว่า เป็นคำที่ใช้ในยุคที่ภาษาของตนกำลังเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นช่วงที่วรรณคดีทีความก้าวหน้าพัฒนามากที่สุด เช่น [[ภาษาไอซ์แลนด์]] ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจาก[[ภาษานอร์สโบราณ]] อันเป็นภาษาของนักรบ[[ไวกิ้ง]] จึงมีการกำจัด[[คำยืม]]จากภาษาอื่น ซึ่งโดยมากเป็นศัพท์จาก[[ภาษาเยอรมัน]] และ[[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] เป็นต้น โดยนำคำโบราณหรือเลิกใช้แล้ว ที่มีวิวัฒนาการมาจากนอร์สโบราณ กลับมาใช้ในภาษาอีกครั้ง เช่น คำว่า sími ซึ่งเป็นคำโบราณ แปลว่า “ด้ายยาว” ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่แปลว่า “โทรศัพท์”
* '''พิสุทธินิยมเชิงชาติพันธุ์วิทยา''' (Ethnographic purism): มักมองว่ารูปแบบภาษาที่ใช้ใน[[ชนบท]]คือรูปแบบที่สะอาดที่สุด เช่น [[ภาษานอร์เวย์|ภาษานอร์เวย์ใหม่นอร์ส]] (Nynorsk) ของ[[ประเทศนอร์เวย์|นอร์เวย์]] ซึ่งนำศัพท์จากชนบทต่าง ๆ มาเป็น[[ภาษามาตรฐาน]]
* '''พิสุทธินิยมเชิงอภิชน''' (Elitist purism): พิสุทธินิยมรูปแบบนี้ มองว่ารูปแบบภาษาที่กลุ่มคนตระกูลสูงใช้ เป็นภาษาที่บริสุทธิ์ที่สุด เช่น ภาษาที่ใช้ใน[[ราชสำนัก]]
* '''พิสุทธินิยมเชิงการปฏิรูป''' (Reformist purism): เกิดขึ้นเมื่อสังคมของภาษาหนึ่งต้องการตัดขาดจากอดีต เช่น [[ภาษาตุรกี]] ในช่วง[[จักรวรรดิออตโตมัน]]เปลี่ยนเป็น[[ประเทศตุรกี]] มีการกำจัดศัพท์[[ภาษาฟาร์ซี]]และ[[ภาษาอาหรับ|อาหรับ]] ด้วยเหตุที่ประเทศต้องการตัดขาดจากโลก[[ตะวันออกกลาง]]แล้วหันมาผูกมิตรก่อไมตรีกับ[[โลกตะวันตก]]