ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเบนิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DARIO SEVERI (คุย | ส่วนร่วม)
Update from wiki (fr)
วิสาหกิจ←วิสากิจ
บรรทัด 71:
อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าจากเบนินไปยังไนจีเรียมักได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกัน สินค้าข้ามพรมแดนของไนจีเรีย อาทิ การออกระเบียบที่เคร่งครัด และการปิดพรมแดน นอกจากนี้ เบนินยังต้องพึ่งพาพลังงานจากไนจีเรีย ในปัจจุบันมีโครงการ West African Gas Pipeline (WAGP) ในความร่วมมือระหว่างไนจีเรียและเบนินเพื่อสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจาก ไนจีเรียไปยังเบนิน [[กานา]] และ[[โตโก]] ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 (แต่เดิมกำหนดไว้ให้แล้วเสร็จในปี 2550) และน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเบนิน และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ดีขึ้นในอนาคต
 
ในปี 2548 กลุ่ม G8 ได้ออกมาตรการปลดหนี้ให้กับเบนินและประเทศอื่น ๆ ใน[[แอฟริกา]] ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางด้านหนี้สินต่างประเทศบรรเทาลงบ้าง แต่รัฐบาลเบนินก็ยังคงต้องแบกรับภาระจากการที่รัฐวิสาหกิจประสบปัญหาขาดทุน และการมีระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลเบนินจึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการปรับโครงสร้างระบบราชการและรัฐ วิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลเบนินชุดปัจจุบันสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเน้นด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการปฏิรูปรัฐวิสากิจรัฐวิสาหกิจภาคโทรคมนาคม การประปา การไฟฟ้า และการเกษตร ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนักในปัจจุบัน
 
รัฐบาลเบนินมุ่งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค อาทิ ท่าเรือและสนามบิน อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเบนิน (มีศักยภาพการผลิตเพียง 120 ล้าน kWh ในขณะที่มีความต้องการบริโภค 595 ล้าน kWh)