ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้างเผือก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
wiki english
บรรทัด 25:
 
== ความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือก ==
[[ไฟล์:White elephant at Naypyidaw's Uppatasanti Pagoda.jpg|thumb|ช้างเผือก ณ เมือง[[เนปยีดอ]], [[ประเทศพม่า|สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา]]]]
ตามความเชื่อใน[[ศาสนาพราหมณ์]] กล่าวถึงต้นกำเนิดของช้าง ในเรื่องการสร้างโลกว่าพระวิษณุ (พระนารายณ์) ขณะที่บรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร ได้ทรงแสดงเทวฤทธิ์อธิษฐาน ให้มีดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี 1 ดอก ดอกบัวนี้มี 8 กลีบ และมีเกสร 173 เกสร พระวิษณุได้ทรงนำดอกบัวนี้ไปถวายแด่พระศิวะ (พระอิศวร) ซึ่งพระองค์ได้ทรงแบ่งดอกบัวและเกสรดอกบัวนั้นออกเป็น 4 ส่วน และทรงแบ่งให้กับเทวะองค์อื่นๆ อีก 3 องค์ คือ ทรงเก็บไว้เอง ,ทรงแบ่งให้[[พระวิษณุ]],ทรงแบ่งให้[[พระพรหม]] และทรงแบ่งให้[[พระอัคนิ]] (พระเพลิง) โดยองค์เทวะทั้งสี่ได้ทรงสร้างช้างขึ้นองค์ละตระกูล ดังที่ปรากฏในตำรา[[คชลักษณ์]] จึงมีช้าง 4 ตระกูล และช้างทั้ง 4 ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็น[[วรรณะ]] เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคน[[อินเดีย]]ด้วย คือ
* '''อิศวรพงศ์''' เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติ[[กษัตริย์]]
* '''พรหมพงศ์''' เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติ[[พราหมณ์]]
เส้น 33 ⟶ 34:
ความเชื่อของคนไทยกับช้างเผือก เป็นช้างที่เกิดขึ้นเพราะพระบารมีของ[[พระมหากษัตริย์]] แต่อันที่จริงช้างเผือก หรือช้างสำคัญ มี 3 ชนิดดังกล่าว ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีจำนวนมาก ก็จะถือว่าเป็นมงคล บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อ[[สำนักพระราชวัง]]ตรวจคชลักษณ์ว่าเป็นช้างเผือกหรือช้างสำคัญแล้ว ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ พระมหากษัตริย์องค์ใดได้พบช้างเผือกเป็นจำนวนมาก แสดงว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงถึงพร้อมด้วยบุญญาภินิหารบารมีมากและมักถวายพระนามพระองค์ว่า พระเจ้าช้างเผือก ดังเช่น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น
 
ในความเชื่อของคนชาวพม่า ซึ่งนับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาทเช่นเดียวกับไทย เชื่อว่า ใครได้พบกับช้างเผือกเสมือนกับได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในอดีตชาติเคยเสวยชาติเกิดเป็นช้างเผือก<ref name="ช้าง">{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=H9CtvWaGaTA|title= ข่าวฟ้ายามเย็น 22 09 57 เบรก3|date=22 September 2014|accessdate=27 September 2014|publisher=ฟ้าวันใหม่}}</ref>
 
ในตำนาน[[พุทธประวัติ]] กล่าวว่าช้างเผือกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความรู้ และ การเกิด คืนก่อนวันประสูติของ[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]] พระมารดาของพระองค์ทรงสุบิณท์ ถึงช้างเผือก มอบดอกบัวให้พระนาง [[ดอกบัว]]อันหมายถึงความบริสุทธิ์และความรู้
เส้น 44 ⟶ 45:
เชื่อกันว่าเด็กคนใดที่มักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แข็งแรง หรือเลี้ยงยาก ถ้านำเด็กคนนั้นไปลอดใต้ท้องช้างเผือกครบ 3 รอบ จะกลับมาแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆอีก และเลี้ยงง่าย
 
หากมีเหตุต่างๆแกช้าง เกิดขึ้นแก่ช้างเผือก เช่น เจ็บ งาหักหรือล้มถือว่าเป็นรางร้ายของแผ่นดิน จะเกิดอาเพศภัยร้ายแรงขึ้นแก่บ้านเมืองและประชาชนหรือเมื่อบ้านเมืองจะเกิดวิกฤตการณ์ ช้างเผือกจะมีอาการประหลาดๆ ให้เห็นดังเช่นในประเทศพม่าในตอนที่แม่ทัพอังกฤษเข้าเฝ้าพระเจ้าสีป่อ เพื่อเชิญเสด็จไปจากประเทศพม่า ช้างเผือกก็ส่งเสียงร้องเหมือนคนร้องไห้และดินรนดิ้นรนมิได้หยุด หมอควาญจะปลอบอย่างไรก็มิได้สงบ ซึ่งหลังจากที่พระเจ้าสีป่อเสด็จออกไปนอกประเทศและชาวอังกฤษเข้ามาปกครองแทนแล้ว ช้างเผือกก็ล้มโดยมิได้เป็นโรคอะไร
 
== วัฒนธรรม ==
เส้น 72 ⟶ 73:
 
[[หมวดหมู่:ช้าง|ผเผือก]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมพม่า]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]
[[หมวดหมู่:สัญลักษณ์ของประเทศไทย]]
 
[[de:Weißer Elefant#Redewendung]]