ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยอาทิแต่งตั้ง พลอากาศเอก [[กมล เดชะตุงคะ]] เป็นผู้บัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/11.PDF</ref>
 
โดยประกาศฉบับหนึ่งที่ความสำคัญคือ ประกาศฉบับที่ 5 ที่ว่าด้วยการควบคุมสื่อมิให้เผยแพร่ภาพและเนื้อหาที่เกิดขึ้นใน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] เป็นเวลา 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ [[6 ตุลาคม]] - [[9 ตุลาคม]] ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจนบัดนี้ที่[[หนังสือพิมพ์]]หลายฉบับถูกห้ามตีพิมพ์และจัดจำหน่าย และประกาศคณะปฏิรูปฉบับนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงสื่อทุกสื่อรวมถึง[[โทรทัศน์]]ด้วย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/15.PDF คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5] (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ คำสั่งให้สื่อมวลชนอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน)</ref>
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งให้[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น '''สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''' มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลธานินทร์ โดยที่คณะรัฐมนตรีธานินทร์มีรัฐมนตรี 17 คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แก่ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์[[สื่อมวลชน]]ต่อมาว่า รัฐบาลเสมือน[[หอย]]ที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า '''รัฐบาลหอย'''