ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระโห้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
 
| status = CR
| status_ref = <ref name=IUCN>{{IUCN2011.2cite web|assessorswork=Hogan, Z.February 2012|year=2011 |idurl=http://www.iucnredlist.org/details/180662 /0|title=''Catlocarpio siamensis ''|downloadedwork=3 February 2012[[IUCN]]}}</ref>
| status_system = iucn3.1
| regnum = [[Animalia]]
บรรทัด 22:
'''ปลากระโห้''' ({{lang-en|Siamese giant carp, Giant barb}}) เป็น[[ปลาน้ำจืด]]ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาใน[[วงศ์ปลาตะเพียน]] (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย<ref>หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.[[ชวลิต วิทยานนท์]] ([[กรุงเทพ]], [[พ.ศ. 2544]]) ISBN 974-475-655-5 </ref> โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 [[กิโลกรัม]] ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
 
ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำ[[กรุงเทพมหานคร]]ของ[[กรมประมง]]<ref>''เพื่อนเกษตร'',{{cite "เช้าweb|work=[[สำนักข่าว 7 สี". พุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556: ช่อง 7</ref>ไทย]]|title=เกษตรฯ
อนุรักษ์ปลากระโห้ สัตว์น้ำประจำกรุงเทพฯ|url=http://www.tnamcot.com/content/223330|date=2015-07-02|accessdate=2016-10-12}}</ref>
 
== ลักษณะทางกายภาพ ==
มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Catlocarpio siamensis'' จัดเป็นปลาเพียง[[สปีชีส์|ชนิด]]เดียว ที่อยู่ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] ''Catlocarpio''<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt{{ITIS|id=638875|taxon= ITIS]''Catlocarpio''|accessdate=2016-10-12}}</ref> มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง
 
== แหล่งอาศัย ==
พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่[[แม่น้ำแม่กลอง]]ถึง[[แม่น้ำโขง]] โดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยในหลายจังหวัด และยังพบได้บ้างที่[[แม่น้ำป่าสัก]] ในต่างประเทศพบได้ที่ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม<ref>{{cite web|url=http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413880569|work=[[มติชน]]|title=ชาวประมงเวียดนามจับ "กระโห้ยักษ์" หนักกว่า 130 กก. มูลค่ากว่า 3 แสนบาทได้|date=2014-10-27|accessdate=2016-10-12}}</ref> ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้กระโห้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยปลาจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7 ปี วางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 [[มิลลิเมตร]] ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ ปัจจุบันกรมประมงได้ปล่อยลูกปลาที่เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์คืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติปีละประมาณ 200,000-1,000,000 ตัว แต่ทว่าโอกาสที่ลูกปลาเหล่านี้จะเติบโตจนเต็มวัยในธรรมชาติก็มีโอกาสน้อยมาก
 
อาหารของปลากระโห้คือ [[แพลงก์ตอน]]และปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้
เส้น 35 ⟶ 36:
 
==ชื่อเรียกอื่น==
นอกจากชื่อปลากระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลาคาบมัน" หรือ "ปลาหัวมัน" หรือ "ปลาหัวม่วง" ภาษาเหนือเรียกว่า "ปลากะมัน" ที่[[สามเหลี่ยมทองคำ]] [[อำเภอเชียงแสน]] [[จังหวัดเชียงราย]] เรียกว่า "ปลาสา"
 
== อ้างอิง ==