ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิศาสตร์ลาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เป้น’ ด้วย ‘เป็น’
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''ลาว'''เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และทางตะวันตกของเวียดนาม มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ในใจกลางของแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้อมรอบด้วยพม่า จีน กัมพูชา ไทย และเวียดนาม โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้มีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า เป็นทางผ่านของการค้าและการสื่อสาร การอพยพและความขัดแย้งในระดับนานาชาติ ส่งผลต่อสถานะทางเชื้อชาติของประเทศและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของกลุ่มชนเหล่านี้
{{coord|18|00|N|105|00|E|type:country}}
== รูปร่าง ==
แนวชายแดนด้านตะวันตกส่วนใหญ่ของลาวกำหนดด้วยแนว[[แม่น้ำโขง]]ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญ น้ำตกดองทางใต้สุดของประเทศขัดขวางในการที่ประเทศจะเข้าถึงทะเล แต่มีเรือล่องในแม่น้ำโขงในลาวเกือบตลอดปี แม่น้ำโขงไม่ได้เป็นอุปสรรคกั้นขวาง มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมระหว่างลาวและภาคอีสานของไทย แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเป็นเวลานาน ในอดีต [[ราชอาณาจักรล้านช้าง]]มีอำนาจปกครองทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ก่อนที่สยามจะเข้ามาควบคุมในพุทธศตวรรษที่ 24 จากนั้น เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาควบคุมลาว แม่น้ำโขงจึงกลายเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างสยามกับ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]] การติดต่อระหว่างทั้งสองฝั่งจึงถูกจำกัด
[[ไฟล์:Luang Prabang Phou Si 2.jpg|thumb|left|340px|แม่น้ำโขงที่หลวงพระบาง]]
ชายแดนด้านตะวันออกกับเวียดนามมีความยาว 2,130 กิโลเมตรส่วนใหญ่เป็นไปตามแนว[[เทือกเขาอันนัม]] ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวนกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนผ่านทางเวียดนามกับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียในไทย ลาว เทือกเขานี้เป็นที่อยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ
 
== ภูมิศาสตร์ ==
เส้นเขตแดนทางใต้ของกัมพูชายาวเพียง 541 กิโลเมตร อิทธิพลของอารยธรรมเขมรปรากฏที่[[วัดภู]]และดินแดนอื่นๆทางตอนใต้ของลาว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนานระหว่างลาวกับกัมพูชา ทางเหนือมีชายแดน 423 กิโลเมตรกับจีน และแนวชายแดนกับพม่าที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่ง 235 กิโลเมตร
[[ไฟล์:Laos Topography.png|left|thumb|right|300px|แผนที่ภูมิศาสตร์ของลาว]]
=== ที่ตั้งและอาณาเขต ===
พื้นที่ของลาวส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีเทือกเขาอันนัมทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก และ[[เทือกเขาหลวงพระบาง]]ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีที่ราบแคบๆตามแนวแม่น้ำ และมีศักยภาพในการทำการเกษตรได้ต่ำ เขตภูเขาทางภาคเหนือของประเทศยกเว้นที่ราบเวียงจันทน์และ[[ทุ่งไหหิน]]บนที่ราบสูงเชียงขวาง ทางภาคใต้จะมีที่ราบลุ่มสำหรับทำนาใน[[แขวงสุวรรณเขต]]และ[[แขวงจำปาศักดิ์]] พื้นที่ใน[[แขวงคำม่วน]]และทางตะวันออกของลาวใต้เป็นพื้นที่ภูเขา
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทร[[อินโดจีน]] ระหว่าง[[ละติจูด]]ที่ 14 - 23 องศาเหนือ [[ลองติจูด]]ที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
== ภูมิอากาศ ==
* '''ทิศเหนือ''' ติดกับ[[ประเทศจีน]] (423 กิโลเมตร)
ลาวมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ฤดูฝนอยู่ระหว่างพฤษภาคม – ตุลาคม ฤดูหนาวอยู่ระหว่างพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ฤดูร้อนช่วงมีนาคม – เมษายน ปริมาณฝนตกในแต่ละพื้นที่ต่างกัน โดยตกมากที่สุดที่ที่ราบสูงบอละเวนในแขวงจำปาศักดิ์ ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงตามแนวแม่น้ำโขง และจะต่ำลงไปประมาณ 5 องศาเซลเซียสในพื้นที่สูงของ[[แขวงเชียงขวาง]]และพงสาลี
* '''ทิศตะวันออก''' ติดกับ[[ประเทศเวียดนาม]] (2,130 กิโลเมตร)
* '''ทิศใต้''' ติดกับ[[ประเทศไทย]] (1,754 กิโลเมตร) และ[[ประเทศกัมพูชา]] (541 กิโลเมตร)
* '''ทิศตะวันตก''' ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และ[[ประเทศพม่า]] (235 กิโลเมตร)
 
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
=== ลักษณะภูมิประเทศ ===
[[ไฟล์:Mekong River (Luang Prabang).jpg|thumb|250px|[[แม่น้ำโขง]] ไหลผ่าน[[หลวงพระบาง]] ]]
[[ไฟล์:Luang Prabang Phou Si 2.jpg|thumb|left|340250px|[[แม่น้ำโขงที่]] ไหลผ่าน[[หลวงพระบาง]] ]]
ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
# เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
# เขต[[ที่ราบสูง]] คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน ([[แขวงเชียงขวาง]]), ที่ราบสูงนากาย ([[แขวงคำม่วน]]) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
# เขต[[ที่ราบลุ่ม]] เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่ง[[แม่น้ำโขง]]และแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้[[เซบั้งไฟ]]และ[[เซบั้งเหียง]] และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
 
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่[[ภูเบี้ย]] ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
 
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่น ๆ ยังได้แก่
 
* [[แม่น้ำอู]] ([[พงสาลี]]-[[หลวงพระบาง]]) ยาว 448 กิโลเมตร
* [[แม่น้ำงึม]] (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซบั้งเหียง (สุวรรณเขต) ยาว 338 กิโลเมตร
* [[แม่น้ำทา]] (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
* [[แม่น้ำเซกอง]] (สาระวัน-เซกอง-อัตปือ) ยาว 320 กิโลเมตร
* [[แม่น้ำเซบั้งไฟ]] (คำม่วน-สุวรรณเขต) ยาว 239 กิโลเมตร
* แม่น้ำแบ่ง (อุดมไชย) ยาว 215 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซโดน (สาระวัน-จำปาศักดิ์) ยาว 192 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซละนอง (สุวรรณเขต) ยาว 115 กิโลเมตร
* แม่น้ำกะดิ่ง (บริคำไชย) ยาว 103 กิโลเมตร
* แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
 
=== ลักษณะภูมิอากาศ ===
ประเทศลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันทน์และแขวงสุวรรณเขตในช่วง 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
 
== ทรัพยากรธรรมชาติ ==
การคมนาคมในลาวเริ่มในสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสทำให้การคมนาคมและการเข้าถึงสินค้าสะดวกขึ้น และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการสำรวจทางการค้าของป่าไม้ แผนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ความต้องการสัตว์ป่าและของป่าที่ไม่ใช่ไม้จากต่างประเทศและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มการทำลายป่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าและจำกัดการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อการเพาะปลูกด้วย
 
== เส้นทางการคมนาคม ==
[[ไฟล์:Laos, Clear-Cut, Hillside, Mekong River.JPG|thumb|right|250px|เนินเขาตามแนวแม่น้ำโขง]]
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงและขาดการพัฒนา การขนส่งในลาวจึงมีข้อจำกัดมาก ในอดีต การติดต่อระหว่างเมืองหลวงกับพื้นที่อื่น ระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างชนเผ่าจึงจำกัด แม่น้ำโขงและ[[แม่น้ำอู]]เป็นเส้นทางธรรมชาติที่เหมาะสมทางเรือ หมู่บ้านของชาวลาวที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำสายเล็กจะใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม
== ทรัพยากรธรรมชาติ ==
การคมนาคมในลาวเริ่มในสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสทำให้การคมนาคมและการเข้าถึงสินค้าสะดวกขึ้น และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการสำรวจทางการค้าของป่าไม้ แผนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ความต้องการสัตว์ป่าและของป่าที่ไม่ใช่ไม้จากต่างประเทศและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มการทำลายป่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าและจำกัดการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อการเพาะปลูกด้วย
 
[[หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ลาว]]