ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าติโลกราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KengSiri (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
เจ้าลก เสด็จพระราชสมภพเมื่อ [[พ.ศ. 1952]] เป็นพระโอรสลำดับที่ 6 ใน[[พระเจ้าสามฝั่งแกน]] เมื่อทรงเจริญพระชันษาถึงกาลสมควร พระราชบิดาทรงพระกรุณาโปรดให้พระองค์เสด็จไปครอง[[เมืองพร้าววังหิน]] ([[อำเภอพร้าว]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]ในปัจจุบัน) ต่อมาเกิดราชการสงครามขึ้นแล้ว ทัพของเจ้าลก ยกไปสมทบพระราชบิดาช้า พระเจ้าสามฝั่งแกน จึงทรงลงพระราชอาญา เนรเทศให้เจ้าลกไปครอง[[เมืองยวมใต้]] ([[อำเภอแม่สะเรียง]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]]ในปัจจุบัน)
 
ต่อมามีอำมาตย์ของพระเจ้าสามฝั่งแกนคนหนึ่งชื่อ "[[เจ้าแสนขาน]]" คิดเอาราชสมบัติให้เจ้าลก จึงได้ซ่องสุมกำลังลอบไปรับเจ้าลกจากเมืองยวมใต้มาซ่อนตัวไว้ที่[[นครเชียงใหม่]] ในขณะที่[[พระเจ้าสามฝั่งแกน]]ประทับแปรพระราชฐานอยู่ที่[[เวียงเจ็ดลิน]] การเริ่มชิงราชสมบัติทำโดยการเผาเวียงเจ็ดลินเชียงใหม่ แล้วบังคับให้พระเจ้าสามฝั่งแกนสละราชสมบัติ แล้วก็อัญทูลเชิญ เจ้าลกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ในปี [[พ.ศ. 1985]] มีพระนามว่า '''พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช''' เมื่อมีพระชนมายุ 32 พรรษา ส่วนพระราชบิดาโปรดให้ไปประทับอยู่ที่[[เมืองสาด]] (อยู่ใน[[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]]) แต่อยู่มาได้เพียง 1 เดือน 15 วัน [[เจ้าแสนขาน]]ก็คิดก่อการเป็นกบฏอีก พระเจ้าติโลกราชจึงให้ "[[หมื่นโลกนคร]]" พระเจ้าอาของพระองค์ ผู้ครองเมืองลำปาง เข้าจับตัว[[เจ้าแสนขาน]]ไปคุมขังแต่ไม่ให้ทำร้าย เมื่อพ้นโทษได้ลดยศเป็น "หมื่นขาน" และให้ไปครอง[[เมืองเชียงแสน]] ([[อำเภอเชียงแสน]] [[จังหวัดเชียงราย]] ในปัจจุบัน) แทน
 
พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างความมั่นคงภายในอาณาจักรล้านนาในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 1984-94) อาณาจักรล้านนาจึงมีความเข้มแข็ง สามารถยึดได้เมืองน่าน เมืองแพร่ จากนั้นจึงขยายอำนาจลงสู่ทางใต้ ทรงทำสงครามกับอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถติดต่อกัน ในช่วงเวลา 24 ปี เริ่ม พ.ศ. 1994 พระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองพิษณุโลกเข้าสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชและร่วมกันตีได้เมืองปากยม (พิจิตรตอนใต้) จากนั้นใน พ.ศ. 2003 พระยาเชลียงก็เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช ในปีต่อมาพระยาเชลียงนำพระเจ้าติโลกราชมาตีเมืองพิษณุโลกและเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่สำเร็จ