ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมุทร ศิษย์นฤพนธ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
สมุทร เริ่มชกมวยจาก[[มวยไทย]]มาก่อน ใช้ชื่อว่า " เกรียงไกร สิงห์อิตาเลี่ยน " โดยมี ประทีป โชคดี เป็นเทรนเนอร์ แต่ทว่าการชกมวยไทยไม่ประสบความสำเร็จ แพ้มากกว่าชนะ จึงเปลี่ยนมาชกในแบบสากล โดยมี ส.ท.พัฒน์ บุญเปี่ยมใจเป็นผู้ฝึกสอน และเปลี่ยนชื่อเป็น " มหาสมุทร ศิษย์นฤพนธ์ " ต่อมา พ.อ.บรรจุ อ่องแสงคุณ โปรโมเตอร์ประจำ[[เวทีราชดำเนิน]]เห็นฟอร์มการชกเข้า จึงให้การสนับสนุน จนได้ครองแชมป์ 105 ปอนด์ของเวที และสนับสนุนให้ชิงแชมป์[[สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก]] (OPBF) ในรุ่นเดียวกันนี้ ที่กรุง[[โตเกียว]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] และเปลี่ยนชื่อเป็น " สมุทร ศิษย์นฤพนธ์ " ซึ่งสมุทรก็สามารถเอาชนะคะแนนนักมวยชาวญี่ปุ่นไปได้ด้วยคะแนนขาดลอย
 
ต่อจากนั้นได้ป้องกันตำแหน่งแชมป์ OPBF นี้ไวได้ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ต่อมา พ.อ.บรรจุ อ่องแสงคุณ ได้นำสถาบัน[[สหพันธ์มวยนานาชาติ]] (IBF) เข้ามาในเมืองไทย และตำแหน่งแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนดฺยังว่างอยู่ เนื่องจาก คุง ยุง ลี นักมวย[[เกาหลีใต้]]สละแชมป์ไป จึงผลักดันให้สมุทรขึ้นชิงแชมป์ที่ว่างอยู่นี้กับ [[พริตตี้ บอย ลูคัส]] นักมวยชาว[[ฟิลิปปินส์]] ที่เวทีมวยราชดำเนิน ซึ่งสมุทรสามารถเอาชนะลูคัสได้ไปในยกที่ 11 เนื่องจากลูคัสคิวแตกเป็นแผลยาว จากนั้น สมุทร ศิษย์นฤพนธ์ ได้ป้องกันตำแหน่งแชมป์ไว้ได้อีก 2 ครั้ง ด้วยการชนะ ฮวาง อิน เคียว นักมวยชาวเกาหลีใต้ ที่เวทีราชดำเนินร และเสมอกับ [[นิโก้กโก้ โธมัส]] นักมวยชาว[[อินโดนีเซีย]] ที่อินโดนีเซีย และในการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 3 พบกับนิโก้ โธมัส คู่ปรับเดิมอีก คราวนี้ปรากฎว่า สมุทรเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไป
 
สมุทร ศิษย์นฤพนธ์ ครองตำแหน่งแชมป์โลกด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1 ปี กับ 3 เดือน และเป็นแชมป์โลกที่อาจเรียกว่าเป็นแชมป์โลกผู้อาภัพหรือแชมป์โลกที่ถูกลืมก็ว่าได้ เนื่องจากไม่เป็นที่รู้จักมากนักของแฟนมวย ประกอบกับการได้เป็นแชมป์ในรุ่นเล็กของสถาบันที่เพิ่งจะก่อตั้งในครั้งนั้นด้วย คือ IBF ซึ่งบางคนไม่ยอมรับ หลังจากเสียแชมป์โลกไปแล้ว สมุทร ก็แขวนนวมทันที และรับราชการเป็นทหารชั้นประทวน ที่[[กรมการขนส่งทหารบก]] สะพานแดง [[เขตบางซื่อ]]