ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอปากเกร็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
เมื่อปี [[พ.ศ. 2463]] กระทรวงนครบาลได้โอนตำบลอ้อมเกร็ด (เปลี่ยนชื่อมาจากตำบลบางบัวทอง) และตำบลบางพลับจาก[[อำเภอบางบัวทอง]] กับโอนตำบลท่าอิฐจาก[[อำเภอเมืองนนทบุรี|อำเภอนนทบุรี]]มาขึ้นกับอำเภอ เพื่อความเหมาะสมด้านการปกครอง<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=37|issue=0 ก|pages=434|title=ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่องเปลี่ยนนามตำบลบางบัวทอง เปนตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลพระภิมลเปนตำบลบางบัวทอง แลโอนท้องที่ตำบลบางพลับ ตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลท่าอิฐ ไปรวมในท้องที่อำเภอปากเกร็ด|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/A/434.PDF|date=13 มีนาคม 2463|language=}}</ref> ณ ปี [[พ.ศ. 2470]] อำเภอปากเกร็ดจึงมีท้องที่การปกครองรวม 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อ ตำบลสีกัน ตำบลสองห้อง (ทุ่งสองห้อง) ตำบลบางตลาดฝั่งเหนือ (บางตลาด) ตำบลเกาะเกร็ด ตำบลท่าอิฐ ตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลบางพลับ ตำบลบ้านแหลมใหญ่ (คลองพระอุดม) ตำบลบางตะไนย์ และตำบลคลองข่อย<ref>กระทรวงมหาดไทย. '''ทำเนียบท้องที่ หัวเมือง กระทรวงมหาดไทย พระพุทธศักราช ๒๔๗๐.''' พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2471, หน้า 11.</ref>
 
เดิมอำเภอปากเกร็ดมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกติดต่อกับ[[เขตบางเขน|อำเภอบางเขนเมืองปทุมธานี]] [[จังหวัดพระนครปทุมธานี]]โดยใช้[[คลองเปรมประชากร]]ตั้งแต่คลองบางตลาดขึ้นไปจนถึงคลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อเป็นเส้นแบ่งเขตเป็นเส้นแบ่งเขต<ref>กรมแผนที่ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด. '''แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2431-2474 = Maps of Bangkok, A.D. 1888-1931.''' พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2542.</ref> จนกระทั่งในวันที่ [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2475]] ทางราชการได้โอนตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด (ซึ่งรวมพื้นที่ตำบลสีกันเดิมไว้ด้วย) พร้อมกับตำบลลาดโตนดจากอำเภอนนทบุรีไปอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขนเมืองปทุมธานี เพื่อเพิ่มความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=49|issue=0 ก|pages=475-476|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ โอนตำบลลาดโตนด อำเภอนนทบุรี และตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มาขึ้นอำเภอบางเขนเมืองปทุมธานี จังหวัดพระนครปทุมธานี|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/475.PDF|date=26 ตุลาคม 2475|language=}}</ref> [[คลองประปา]]จึงกลายเป็นแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดทั้งสองแทนคลองเปรมประชากรมาจนถึงทุกวันนี้
 
จนกระทั่งในวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2486]] จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอปากเกร็ดย้ายไปขึ้นกับ[[จังหวัดพระนครปทุมธานี]] จนกระทั่งในวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2489]] ได้มีการจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้ง<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=63|issue=29 ก|pages=315-317|title=พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/029/315.PDF|date=9 พฤษภาคม 2489|language=}}</ref> อำเภอปากเกร็ดจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดนับแต่นั้น
 
ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับตำบลภายในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอยู่เนือง ๆ เช่น ยุบตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อรวมเข้ากับตำบลบางพูด ยุบตำบลบางพลับรวมเข้ากับตำบลอ้อมเกร็ด เป็นต้น จนกระทั่งในวันที่ [[8 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2490]] กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตตำบลเดิมและตั้งตำบลใหม่อีกครั้ง โดยแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลปากเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางตลาด แยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางพูดตั้งเป็นตำบลบ้านใหม่ รวมพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางตะไนย์และอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลคลองพระอุดม และแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางพลับ มีผลตั้งแต่วันที่ [[1 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=64|issue=26 ง|pages=1114-1433|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/026/1114.PDF|date=10 มิถุนายน 2490|language=}}</ref>