ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทมัส ฮอบส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HakanIST (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 58.97.76.87 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Design88
บรรทัด 7:
ถึงแม้ว่าทุกคนได้รู้จักโทมัส ฮอบส์จากงานเขียนกี่ยวกับ[[ปรัชญาการเมือง]]ตะวันตกก็จริง แต่ที่จริงแล้วฮอบส์ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ไว้อีกหลายด้าน เช่น [[ประวัติศาสตร์]] [[เรขาคณิต]] [[เทววิทยา]] [[จริยธรรม]] รวมทั้งด้าน[[ปรัชญา]]ทั่วๆ ไปอีกหลายเรื่อง และที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่า รัฐศาสตร์ (political science) นอกจากนี้สิ่งที่ฮอบบส์เชื่อที่ว่า "''มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติมีการร่วมมือกันก็โดยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว''" ซึ่งข้อคิดนี้ได้รับการพิสูจน์ในทฤษฎีของ ''ปรัชญามานุษยวิทยา''ต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน
 
== ชีวิตในวัยเยาว์และการศึกษา ==
'''โทมัส ฮอบส์''' เกิดที่วิลท์ไชร์ [[ประเทศอังกฤษ]] เป็นบุตรของพระราชาคณะแห่งชาร์ลตัน และ เวสต์พอร์ตซึ่งหนีออกจากประเทศอังกฤษเนื่องจากการกลัวโทษแขวนคอและปล่อยลูก 3 คนทิ้งไว้ให้พี่ชายชื่อฟรานซิสดูแล ฮอบบส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนโบสถ์ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นตามลำดับ ฮอบส์เป็นนักเรียนดีและได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่[[เฮิร์ทฟอร์ดคอลเลจ]] [[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]]เมื่อ [[พ.ศ. 2146]] ที่มหาวิทยาลัย ฮอบส์ได้เป็นครูกวดวิชาให้กับบุตรชายของ[[วิลเลียม คาเวนดิช]] [[บารอน]]แห่งฮาร์ดวิกซึ่งกลายเป็นมิตรภาพกับครอบครัวนี้อย่างต่อเนื่องกันไปชั่วชีวิต
กูรู้มึงลอกจากู
 
ฮอบบส์กลายเป็นคู่หูของวิลเลียมผู้เยาว์ ได้ร่วม "[[การท่องเที่ยวครั้งใหญ่]]" ([[:en:Grand tour]] -ประเพณีของคนอังกฤษชั้นสูงวัยหนุ่มระหว่างประมาณ พ.ศ. 2200 - พ.ศ. 2360 เพื่อท่องยุโรปแผ่นดินใหญ่เพื่อเรียนรู้ แสวงหาและสัมผัสกับปรัชญาและวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่รุ่งเรืองในที่นั้น) ฮอบบส์ได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์และวิธีการคิดเชิงวิฤติของยุโรปซึ่งแตกต่างกับ "[[ปรัชญาเชิงอัสสมาจารย์]]" (scholastic philosophy) ที่ได้เขาเคยเรียนที่ออกซ์ฟอร์ดซึ่งมุ่งเรียนอย่างจริงจังทางกรีกคลาสสิกและละติน
 
แม้ว่าฮอบส์จะมีโอกาสได้คลุกคลีกับนักปรัชญามีชื่อเช่น [[เบน จอนสัน]] และ [[ฟรานซิส เบคอน]]มานานแต่ก็ไม่ได้สนใจด้านปรัชญาจนกระทั่งถึงหลังจาก พ.ศ. 2172 คาเวนดิชซึ่งได้เลื่อนเป็นเอร์ลแห่งเดวอนไชร์ผู้เป็นนายจ้างฮอบส์ได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2171 และภริยาหม้ายของคาเวนดิชได้บอกเลิกจ้างเขา แต่ในเวลาต่อมาฮอบบส์ก็ได้งานใหม่เป็นครูกวดวิชาให้กับลูกของเซอร์เกอร์วาส คลิฟตันซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในปารีสและจบลงเมื่อ พ.ศ. 2174 เนื่องจากการได้พบกับครอบครัวคาเวนดิชอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เป็นงานกวดวิชาให้กับลูกชายของนักเรียนเก่า ในช่วงต่อมาอีก 7 ปี ฮอบส์ได้เพิ่มพูนความรู้ด้านปรัชญาไปพร้อมกับงานกวดวิชาซึ่งทำให้เขาเกิดความอยากรู้อยากอภิปรายเกี่ยวปรัชญามากขึ้นและได้กลายเป็นนักอภิปรายปรัชญาหลักที่เป็น "ขาประจำ" ในยุโรป และจากปี พ.ศ. 2180 เป็นต้นมา ฮอบส์ได้ถือว่าตนเองเป็นนักปรัชญาและผู้รอบรู้
 
 
== ปารีส ==
ที่ปารีสฮอบส์ได้ศึกษาลัทธิปรัชญาในหลายๆ ด้านและได้ทดลองเข้าถึงปัญหาด้วยแนวทาง[[ฟิสิกส์]] ได้พยายามไปถึงการวางระบบความคิดที่ละเอียดบรรจงขึ้นซึ่งได้กลายเป็นงานที่ฮอบบ์ได้อุทิศชีวิตให้ ฮอบส์ได้ทำ[[ศาสตรนิพนธ์]]หลายเรื่อง เช่นเกี่ยวกับลัทธิที่เป็นระบบเกี่ยวกับร่างกายเพื่อแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางกายภาพสามารถอธิบายอาการเคลื่อนไหวได้อย่างไร ฮอบบ์ได้แยกเอา ''มนุษย์'' ออกจาก''อาณาจักรของธรรมชาติ''และ''พืชพรรณ'' ในอีกศาสนตรนิพนธ์หนึ่ง ฮอบบ์ได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเฉพาะบางอย่างของร่างกายเนื่องมาจากผลของปรากฏการณ์''ผัสสาการ'' (ศัพท์ปรัชญา = sensation) ''ความรู้'' ''วิภาพ'' (ความชอบ = affection) และ''กัมมภาวะ'' (ความดูดดื่ม, กิเลส = passion) และสุดท้ายในศาสตรนิพนธ์อันลือชื่อ ฮอบบ์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ถูกผลักดันเข้าสังคมได้อย่างไรและตั้งประเด็นว่าจะต้องออกกฎระเบียบใช้บังคับหากไม่ต้องการให้มนุษย์ต้องตกสู่ "ความเหี้ยมโหดและความทุกข์ระทม" ทำให้ฮอบบ์เสนอการรวมปรากฏการณ์ที่ว่าแยกกันของ ''ร่างกาย" ''มนุษย์''และ ''รัฐ'' เข้าเป็นหนึ่งเดียว
ไอฟาย
 
โทมัส ฮอบบ์กลับบ้านเมื่อ พ.ศ. 2180 ในขณะที่อังกฤษกำลังเกิดสงครามกลางเมืองสู้กันระหว่างบิชอปซึ่งมีผลกระทบต่องานศึกษาค้นคว้าทางปรัชญา แต่ฮอบส์ก็สามารถเขียนศาสตรนิพนธ์เรื่อง "Human Nature" และ "De Corpore Politico" แล้วเสร็จและตีพิมพ์ร่วมกันภายหลังใน 10 ปีต่อมาในชื่อ "The Element Of Law"
 
ในปี พ.ศ. 2183 ฮอบส์ได้หนีกลับไปฝั่งเศสอีกครั้งด้วยรู้ว่าการเผยแพร่ศาสตรนิพนธ์ที่เขาเขียนขึ้นกำลังให้ร้ายแก่ตัวเอง คราวนี้ฮอบส์ไม่ได้กลับบ้านอีกเป็นเวลา 11 ปี ฮอบส์ได้เขียนหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง เขาเกิดในยุคเดียวกับ [[เรอเน เดส์การตส์|เดส์การตส์]] และเขียนบทวิจารณ์ตอบบทหนึ่งของหนังสือ ''"การครุ่นคิด"'' ของเดส์การตส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2184 งานเขียนหลายๆ เรื่องของฮอบส์ได้ส่งให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นในวงวิชาการด้านปรัชญา
 
== เลอไวอะทัน - ==