ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจมส์ ดี. วัตสัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 3:
 
== ชีวิตในเยาว์วัย ==
'''เจมส์ ดี. วัตสัน''' เกิดที่เมือง[[ชิคาโก]] รัฐ[[อิลลินอยส์]] เมื่อเป็นเด็ก วัตสันสนใจเรื่องการดูนกเนื่องจากบิดาซึ่งเป็นนักธุรกิจเป็นนักดูนกสมัครเล่น เมื่ออายุ 12 ขวบวัตสันได้เข้าร่วมรายการ “''ควิสคิดส์''” ซึ่งเป็นรายการวิทยุที่เป็นที่นิยมกันมากในขณะนั้นซึ่งเป็นรายการสำหรับเด็ก “แก่แดด” หรือเด็กที่เก่งเกินวัยมาตอบคำถามยากๆ เมื่ออายุ 15 วัตสันได้เข้าเรียนใน[[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] โดยนโยบายเสรีของโดเบิร์ต ฮัทชินส์ อธิการบดีและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงในขณะนั้น ในระหว่างเรียนวัตสันพยายามหลีกเลียงวิชา[[เคมี]]เท่าที่จะหลีกได้เพราะไม่ใคร่ชอบ แต่หลังจากการอ่านหนังสือเรื่อง “ชีวิตคืออะไร?” ของ''เอ็ดวิน โชรดินเจอร์'' ในปี [[พ.ศ. 2489]] วัตสันได้เปลี่ยนแนวทางการเรียนจากสาขา “[[ปักษีวิทยา]]” มาเป็น [[พันธุกรรมศาสตร์]]และได้รับปริญญาตรีด้าน[[สัตววิทยา]] เมื่อ [[พ.ศ. 2490]]ปี
 
'''เจมส์ ดี. วัตสัน''' เกิดความสนใจในงานของ''ซาลวาดอร์ ลูเรีย'' ซึ่งลูเรียได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสำหรับ “งาน''ทดลองลูเรีย-เดลบรูกค์''” ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของการกลายพันธุ์ ลูเรียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักวิจัยที่กระจายกันออกไปใช้ประโยชน์จากการใช้[[ไวรัส]]ไปติดเชื้อในตัว[[แบคทีเรีย]]เพื่อจะได้ตรวจหา[[พันธุกรรม]]ได้ ลูเรียและแมกซ์ เดลบรุกค์นับเป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำใน “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” ที่นับเป็นกระบวนการสำคัญของนักพันธุกรรมศาสตร์ที่มาทางระบบการทดลอง เช่นการใช้''โดรโซฟิลา'' (แมลงวันผลไม้ชนิดหนึ่ง) มาสู่พันธุกรรมจุลินทรีย์
บรรทัด 9:
ในต้นปี [[พ.ศ. 2491]] วัตสันเริ่มงานวิจัยปริญญาเอกในห้องปฏิบัติการทดลองของลูเรียที่[[มหาวิทยาลัยอินเดียนา]] และในฤดูร้อนนั้น วัตสันได้พบกับ''เดลบรุค'' ในอพาร์ตเมนต์ของลูเรีย และอีกครั้งในฤดูร้อนนั้น ในระหว่างการเดินทางไปเยือนหอทดลอง “โคลด์สปริง” “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” เป็นตัวกลางเชื่อมกับพวกปัญญาชน ซึ่งวัตสันเองได้กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการทำงาน ที่สำคัญคือสมาชิกของ “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” มีความสำนึกว่าพวกตนกำลังต่างก็อยู่ในเส้นทางที่กำลังนำไปสู่การค้นพบธรรมชาติด้านกายภาพของ[[ยีนส์]] ในปี [[พ.ศ. 2492]] วัตสันลงวิชาเรียนกับ''เฟลิกซ์ เฮาโรวิวิทซ์''ซึ่งรวมแนวคิดยุคนั้นที่ว่า: คือโปรตีนและยีนส์สามารถสำเนาสร้างตัวเองเพิ่มได้ องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ[[โครโมโซม]] คือ ดีเอ็นเอนั้นเข้าใจกันโดยหลายคนว่าเป็น “''นิวคลีโอไทด์สี่หน้าที่โง่เง่า''” ที่ทำหน้าที่เพียงการเป็นโครงสร้างรองรับโปรตีน อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มแรกนี้ วัตสัน ภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” ได้ตระหนักถึงงานของ''ออสวอลด์ เอเวรี'' ซึ่งแนะว่า ดีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพันธุกรรมโครงการวิจัยของวัตสันเกี่ยวข้องกับการใช้[[รังสีเอกซ์]]มาทำให้ไวรัสที่ทำลายแบคทีเรีย (phage) อ่อนตัวลง วัตสันได้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาสัตววิทยาที่[[มหาวิทยาลัยอินเดียนา]]เมือ [[พ.ศ. 2493]] และได้เดินทางไปยุโรปเพื่อทำงานวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ตอนแรกรับหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องทดลองทาง[[ชีวเคมี]]ของ''เฮอร์มาน คัลคาร์ใน''ใน[[โคเปนเฮเกน]]ผู้ซึ่งสนใจใน[[กรดนิวคลีอิก]]และได้พัฒนาความสนใจในตัวไวรัสที่ทำลายแบคทีเรียเพื่อใช้เป็นระบบการทดลอง
 
เวลาของวัตสันที่อยู่ในโคเปนเฮเกนช่วยให้เกิดผลดีที่ตามมา วัตสันได้มีโอกาสทำการทดลองกับ''โอล มาอโล'' (สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม “ไวรัสทำลายแบคทีเรีย”) ที่มียังคงความเชื่อมั่นว่าดีเอ็นเอคือโมเลกุลพันธุกรรมซึ่งวัตสันได้เรียนรู้การทดลองประเภทนี้มาก่อนแล้วในฤดูร้อนก่อนที่หอทดลองโคลด์สปริง การทดลองเกี่ยวกับการใช้ฟอสเฟตกัมมันต์เป็นตัวค้นหาแล้วพยายามชี้ว่าองค์ประกอบโมเลกุลของไวรัสทำลายแบคทีเรียอันใดที่ไป “ติด” เชื้อแบคทีเรียเป้าหมายที่กำลังถูกไวรัสทำลาย วัตสันไม่เคยร่วมพัฒนาใดๆ ในงานนี้กับคัลคาร์แต่ได้ไปร่วมประชุมกับคัลคาร์ที่อิตาลี และได้เห็นงานของ''มัวร์ริส วิลกินส์''ที่กล่าวถึงข้อมูลดีเอ็นเอที่ได้จาก[[การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์]] ถึงตอนนี้ วัตสันค่อนข้างมั่นใจว่า ดีเอ็นเอมีโครงสร้างโมเลกุลชัดเจนที่สามารถแก้ปัญหาได้cfdrr
 
== โครงสร้างของดีเอ็นเอ ==