ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "ดูบทความที่ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชส..."
บรรทัด 1:
ดูบทความที่ [[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)]]
{{ความหมายอื่น|||เจ้าพระยานครราชสีมา}}
{{Infobox person
| honorific_prefix =
| name = เจ้าพระยานครราชสีมา<br>(ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)
| honorific_suffix =
| image =
| image_size =
| alt =
| caption =
| birth_name =
| birth_date =
| birth_place =
| disappeared_date =
| disappeared_place =
| disappeared_status =
| death_date =
| death_place =
| death_cause =
| body_discovered =
| resting_place =
| resting_place_coordinates = <!-- {{Coord|LAT|LONG|display=inline}} -->
| monuments =
| residence =
| nationality = ไทย
| other_names =
| ethnicity =
| citizenship =
| education =
| alma_mater =
| occupation =
| years_active =
| employer =
| organization =
| agent =
| known_for =
| notable_works =
| style =
| influences =
| influenced =
| home_town =
| salary =
| net_worth =
| height =
| weight =
| television =
| title = เจ้าพระยานครราชสีมา
| term =
| predecessor =พระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา)
| successor = พระยานครราชสีมา (พระพรหมบริรักษ์ สิงหเสนี)
| party =
| movement =
| opponents =
| boards =
| religion =
| denomination =
| criminal_charge =
| criminal_penalty =
| criminal_status =
| spouse = ท่านผู้หญิงทับทิม รายณสุข <br>ท่านผู้หญิงบุนนาค สิงหเสนี<br> ชุ่ม รายณสุข<br>อนุภริยาอื่น
| partner =
| children = นายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา) <br> ทองแก้ว ณ ราชสีมา<br>พระยานครราชสีมา (เมฆ ณ ราชสีมา<br>เจ้าจอมชื่น ในรัชกาลที่ 3<br>เจ้าจอมทรัพย์ในรัชกาลที่ 3<br>เจ้าจอมแจ่ม ในรัชกาลที่ 3<br>คุณหญิงเปี่ยม ณ ราชสีมา<br>เจ้าจอมฉิม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br>บุตรธิดาอื่น
| parents =
| relatives =
| callsign =
| awards =
| signature =
| signature_alt =
| signature_size =
| module =
| module2 =
| module3 =
| module4 =
| module5 =
| module6 =
| website =
| footnotes =
| box_width =
}}
'''[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)]]'''<ref>กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ.2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)</ref> หรือ '''ทองอินท์, ทองอิน''' เจ้าเมืองนครราชสีมาสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บุตรบุญธรรมใน [[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)]] เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และเป็นแม่ทัพคนสำคัญของไทยในสงครามปราบกบฏเวียงจันทน์ และสงครามอานามสยามยุทธ
 
== ประวัติ ==
'''เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)''' เกิดในปี พ.ศ. 2323 ในปลายรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] โดยมีมารดาคือ เจ้าหญิงยวน ราชธิดาของพระเจ้า[[นครศรีธรรมราช]] รับราชการฝ่ายใน ณ ราชสำนักกรุงธนบุรี เมื่อทรงครรภ์แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงพระราชทานแก่[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)]] ให้เป็นแม่เมือง หาได้ถือเป็นภรรยาไม่ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) จึงถือได้ว่าเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นบุตรบุญธรรมของ [[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)]] ในตอนปลายรัชกาลกรุงธนบุรี ปรากฏว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาขณะนั้น คือ พระยากำแหงสงคราม(บุญคง กาญจนาคม) ไปราชการช่วยเหลือ [[เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์]] ในการสงครามกัมพูชา-ญวน และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน พระยากำแหงสงคราม(บุญคง) ถูกสำเร็จโทษ ตามเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ แต่บุตรหลานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยังเล็กไม่ได้ถูกสำเร็จโทษด้วย
 
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้สมรสกับท่านผู้หญิงทับทิม ธิดาพระยาสุริยเดช (ทัศน์ ราณยสุข) บุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ต่อมาท่านผู้หญิงทับทิมได้ถึงแก่กรรม จึงได้สมรสใหม่กับ ท่านผู้หญิงบุนนาค ธิดาของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น สิงหเสนี) และเป็นน้องสาวของ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา]] (สิงห์ สิงหเสนี)
 
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) มีบุตรธิดารวม 50 ท่าน ต่อมาเชื้อสายและเครือญาติ ได้มีมีบทบาทสำคัญในราชสำนักสยาม และในราชการบ้านเมือง
 
พ.ศ. 2386 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้ล้มป่วยลง ทำให้ต้องลาพักราชการสงคราม กลับมาพักรักษาตัว ณ เมืองนครราชสีมา แต่บุตรหลานยังคงอยู่ช่วยงานราชการสงคราม และในปี พ.ศ. 2388 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ถึงแก่อสัญกรรมด้วยความสงบ
 
== เกียรติประวัติ ==
=== ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาแทนพี่ชายบุญธรรม ===
 
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้เริ่มรับราชการ ณ เมือง[[นครราชสีมา]] ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 โดยช่วยงานราชการ พระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา) บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ซึ่งมีศักดฺืเป็นพี่ชายบุญธรรม ต่อมาในปลายรัชกาลที่ 2 จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาสืบแทน และได้รับบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น "เจ้าพระยากำแหงสงคราม รามภักดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ เจ้าเมืองนครราชสีมา"
=== ปราบเจ้าเมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ และเจ้าราชวงศ์แห่งจำปาสัก ===
 
ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] พ.ศ. 2369 พระยาไกรสงคราม เจ้าเมืองขุขันธ์ วิวาทกับน้องชาย มีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) กับพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา ยกกำลังไปปราบปรามให้สงบ โดยให้หลวงยกกระบัตรอยู่รักษาเมือง แต่ในที่สุดกลับต้องทำการรบติดพันกับพระยาไกรสงคราม ที่เมืองขุขันธ์ ทำให้[[เจ้าอนุวงศ์]] นำทัพลาวเวียงจันทน์ เข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย
เมื่อความทราบถึงเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) จึงให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมากลับเข้าเมืองนครราชสีมาเพื่อควบคุมครัวเรือนนครราชสีมาให้รวมกันติดที่บ้านปราสาท ในขณะที่ชาวเมืองนครราชสีมา ได้ถูกกวาดต้อนไปกับกองทัพเวียงจันทน์ จากนั้นพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา คุณหญิงโมภรรยาปลัดเมือง หลวงยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม ได้ร่วมกันนำชาวเมืองนครราชสีมาเข้าต่อสู้กับกองทัพลาวจนได้ชัยชนะในเบื้องต้นจนเกิดเป็นวีรกรรม ณ ทุ่งสำริด และกองกำลังชาวเมืองนครราชสีมาได้ตีทัพลาวที่เจ้าอนุวงศ์ส่งมาช่วยแตกพ่ายไปอีกครั้งหนึ่ง จากวีรกรรมครั้งนี้ คุณหญิงโมได้รับพระราชทานนามเป็น [[ท้าวสุรนารี]]
ในเวลาเดียวกันเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ยังรบติดพันกับกองทัพเมืองขุขันธ์และกองทัพลาว จากนั้นได้ถอยอ้อมมาทางเมืองเสียมราฐ และเข้าจังหวัดปราจีนบุรีจึงบรรจบกับกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวกองทัพพระนครจึงสั่งถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมาและสั่งทำลายกำแพงเมืองนครราชสีมาสองด้าน พระยาไกรสงครามได้ถอยทัพไปด้วยแต่ในที่สุดถูกเจ้าอนุวงศ์สั่งประหารเนื่องจากไม่สามารถจับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้ตามแผนที่วางไว้
 
พ.ศ. 2370 [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ|กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ]] ได้ชุมนุมทัพที่นครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้กลับเข้าเมืองนครราชสีมาไปเฝ้า มีรับสั่งให้คุมทัพเมืองนครราชสีมา และหัวเมืองไปช่วยกองทัพพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ในการปราบเจ้าราชวศ์ที่เมืองจำปาสัก หลังจากนั้นให้ไปร่วมตีเมือง[[เวียงจันทน์ ]] ในครั้งนั้นได้พบครัวเมืองปักธงชัยกลับคืนมาจากการถูกกวาดต้อนไปบริเวณเมืองสกลนคร เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏเวียงจันทน์แล้วเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้นำชาวเมืองนครราชสีมาบูรณะเมืองนครราชสีมาให้กลับคืนมาดีเหมือนแต่ก่อน ในครั้งนั้นกองทัพไทยได้ร่วมกันสร้างวัดสามัคคี ในบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านเหนือ
=== เป็นแม่ทัพในสงครามกัมพูชา-ญวน ===
 
พ.ศ. 2376 โปรดเกล้าให้ [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา]] (สิงห์) เป็นแม่ทัพใหญ่ในราชการสงครามกับกัมพูชา-ญวน ([[อานามสยามยุทธ]]) มีเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) เป็นแม่ทัพหน้า และ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) | เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ)]] เป็นแม่ทัพเรือ ในครั้งนั้นทัพหน้าของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เดินทัพจนเกือบถึงบริเวณเมือง[[ไซ่ง่อน]] ก่อนที่กองทัพไทยจะถูกทัพญวนตีโต้กลับมา และในปี พ.ศ. 2380 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) เป็นแม่กองบูรณะกำแพงเมือง[[พระตะบอง]] และป้อมค่ายให้เข็งแรง เพื่อเตรียมรับศึกกัมพูชา-ญวน โดยเป็นแม่ทัพใหญ่ในเขต[[ทะเลสาบ]]ภาคตะวันออก
 
=== ถวายช้างเผือก ===
 
พ.ศ. 2377 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือกที่พบในเขตเมืองนางรอง รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อช้างนั้นว่า พระยามงคลนาคินทร์ อินทรไอยราววรรณ และในปี พ.ศ. 2387 ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างพลาย ที่มีคชลักษณ์ดีอีก 3 เชือก
 
==เชื้อสาย/สกุล==
 
ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ]] มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้นามสกุลแก่
 
พระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทโสฬส)
 
พระบุรคามบริรักษ์ (นาค เมนะรุจิ)
 
พันตรี พระพิทักษ์โยธา (ตอด อธินันทน์)
 
หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ พรหมนารท)
 
หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท)
 
หลวงรามฤทธิรงค์ (เขียว มหาณรงค์)
 
และ พันตรี ขุนกำแหงเสนีย์ (กำแหง อินทรกำแหง)
 
ตามที่ขอเปลี่ยนใหม่ และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔ แล้วว่า '''ณ ราชสีมา'''
(เขียนเป็นอักษรโรมัน na Rajasima) อันเป็นมงคลนาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ เจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอินทร์)
ผู้เป็นต้นสกุล ซึ่งได้รับราชการประกอบคุณงามความดีแก่ [[นครราชสีมา]] และทั้งทายาทก็ได้รับราชการด้วยจงรักภักดี
เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบเนื่องกันมาในจังหวัดนี้เป็นเวลาหลายรัชกาล
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}