ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามดอกกุหลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 112:
หลังจากนั้นฝ่ายฝ่ายแลงแคสเตอร์ก็กลับมามีอำนาจ ฝ่ายยอร์คและผู้สนับสนุนถูกประกาศว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดิน การที่จะได้ตำแหน่ง ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์คืนมาก็ด้วยการรุกรานเท่านั้น ดยุกแห่งซัมเมอร์เซ็ทถูกส่งไปเป็นข้าหลวงแห่งคาเลส์ ซัมเมอร์เซ็ทพยายามขับไล่เอิร์ลแห่งวอริคออกจากคาเลส์แต่ก็ไม่สำเร็จ ฝ่ายยอร์คกล้าถึงกับเริ่มส่งเรือมารุกรานอังกฤษจากคาเลส์ ที่ทำให้บ้านเมืองยิ่งระส่ำระสายมากขึ้น วอริคเดินทางไปไอร์แลนด์เพื่อไปร่วมวางแผนกับดยุกแห่งยอร์คโดยเลี่ยงเรือหลวงที่พยายามกีดกันที่นำโดย[[เฮนรี ฮอลแลนด์ ดยุกแห่งเอ็กซิเตอร์ที่ 3]] (Henry Holland, 3rd Duke of Exeter) ได้อย่างง่ายดาย<ref>Rowse, p.140</ref>
 
ในปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1460 วอริก ซอลสบรี และ เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ชก็ข้ามช่องแคบอย่างรวดเร็วมาตั้งที่มั่นอยู่ที่[[เค้นท์]]และลอนดอนและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการสนับสนันสนับสนุนจากผู้แทนของสันตะปาปา จากนั้นฝ่ายวอริคก็เดินทัพขึ้นเหนือ พระเจ้าเฮนรีก็ทรงนำทัพลงมาทางใต้เพื่อที่จะมาต่อต้านฝ่ายยอร์ก ขณะที่มาร์กาเรตยังคงประทับอยู่ทางเหนือกับพระราชโอรส ใน[[ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)|ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน]]เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ฝ่ายยอร์กที่นำโดยวอริคก็มีชัยต่อฝ่ายแลงคาสเตอร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่ทรยศต่อพระเจ้าเฮนรี พระองค์ทรงถูกทิ้งไว้ให้ฝ่ายยอร์คจับตัวไปได้อีกครั้งหนึ่งและนำตัวเดินทางกลับไปยังลอนดอน
 
== พระราชบัญญัติสอดคล้อง ==