ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
 
'''พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ''' มีพระนามเดิมว่า''พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี'' ทรงเป็นต้นสกุล "จรูญโรจน์"<ref>[[หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ]], [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1367&stissueid=2479&stcolcatid=2&stauthorid=13 วังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑], สกุลไทย, ฉบับที่ 2479, ปีที่ 48, วันอังคารที่ 23 เมษายน 2545</ref> ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2399<ref name="ราชสกุลวงศ์">{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์| ชื่อหนังสือ = ราชสกุลวงศ์| URL = http://library.siamtech.ac.th/pdf/king22.pdf
| จังหวัด = พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร| ปี = 2554| ISBN = 978-974-417-594-6| จำนวนหน้า = 296| หน้า = 136}}</ref> เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[เจ้าจอมมารดาช้อย ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว|เจ้าจอมมารดาช้อย]] (สกุลเดิม ณ ราชสีมา)<ref>กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ.2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)</ref> เมื่อพระบิดาสวรรคต [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงรับมาอุปการะเลี้ยงดูอย่างพระราชโอรส
 
ถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ท่านได้รับราชการเป็นนายแพทย์ใหญ่ในกรมทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่งสรรพากร ต่อมาจึงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษา ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ทรงได้รับสถาปนาเป็น ''พระเจ้าบวรวงษเธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ'' ทรงศักดินา 11,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/034/413.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานสุพรรณบัตร และหิรัญบัตร], เล่ม 13, ตอน 34, 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 115, หน้า 415-6</ref>