ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alpinu (คุย | ส่วนร่วม)
→‎บรรณานุกรม: French spelling (Étienne)
บรรทัด 79:
=== พระเจ้าชาลส์ที่ 9 ===
[[ไฟล์:Charles IX of France by F. Clouet.jpg| thumb| upright|200px|[[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส]] โดย ฟรองซัวส์ โคลเอท์ (François Clouet) ค.ศ. 1565 จิโอวานนี มิคิเอล ราชทูตเวนิสบรรยายว่า “เป็นเด็กที่น่าชื่นชม, ตาสวย, เคลื่อนไหวอย่างงดงาม, แต่ไม่ทรงแจ่มใส โปรดกีฬาที่รุนแรงเกินไปสำหรับพระสุขภาพ, เพราะทรงมีปัญหาเรื่องการหายพระทัย”<ref>Quoted by Frieda, 203.</ref>]]
เมื่อเริ่มแรกพระราชินีแคทเธอรีนทรงดูแล[[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาลส์ที่ 9]] ผู้มีพระชนม์เพียง 9 พรรษาอย่างใกล้ชิดและทรงนอนให้ห้องบรรทมเดียวกัน เมื่อมีการประชุมองคมนตรีก็ทรงนั่งร่วมประชุมด้วย และทรงเป็นผู้ตัดสินเกี่ยวกับนโยบายและการควบคุมกิจการของรัฐและการอุปถัมภ์ แต่มิได้ทรงมีอำนาจพอที่จะควบคุมประเทศทั้งประเทศได้ ซึ่งขณะนั้นใกล้จะเกิด[[สงครามกลางเมือง]] บางบริเวณของฝรั่งเศสขณะนั้นปกครองโดยขุนนางแทนที่จะโดยพระมหากษัตริย์ ปัญหาที่พระราชินีแคทเธอรีนทรงประสพประสบเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและยากต่อที่พระองค์จะทรงเข้าพระทัยได้<ref>Sutherland, ''Ancien Régime'', 28.</ref>
 
พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเรียกผู้นำทางศาสนาจากทั้งฝ่าย[[โรมันคาทอลิก]] และ[[โปรเตสแตนต์]]เพื่อให้มาพยายามหาทางตกลงกันเกี่ยวกับความแตกต่างทางปรัชญา แม้ว่าจะทรงตั้งความหวังไว้อย่างดีแต่[[การประชุมที่ปัวส์ซี]] (Colloquy of Poissy) ก็จบลงด้วยความล้มเหลวเมื่อวันที่ [[13 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1561]] และสลายตัวด้วยพระอนุญาตจากพระราชินีแคทเธอรีน<ref>Manetsch, 22.</ref> ที่มิได้ทรงประสพความสำเร็จเพราะพระราชินีแคทเธอรีนทรงเห็นว่าการแบ่งแยกของสองนิกายเป็นการแบ่งแยกทางการเมืองมิใช่ทางปรัชญาศาสนา อาร์ เจ เน็คท์ (R. J. Knecht) นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า “ทรงคาดไม่ถึงถึงความลึกซึ้งในความเชื่อมั่นทางศาสนา, ทรงได้แต่หวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นไปด้วยดีถ้าทรงสามารถที่จะทำให้ผู้นำทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้”<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 80.</ref> ในเดีอนมกราคม [[ค.ศ. 1561]] พระราชินีแคทเธอรีนทรงออก[[พระราชกฤษฎีกาแห่งแซงต์-แชร์แมง]] เพื่อพยายามสร้างความสมานสัมพันธ์กับกลุ่มโปรเตสแตนต์<ref>Knecht, ''Renaissance France'', 311; Sutherland, ''Ancien Régime'', 11–12. The edict, also known as the Edict of Toleration and the Edict of January, was significant for effectively recognising the existence of Protestant churches and permitting their worship outside city walls.</ref> แต่มาเมื่อวันที่ [[1 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1562]] ก็เกิดเหตุการณ์วิกฤติที่เรียกว่า [[การสังหารหมู่ที่วาสซีย์]] (Massacre at Vassy) โดย[[ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งกีส]]และพรรคพวกบุกเข้าไปโจมตีผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ในโรงนาที่วาสซีย์ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 74 คนและบาดเจ็บอีก 104 คน<ref>Knecht, ''Catherine de' Medici'', 87; Frieda, 188.</ref> ดยุกฟรองซัวส์เรียกการสังหารหมู่ว่าเป็น “เหตุการณ์ที่น่าสลดใจ” และได้รับการต้อนรับอย่างวีรบุรุษตามท้องถนนอย่างเอิกเกริกในปารีส ขณะที่อูโกโนท์เรียกร้องการให้มีการแก้แค้น<ref>Frieda, 188–89.</ref> การสังหารหมู่ที่วาสซีย์เป็นต้นเหตุของ[[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส]]ซึ่งเป็น[[สงครามกลางเมือง]]ที่ยาวนานต่อมาถึงสามสิบปี<ref>Sutherland, ''Secretaries of State'', 140.</ref>