ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเบอร์ลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
ผลจากการย้ายออกของชาวเยอรมันตะวันออก ที่มีมากเกินการควบคุม รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกในขณะนั้น จึงได้สร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก ว่ากันว่า แนวกำแพงที่กั้นระหว่างสองประเทศนี้ยาวเป็นอันดับสองรองจากกำแพงเมืองจีนทีเดียว
 
ในส่วนของกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของประเทศทั้งสอง มีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมนีตะวันออก ดังนั้น นครเบอร์ลินฝั่งตะวันตก จึงถูกปิดล้อมด้วยเยอรมนีตะวันออกรอบด้าน ในระยะแรก การเดินทางเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก เป็นไปโดยเสรี กระทั่งเมื่อมีการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมาก เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกเร่งสร้างกำแพงเพื่อปิดกั้นการย้ายถิ่นของชาวเยอรมัน ในวันที่ [[13 สิงหาคม]] [[.ศ. 25071961]] เป็นวันแรกที่มีการสร้างกำแพงเพื่อปิดล้อมกรุงเบอร์ลินตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นในยุคนั้น
 
กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้
* กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม .ศ. 25071961 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด
* กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง
* กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น