ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 [[เซนติเมตร]] มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมี[[สีสัน]]ลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ
 
มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่[[genus|สกุล]] บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ใน[[น้ำ]]และมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1-1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี
 
มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่[[ทวีปอเมริกาเหนือ]], [[ยุโรป]], [[แอฟริกาตะวันตก]], [[เอเชียตะวันตก]] และ[[เอเชียตะวันออก]] สำหรับใน[[ประเทศไทย]] [[กะท่าง]] (''Tylottriton verrucosus'') ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบใน[[ภูเขา|ดอย]]สูงทาง[[ภาคเหนือ]]ที่สูงกว่า[[ระดับน้ำทะเล]]มาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน<ref>หน้า 312-313, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0</ref> <ref>[http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/1180--salamander-newt ประเทศไทยไม่มี salamander มีแต่ newt จาก [[เนคเทค]]]</ref>