ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เผาตำรา ฝังบัณฑิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
|-
|[[File:Qin empire 210 BCE.png|thumb|center|
แผนที่จักรวรรดิฉิน ปี 210 ก่อนคริสตกาล
----
{{color box|#574c46}} แผนดินแผ่นดินจักรวรรดิฉิน<br />
{{color box|#8f8279}} แผ่นดินห่างไกล
]]
บรรทัด 12:
'''เผาตำรา ฝังบัณฑิต''' ({{zh|t=焚書坑儒|p=fénshū kēngrú}}) กล่าวถึงเหตุการณ์เผาตำราที่คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 213 ก่อนคริสตกาล และฝังนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อทั้งเป็นจำนวน 460 คนเมื่อปี 210 ก่อนคริสตกาล โดย [[จิ๋นซีฮ่องเต้]] จักรพรรดิพระองค์แรกแห่ง[[ราชวงศ์ฉิน]]ในยุคจีนโบราณ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความสูญเสียหนังสือที่มีเนื้อหาทางด้านปรัชญาของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อยจำนวนมาก หลักปรัชญาทางการของรัฐบาล (“การยึดถือกฎ”) ยังคงอยู่รอดมาได้
 
นักคิดและปัญญาชนยุคปัจจุบันตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องราวใน “[[บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่]]” เป็นแหล่งข้อมูลหลักตั้งแต่ [[ซือหม่า เชียน]] เขียนบันทึกเอาไว้เมื่อศตวรรษที่ 1 หรือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 100 ปีและยังเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักแห่ง[[ราชวงศ์ฮั่น]] ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบต่อจากราชวงศ์ฉิน และอาจจะถูกคาดว่าในบันทึกได้แสดงถึงข้อความอันเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ฉิน ในขณะที่เป็นที่ชัดเจนว่าจักรพรรดิจิ๋นซีทรงรวบรวมและทำลายเอกสารจำนวนมากซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาให้สมควรทำลายเอกสารทิ้ง เอกสารแต่ละฉบับจะทำสำเนาไว้ 2 ฉบับ ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของจักรพรรดิซึ่งถูกทำลายจากการศึกสงครามที่เกิดภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน ปัจจุบันนี้เป็นที่เชื่อกันว่ามีนักคิดและปัญญาชนจำนวนมากถูกฆ่า แต่พวกเขาเหล่านี้ไม่อยู่ในสำนักวิชาขงจื้อและไม่ถูก “ฝังทั้งเป็น” ในบางกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และสำนวนที่ว่า “เผาตำรา ฝังบัณฑิต” ได้กลายเป็นตำนานที่ยังคงอยู่รอดมาได้ในมรดกของขงจื้อ{{sfnp|Goldin|2005|p=151}}{{sfnb|Nylan|2001|pp = 29-30}}{{sfnb|Kern|2010|pp = [http://books.google.com/books?id=qY32-zfTU9AC&dq=cambridge+history+of+china+burning+books&q=%22status+of+the+Classics%22#v=snippet&q=%22status%20of%20the%20Classics%22&f=false 111-112]}}
 
== เรื่องเล่าขานที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ==
บรรทัด 22:
'[1]' การเผาตำราและคัมภีร์ของ[[จิ๋นซีฮ่องเต้]] จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน<br />
'[2]' เมืองฉางอานซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิ[[หวัง หมั่ง]]ถูกโจมตีและพระราชวังหลวงถูกปล้นหวัง พระองค์สิ้นพระชนม์ในสนามรบและบีบบังคับให้เผาบันทึกแห่งพระราชวังเว่ยหยางแห่งชาติ<br />
'[3]' เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น การกระจัดกระจายไปของห้องสมุดหลวงใน[[ยุคสามก๊ก]]โดยเกิดจากความวุ่นวายอันเป็นผลมาจากสงครามระหว่าง[[วุยก๊ก]] ,(魏) [[จ๊กก๊ก]] ,(蜀) และ[[ง่อก๊ก]] (吳)<br />
'[4]' เมื่อสงครามแห่งเจ้าชายทั้งแปดยุติลง การกระจัดกระจายของห้องสมุดหลวงโดยเกิดจากความวุ่นวายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก<br />
'[5]' จักรพรรดิหยวนแห่งราชวงศ์เหลียงห้อมล้อมไปด้วยกองทัพเว่ยตะวันตกภายในป้อมปราการของพระองค์ พระองค์ทรงจุดไฟเผาการเก็บรวบรวมบันทึกแห่งชาติ
บรรทัด 31:
ตามที่[[บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่]] (มีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า บันทึกสื่อจี้) ของ[[ซือหม่า เชียน]] หลังจากที่ [[จิ๋นซีฮ่องเต้|ฉินฉื่อหฺวังตี้]] จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน ได้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียวในปี 221 ก่อนคริสตกาล [[หลี่ ซือ]] อัครมหาเสนาบดีได้เสนอให้ปราบปรามกวาดล้างการสนทนาของกลุ่มปัญญาชนเพื่อรวบรวมแนวคิดและความเห็นทางการเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบันทึกสื่อจี้ บทที่ 6 “ประชุมพงศาวดารพื้นฐานแห่งปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน” ปีที่ 34 (ปี 213 ก่อนคริสตกาล)
 
:อัครมหาเสนาบดี หลี่ ซือ กล่าวว่า “ข้าพเจ้า ข้าในพระองค์ มีข้อเสนอว่า บันทึกของนักประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่นอกเหนือจากของ[[แคว้นฉิน]]จะต้องถูกเผาทำลาย กับข้อยกเว้นของนักคิดและปัญญาชนผู้ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหนังสือเหล่านั้น ถ้าใครคนใดก็ตามที่อยู่ภายใต้ฟ้าเดียวกันคัดลอกบันทึกสื่อจี้ , บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ หรืองานเขียนอื่นของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อย พวกเขาจะต้องส่งมอบงานเขียนเหล่านี้ให้กับเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเผาทำลาย ใครก็ตามที่กล้าถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาในบันทึกสื่อจี้หรือบันทึกแห่งประวัติศาสตร์จะต้องถูกประหารชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ใครก็ตามที่ใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ในปัจจุบันจะต้องถูกประหารชีวิตทั้งครอบครัว เจ้าหน้าที่ราชสำนักคนใดก็ตามที่เห็นว่ามีการละเมิดคำสั่งแต่ล้มเหลวในการรายงานความผิดไปยังราชสำนักก็มีความผิดเช่นกัน ใครก็ตามที่ล้มเหลวในการเผาหนังสือหลังจากการประกาศคำสั่งนี้ไปแล้ว 30 วันจะต้องถูกควบคุมตัวไปประทับรอยสักและถูกส่งตัวไปเป็นคนงานก่อสร้าง[[กำแพงเมืองจีน]] หนังสือที่ได้รับการยกเว้น คือ หนังสือที่มีเนื้อหาด้านการแพทย์ , ดวงชะตา , การเกษตร , และวนศาสตร์ บรรดาผู้ที่มีความสนใจด้านกฎหมายจะถูกอบรมสั่งสอนโดยเจ้าหน้าที่ราชสำนักแทน”{{efn|相李斯曰:「臣請史官非秦記皆燒之。非博士官所職,天下敢有藏���、書、百家語者,悉詣守、尉雜燒之。有敢偶語詩書者棄市。以古非今者族。吏見知不舉者與同罪。令下三十日不燒,黥為城旦。所不去者,醫藥卜筮種樹之書。若欲有學法令,以吏為師}}
 
 
ตำราและคัมภีร์ที่ถูกตรวจพิจารณาโดย หลี่ ซือ แล้วพบว่ามีเนื้อหารุนแรงทางการเมืองมากที่สุดมี 3 ประเภท ได้แก่ บทกวี , ประวัติศาสตร์ , และปรัชญา การเก็บรวบรวมบันทึกทางประวัติศาสตร์และบทกวีโบราณประกอบไปด้วยหลายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่มีคุณธรรมในยุคโบราณ หลี่ ซือ เชื่อว่าถ้าประชาชนได้อ่านงานเขียนเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความเป็นไปได้ที่จะโหยหาอดีตและเปลี่ยนเป็นแสดงความไม่พอใจในปัจจุบัน เหตุผลของการต่อต้านสำนักความคิดต่าง ๆ ของหลักปรัชญาคือ พวกเขาจะสนับสนุนความคิดทางการเมืองบ่อยครั้งที่ไม่สามารถเข้ากับระบอบเผด็จการได้{{sfnp|Chan|1972|pp=105-107}}
 
==== ผลกระทบที่ตามมา ====
ขอบเขตของความเสียหายต่อมรดกทางปัญญาของจีนเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก เพราะว่ารายละเอียดไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ มีความจริงอยู่หลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม ได้บ่งบอกถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าจะอยู่รอดมาได้แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง หนึ่ง มันถูกบันทึกไว้ในอนุสรณ์สถานของ หลี่ ซือ ว่าหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมทั้งหมดถูกสำรองเอาไว้ สอง แม้แต่หนังสือที่น่ารังเกียจ , บทกวีและโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปรัชญาถูกเก็บรักษาเอาไว้ในหอจดหมายเหตุของจักรพรรดิและได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาไว้โดยนักคิดและปัญญาชนของราชสำนัก{{sfnp|Chan|1972|p=106}}
 
หนังสือหลายประเภทที่ถูกกล่าวถึงนั้น ประวัติศาสตร์ประสบกับความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หนังสือประวัติศาสตร์ยุครณรัฐก่อนเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฉินหลงเหลือมาน้อยที่สุด หลี่ ซือ กล่าวว่า หนังสือประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่ไม่ได้อยู่ในการตีความจากราชสำนักฉินจะต้องถูกเผาทำลาย มันไม่แน่ชัดว่าสำเนาของหนังสือเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้เก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติหรือไม่ ถึงแม้ว่าหนังสือบางเล่มถูกเก็บรักษาเอาไว้ หนังสือพวกนี้ก็ถูกทำลายไปในปี 206 ก่อนคริสตกาลเมื่อข้าศึกบุกเข้ายึดและเผาพระราชวังจักรพรรดิจิ๋นซี ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าหนังสือถูกเก็บเอาไว้ในหอจดหมายเหตุ{{sfnp|Chan|1972|p=107}}
 
==== ภายหลังจากการเผาตำรา ====
เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน บันทึกแห่งชาติของพระราชวังอาฝางกงถูกทำลายโดยไฟไหม้ สาง จี้ นักกวีสมัย[[ราชวงศ์ถัง]] ได้เขียนบทกวีเกี่ยวกับนโยบายของการทำลายในเวลาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้
 
* [[ภาษาจีน]]: 坑灰未冷山東亂; [[พินอิน]]: kēng huī wèi lĕng shān dōng luàn
เส้น 59 ⟶ 60:
 
== เหตุผลในการสงสัย ==
นักคิดและปัญญาชน มิชาเอล ไนลัน ตั้งข้อสังเกตว่า “ถึงแม้ว่ามันเป็นความสำคัญในรูปแบบเทพนิยาย ตำนานของการเผาหนังสือก็ไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นความลับ” ไนลันนำเสนอว่า เหตุผลที่นักวิชาการสมัยราชวงศ์ฮั่นกล่าวหาราชวงศ์ฉินว่าทำลายคัมภีร์ทั้งห้าในปรัชญาขงจื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการ “ใส่ร้ายป้ายสี” ให้กับรัฐที่พวกเขาปราชัยและส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่านักคิดและปัญญาชนสมัยราชวงศ์ฮั่นเข้าใจผิดในเรื่องธรรมชาติของข้อความ เพราะมันเป็นเพียงแค่หลังจากการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นซึ่งซื่อ หม่าเซียนติดป้ายหลักปรัชญาทั้ง 5 เป็น “ลัทธิขงจื้อ” ไนลันยังได้ชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าราชสำนักฉินแต่งตั้งนักคิดและปัญญาชนชั้นเอกผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญว่าดัวย “บทกวีคลาสสิค” และ “[[เอกสาร]]” ซึ่งหมายความว่าข้อความเหล่านี้จะถูกยกเว้น และว่า “หนังสือแห่งพิธีกรรม” และ “บันทึกฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง” ไม่ได้บรรจุไว้ในการถวายพระเกียรติของรัฐศักดินาที่พ่ายแพ้ซึ่งจักรพรรดิจิ๋นซีทรงให้เหตุผลเพื่อการทำลายบรรดารัฐเหล่านั้น{{sfnb|Nylan|2001|pp = 29-30}} มาร์ติน เคิร์น เพิ่มเติมว่าบันทึกและคัมภีร์ของราชวงศ์ฉินและต้นราชวงศ์ฮั่นมักอ้างถึงงานเขียนคลาสสิค โดยเฉพาะใน “เอกสาร” และใน “คัมภีร์คีตาคาถา” ซึ่งเป็นไปไม่ได้ถ้าบันทึกและคัมภีร์เหล่านี้ไม่ถูกเผา ตามที่รายงาน{{sfnb|Kern|2010|pp = [http://books.google.com/books?id=qY32-zfTU9AC&dq=cambridge+history+of+china+burning+books&q=%22status+of+the+Classics%22#v=snippet&q=%22status%20of%20the%20Classics%22&f=false 111-112]}}
 
เรื่องราวการประหารชีวิตบรรดาเหล่านักคิดและปัญญาชนของ ซือหม่า เชียน มีความยุ่งยากเหมือนกัน หนึ่ง ไม่มีข้อความก่อนหน้าบันทึกสื่อจี้กล่าวถึงการประหารชีวิต บันทึกสื่อจี้กล่าวว่าไม่มีชื่อของนักคิดและปัญญาชนในสำนักวิชาขงจื้อคนใดเป็นเหยื่อของการประหารชีวิต และในความเป็นจริงแล้วไม่มีข้อความใดกล่าวถึงการประหารชีวิตเลย จนกระทั่งคริสต์ศักราชที่ 1 การใช้สำนวน “เผาตำราและประหารนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อ” ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักที่เก่าแก่ที่สุดไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 4{{sfnb|Kern|2010|pp = [http://books.google.com/books?id=qY32-zfTU9AC&dq=cambridge+history+of+china+burning+books&q=%22status+of+the+Classics%22#v=snippet&q=%22status%20of%20the%20Classics%22&f=false 111-112]}}
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 68 ⟶ 69:
* [[ลัทธิขงจื๊อ]]
* [[การปฏิวัติทางวัฒนธรรม]]
 
==Notes==
{{notelist}}
 
==Footnotes==
{{reflist|20em}}
 
== แหล่งที่มาและอ่านเพิ่มเติม ==