ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเวเนซุเอลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KengSiri (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 183:
== เศรษฐกิจ ==
=== โครงสร้างเศรษฐกิจ ===
*[[ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ]] (GDP) : 402.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
 
*GDP รายบุคคล : 13,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
บรรทัด 220:
 
=== อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ===
สำหรับภาค[[อุตสาหกรรมการผลิต]] (manufacturing) (คิดเป็นร้อยละ 17 ของ GDP ของเวเนซุเอลา) ยังไม่อยู่ในสภาพแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเพื่อการส่งออก ยกเว้นอุตสาหกรรมการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินทุนสูง แม้ว่าในปี ค.ศ. 2005 มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 9 แต่ยังคงขาดแคลนการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งนี้ ผลิตผลที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กกล้า อลูมินั่ม สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องดื่ม และอาหาร สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP และร้อยละ 10 ของการจ้างงาน โดยผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ ปลา ผลไม้เมืองร้อน (tropical fruits) กาแฟ โกโก้ (ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s เวเนซุเอลาเคยเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟ และโกโก้รายใหญ่ของโลก แต่ในปัจจุบันเวเนซุเอลาผลิตกาแฟเพียงประมาณร้อยละ 1 ของปริมาณกาแฟโลกและส่วนมากเพื่อการบริโภคภายในประเทศ) ทั้งนี้ เนื่องจากการหันเหความสนใจมายังอุตสาหกรรมน้ำมันที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศ อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูการปลูกและผลิตโกโก้ในเวเนซุเอลา (โกโก้ของเวเนซุเอลาบางชนิดได้ชื่อว่าเป็นโกโก้ที่ดีและมีกลิ่นหอมที่สุดในโลก และใช้สำหรับการผลิตช็อคโกแลตแท้ชั้นดีเท่านั้น)
เวเนซุเอลายังไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศ ยังคงต้องนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ฝ้าย ไขมันจากสัตว์ น้ำมันพืช ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ และโคลอมเบีย นอกจากนั้น การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันทำให้เวเนซุเอลาได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก หากราคาน้ำมันสูง นโยบายการใช้จ่ายงบประมาณจะมากขึ้นด้วย
 
รัฐบาลเวเนซุเอลามีนโยบายไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ Free Trade Area of the Americas (FTAA) แต่มีนโยบายส่งเสริมบูรณาการภายในภูมิภาคอเมริกาใต้ ทั้งนี้ เวเนซุเอลาได้ลงนามในความตกลง Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of Our America and the Peoples’ Trade Agreements (ALBA) กับคิวบาและโบลิเวียเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 และเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2006 ตามลำดับ โดยหวังว่า ความตกลง ALBA จะเป็นแนวทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาคตามแนวความคิดแบบสังคมนิยมและจะเป็นทางเลือกแทนการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของภูมิภาคอเมริกาใต้ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญ
 
=== แหล่งพลังงานน้ำมัน และ ปิโตรเลียม ===
{{โครง-ส่วน}}
เศรษฐกิจพึ่งพิงการผลิตและส่งออก[[ปิโตรเลียม]]นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 โดยคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP (ปี 2548) ทั้งนี้ รายได้จากการส่งออกน้ำมันคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด ในอดีตเวเนซุเอลาเปิดให้มีการลงทุนจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 รัฐบาลของประธานาธิบดี Chávez ได้ออกกฎหมาย Hydrocarbons Law ฉบับใหม่ กำหนดให้กิจการการผลิตและการจำหน่ายน้ำมันเป็นของรัฐบาลเวเนซุเอลา และเอกชนไม่สามารถถือหุ้นในกิจการดังกล่าวได้เกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ กิจการในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันของเวเนซุเอลาดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจน้ำมัน Petroleos de Venezuela (PDVSA) ทั้งนี้ เวเนซุเอลาเป็น 1 ใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง OPEC ซึ่ง้ซึ่งเวเนซุเอลาตอนนี้มีปริมาณ แหล่งพลังงานน้ำมัน และ ปิโตรเลียม นํ้ามันสำรองมากกว่าซาอุดิอาราเบียและส่งออกเป็นอันดับที่ 11 ของโลก
 
*ท่อขนส่งน้ำมัน และ ปิโตรเลียม