ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กสิณธร ราชโอรส (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
กสิณธร ราชโอรส (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
 
== ศิลปะและสถาปัตยกรรม ==
[[ไฟล์:วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (34).JPG|right|200150px|thumb|พระอุโบสถ]]
[[จิตรกรรมฝาผนัง]]ของที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่เขียนเรื่อง "ธุดงควัตร13" และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่[[ลังกา]] แทนการเขียนเรื่อง[[ทศชาติชาดก]]หรือ[[พุทธประวัติ]]ของ[[พระพุทธเจ้า]] ของวัดอื่น โดยนำเอาศิลปะทางตะวันตกมา นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบ[[สถาปัตยกรรมตะวันตก]]เข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร
 
[[ไฟล์:วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (24).JPG|left|150200px|thumb|จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ]]
พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างเป็นรูปโถงตลอด [[หลังคา]]ลด 2 ชั้น ประดับ[[ช่อฟ้า]] [[ใบระกา]] [[หน้าจั่ว]]เป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4) ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้ บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูลพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4)
 
[[ไฟล์:วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (10).JPG|right|200px|thumb|พระปรางค์สี่องค์]]
พระปรางค์ 4 องค์สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่[[ปรินิพพาน]]ไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ
[[ไฟล์:วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (2).JPG|right|200px|thumb|พระพุทธไสยาสน์]]
 
[[พระพุทธไสยาสน์]] เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ ([[วัดโพธิ์]])เท่านั้น เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร