ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กสิณธร ราชโอรส (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
กสิณธร ราชโอรส (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
[[ไฟล์:วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (3).JPG|left|200px|thumb|พระศาสดา พระประธานในพระอุโบสถ]]
วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร เป็นที่สร้างขึ้นใน[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] เดิมชื่อ'''วัดทอง''' ใน[[สมัยกรุงธนบุรี]]เป็นสถานที่ซึ่ง[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]มีพระราชดำรัสให้นำเชลยศึกพม่าจากค่ายบางแก้วไปประหารชีวิต ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอารามและพระราชทานนามว่า "วัดสุวรรณาราม" นอกจากนี้[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] มีพระราชศรัทธาสร้างเมรุหลวงสำหรับใช้ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งตามประเพณีต้องนำไปฌาปนกิจนอกกำแพงพระนครชั้นนอก เมรุหลวงนี้ใช้มาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5
[[ไฟล์: วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (23).JPG|right|180px|thumb|พระประธานในพระวิหาร]]
 
ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณารามและให้ช่างเขียนภาพฝาผนังในพระอุโบสถด้วย มีงานของจิตรกรอย่าง[[หลวงวิจิตรเจษฎา (ทองอยู่)]] ผู้เขียน[[เนมีเนมิราชชาดก]] กับ[[หลวงเสนีย์บริรักษ์ (คงแป๊ะ)]] ผู้เขียน[[มโหสถชาดก]] เป็นต้น
 
==สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ==
[[ไฟล์:Wat Suwannaram.jpg|left|150px|thumb|จิตรกรรมพระเนมิราช ฝีมือครูทองอยู่]]
 
ทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม พระอุโบสถ สร้างตามแบบแผน[[ศิลปกรรม]]สมัยรัชกาลที่ 1 มีเสาทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง [[ช่อฟ้า]][[ใบระกา]]ประดับกระจก [[หน้าบัน]]จำหลักลายรูปเทพนมและรูปนารายณ์ทรง[[ครุฑ]]ปิดทอง สถาปัตยกรรมอื่นๆ ภายในวัดได้แก่ พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีมุขขวางทั้งด้านหน้าและด้านหลังกับหมู่กุฏิสงฆ์ที่เป็นเรือนไม้ฝาปะกน เก่าแก่และงดงามมาก หมู่กุฏิสงฆ์ เป็นหมู่ตึก 6 หลัง มีหอฉันอยู่กลางและมีหอเล็กติดกำแพง 2 หอพร้อมทั้ง[[หอระฆัง]]และ[[หอไตร]]
[[ไฟล์:Wat Suwannaram (2).jpg|right|150px|thumb|จิตรกรรมมโหสถ ฝีมือครูคงแป๊ะ]]
 
ภายในพระอุโบสถ นอกจากภาพ[[จิตรกรรมฝาผนัง]]แล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ฝีมือช่างเดียวกันกับ[[พระศรีศากยมุนี]]ที่[[วัดสุทัศน์]] (ฝีมือช่างสุโขทัยมีนามว่า “ พระศาสดา”) สันนิษฐานว่าเป็น[[พระพุทธรูป]]ที่เชิญมาแต่[[กรุงสุโขทัย]]ในสมัยรัชกาลที่ 1