ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสุรนารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45:
ในหลักฐานร่วมสมัยอย่างจดหมายเหตุนครราชสีมาระบุบคำให้การขุนโอฐบันทึกในใบบอกว่า ''"เวลาเช้าตรู่ พระยาปลัด พระยายกกระบัตร กรมการต่างคนต่างยิงปืนคนละนัด พวกครัวก็เข้าฟันแทง ทั้งพระสงฆ์ เถร เณร ผู้หญิงในครัว หนุนโห่ร้องไล่อ้ายลาวแตก"'' และ คำให้การอ้ายพระยานรินทร์แม่ทัพลาวที่ถูกจับ อ้างพระราชดำรัสเจ้าอนุวงศ์ว่า ''"อ้ายอนุบอกข้าพเจ้าว่าครัวเมืองโคราชซึ่งให้เพี้ยรามพิชัยคุมไพร่ 200 คนไปถึงบ้านสัมริด พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเสียหมดแล้ว ให้อ้ายสุทธิสารคุมไพร่ 2,000 คน มีปืน 200 บอกยกไปรบกับครัวโคราช ณ บ้านสำริด อ้ายสุทธิสารแตกหนีมา พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเป็นอันมาก"'' ซึ่งไม่มีการกล่าวถึงวีรกรรมของคุณหญิงโม แต่มีการกล่าวถึงวีรกรรมดังกล่าวในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 และ จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์<ref name="สารคดี"/><ref name=rarebook>[http://library.tu.ac.th/newlib2/newweb/rarebook/rarebook_2.html จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์]{{ลิงก์เสีย}}</ref> ส่วนเรื่อง[[นางสาวบุญเหลือ]]ยังไม่พบปรากฏในหลักฐานที่เป็นบันทึกใด ๆ ก่อนปี พ.ศ. 2475<ref name="สารคดี">จากเวียงจันทน์ถึงบางกอกตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว,นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291 พฤษภาคม 2552, หน้า 138-141</ref>
 
ในเรื่องนี้เป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2536 เมื่อหนังสือ '''การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี''' ถูกตีพิมพ์ซึ่งหนังสือดังกล่าวปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง ''"ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย"'' โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยานิพนธ์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามว่า วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ซึ่งแม้แต่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ก็เคยตั้งคำถามว่า "เรื่องท่านผู้หญิงโม้นี้ดูก็ประหลาด ...ไม่เห็นว่าแสดงแผลงอิทธิฤทธิ์อะไร เป็นแต่ว่าคุมพวกผู้หญิงเป็นกองหลังเท่านั้น ทำไมยกย่องกันหนักหนาไม่ทราบ"<ref name=banned>[http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1 หนังสือต้องห้าม]. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้น 19 มกราคม 2556.</ref> สายพินใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์หาคำตอบจนพบได้เสนอว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีมีจริงแต่ถูกนำมาใช้เพื่อเป้าประสงค์ทางการเมือง เป็นสามัญชนคนแรกที่ทางการสร้างอนุสาวรีย์ให้ และชี้ให้เห็นความล้มเหลวของวิชาประวัติศาสตร์ ที่ไม่ช่วยให้คนในสังคมแก้ปัญหาด้วยการค้นหาความจริง<ref name=banned/>
 
การที่สำนักพิมพ์หนึ่งนำวิทยานิพนธ์ไปตัดแต่งและตั้งคำถามที่ท้าทายความเชื่อของคนในพื้นที่ ทำให้ผู้เขียนถึงขนาดถูกข่มขู่เอาชีวิตและห้ามเข้าจังหวัดนครราชสีมา<ref>[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=611 หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ] ฉบับที่ 260 ตุลาคม 49 ปีที่ 22</ref><ref>[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=610 จากจิ๋นซีถึง แฮร์รี่ พอตเตอร์] ฉบับที่ 260 ตุลาคม 49 ปีที่ 22</ref>
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าเกิดการต่อสู้ระหว่างชาวนครราชสีมาและกองกำลังลาวขึ้นจริง<ref name=rarebook/> ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์ต้องถอยทัพจากโคราชก่อนกำหนด<ref>จากเวียงจันทน์ถึงบางกอกตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว, นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291 พฤษภาคม 2552, หน้า 138-141</ref> และในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีอย่างแพร่หลายแล้ว<ref>'''อานามสยามยุทธ''', ก.ศ.ร. กุหลาบ</ref>{{ต้องการอ้างอิงเต็ม}} ถึงกระนั้น ตามทัศนะของ รศ.[[ศรีศักร วัลลิโภดม]] วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นภายหลัง โดยมีฉากหลังเป็นวีรกรรมของการร่วมแรงร่วมใจสู้รบของชาวนครราชสีมา และเนื่องด้วย ท้าวสุรนารี เป็นบุคคลที่เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ จึงมีการแต่งเรื่องราวขึ้นภายหลัง เช่นเดียวกับ[[พญาแถน]]ของ[[ประเทศลาว]] เป็นต้น<ref>รายการ[[พินิจนคร]] [http://www.thaipbs.or.th/Pinijnakorn/ ตอน นครราชสีมา...รากแห่งนคราย่าโม ตำนานของคนโคราช] : 4 มกราคม พ.ศ. 2553 ทาง[[ทีวีไทย]]</ref>