ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคสหประชาไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2512|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512]] พรรคสหประชาไทย ได้รับเลือกตั้งด้วยจำนวนเสียงมากที่สุด คือ 75 เสียง ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิก[[รัฐสภา|สภาผู้แทนราษฎร]] จำต้องหาเสียงสนับสนุนเพิ่มเติม โดยมีข้อต่อรองเรื่องผลประโยชน์เป็นการตอบแทน
 
พรรคสหประชาไทยจึงได้เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ [[7 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2512]] โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลก็มีปัญหาวุ่นวายตามมาไม่สิ้นสุด อันเนื่องจากการต่อรองขอผลประโยชน์ของสมาชิกพรรคเองรวมถึงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2515
 
เรื่องราวความวุ่นวายไม่จบ ซ้ำยังบานปลาย จนกระทั่งในที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจร จึงตัดสินใจทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514]] ยึดอำนาจตัวเองเหมือนจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ที่เคยกระทำในปี [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|พ.ศ. 2494]] พร้อมทั้งประกาศยกเลิก[[รัฐธรรมนูญ]], [[วุฒิสภา]], [[สภาผู้แทนราษฎร]]และคณะรัฐมนตรี, ยกเลิกพรรคการเมืองและประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป บทบาทของพรรคสหประชาไทยจึงได้ยุติแต่เพียงเท่านี้ แต่ผลจากการรัฐประหารตนเองในครั้งนี้ เป็นมูลเหตุของการชุมนุมใหญ่ในวันที่ [[เหตุการณ์ 14 ตุลา|14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] ในอีก 2 ปี ถัดมา