ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวโยดะยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
ที่เมืองเชียงใหม่มีการก่อกบฏขึ้น พนะเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพไปเมื่อ [[22 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2107]] คราวนี้[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช|ออกญาธรรมราชา]] (Ora Dhammaraja) ราชบุตรเขยของกษัตริย์อยุธยาทรงนำกองทัพ[[ช้าง]] 500 เชือกมาช่วยรบ ปรากฏว่ามีกองทัพต่างชาติแบบนี้ที่มาช่วยสงคราม 10 ทัพด้วยกัน เป็นทัพที่มีคนไทย และช้างไทยเสีย 4 ทัพ นี่เป็นการกล่าวถึงคนไทยกลุ่มแรกที่มารบให้กษัตริย์พม่า เชียงใหม่ยอมแพ้อย่างรวดเร็ว และพระเจ้าบุเรงนองเสด็จกลับหงสาวดีเมื่อ [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2107]] เพราะขณะที่พระองค์เสด็จไปทำสงครามได้มีกบฏทาสขึ้นในนครหลวง
 
พระเจ้าบุเรงนองเริ่มการสงครามกับอยุธยาอีกครั้งเมื่อ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2111]] พระราชพงศาวดารหอแก้วเล่วต่อว่า เมื่อ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2112]] พระเจ้าพระมหาจักรพรรดิก็เสด็จสวรรคตและอยุธยาก็เสียกรุงเมื่อ [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2112]] ชาวอยุธยาจำนวนมากถูกจับไปหงสาวดี บุเรงนองทำสงครามจนถึง[[ลาว]] ปรากฏว่ามีทัพไทยจากอยุธยามีช้าง 300 เชือก ม้า 1,500 ตัว และไพร่พล 3 หมื่น ได้ร่วมรบกับกองทัพพม่าด้วย
 
มีคณะทูตจากกษัตริย์[[ศรีลังกา]]มาถึงเมือง[[พะสิม]] (Bassien) ของพม่า เมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2089]] ทูตชุดนี้ขอให้หงสาวดีส่งทัพไปปราบพวกเดียรถีที่ศรีลังกา พระเจ้าบุเรงนองทรงส่งทัพพร้อมด้วยทหาร 2,000 คนไป ปรากฏว่ากองทัพนั้นประกอบไปด้วย ชาวอยุธยา 100 คน พม่า 500 คน ชาวCassay (มาจาก[[อินเดีย]]เหนือ) 100 คน ชาวไจโท (Kyine Hto เป็นคนที่อยู่ติดกับพวก[[ไทใหญ่]]ใกล้[[จีน]]) 100 คน ฉานสะลอง (Shan Salon) 100 คน Si Khwin (ไม่ทราบ) 100 คน เตลง ([[มอญ]]) 500 คน ทหารเหล่าเป็นชายฉกรรจ์ เก่งกล้ามาก และเชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน เมื่อไปถึงศรีลังกา อริราชศัตรูของพระเจ้ากรุงศรีลังกาก็ตกใจกลัวยอมแพ้โดยง่ายดายโดยกองทัพพม่าไม่ต้องออกไปรบ