ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยฮัน เซบัสทีอัน บัค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 46:
ปรากฏการณ์นิยมแนวดนตรีใหม่นี้ก็เกิดกับ[[]]เช่นกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อ[[บารอน]]ฟาน สวีเทน ผู้หลงใหลใน[[ดนตรีบาโรค]]และมีห้องสมุดส่วนตัวสะสมบทเพลงบาโรคไว้เป็นจำนวนมาก ได้ให้[[โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท|โมซาร์ท]]ชมผลงานอันยิ่งใหญ่ของบาคบางส่วน ทำให้ความมีอคติต่อดนตรีบาโรคของ[[โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท|โมซาร์ท]]นั้นถูกทำลายไปสิ้น จนถึงขั้นไม่สามารถประพันธ์ดนตรีได้ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเขาสามารถยอมรับมรดกทางดนตรีของบาคได้แล้ว วิธีการประพันธ์ดนตรีของเขาก็เปลี่ยนไป ราวกับว่าบาคมาเติมเต็มรูปแบบทางดนตรีให้แก่เขา โดยที่ไม่ต้องละทิ้งรูปแบบส่วนตัวแต่อย่างใด ตัวอย่างผลงานของ[[โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท|โมซาร์ท]]ที่ได้รับอิทธิพลของบาคก็เช่น ''"เพลงสวดศพ[[เรเควียม]]"'' ''"[[ซิมโฟนี]]จูปิเตอร์"'' ซึ่งท่อนที่สี่เป็น[[ฟิวก์]]ห้าเสียง ที่ประพันธ์ขึ้นโดยใช้[[เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่างๆ]] รวมทั้งบางส่วนของ[[อุปรากร]]เรื่อง''"ขลุ่ยวิเศษ"''
 
[[ลุดวิกดวิจ ฟาน เบโธเฟนเบโทเฟน]]รู้จักบทเพลงสำหรับ[[คลาวิคอร์ด]]ของบาคเป็นอย่างดี จนสามารถบรรเลงบทเพลงส่วนใหญ่ได้ขึ้นใจ ตั้งแต่วัยเด็ก
 
สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว ความเป็นอัจฉริยะของบาคไม่ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน จนกระทั่งใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] อันเนื่องมาจากความพยายามของ[[เฟลิกซ์ เม็นเดลโซห์น]] ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีที่โบสถ์เซนต์โธมัส แห่งเมือง[[ไลพ์ซิก]] นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผลงานของบาคที่ยืนยงคงกระพันต่อการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมทางดนตรี ก็ได้กลายเป็นหลักอ้างอิงที่มิอาจหาผู้ใดเทียมทานได้ในบรรดาผลงาน[[ดนตรีตะวันตก]]