ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เคยถูกใช้พิมพ์บน[[ธนบัตรไทย]]แบบที่ 14 สกุล[[เงินบาท]] ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537<ref>ธนาคารแห่งประเทศไทย BOT. (2558). ธนบัตรแบบ ๑๔. Retrieved เมษายน 9, 2559, from เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย:https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/Banknote_Series14.aspx</ref> ​
 
ที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตรงกับทางเข้าด้านหน้าและ[[หน้าบัน]]ของหอประชุมจุฬาฯ เป็นการออกแบบตำแหน่งตามหลักการทาง[[ภูมิสถาปัตยกรรม]] (Landscape Architecture) โดยทำให้พื้นที่เปิดโล่งด้านหน้าเสาธงและหอประชุมจุฬาฯ มีจุดสนใจ (Focus Point) เป็นการส่งเสริม[[ภูมิทัศน์]]ให้อาคารหอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ พื้นที่เปิดโล่งบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์จึงมองเห็นได้ง่ายจาก[[ถนนพญาไท]]และกลายเป็นจุดสนใจของ[[เขตปทุมวัน]]และ[[กรุงเทพมหานคร]]ไปพร้อมกัน<ref>ขนิษฐานันท์, ก. (2549, มิถุนายน 22). ภูมิทัศน์อนุสาวรีย์ พระราชานุสาวรีย์ และพระบรมราชานุสาวรีย์. (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Interviewer) คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>
พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น พิธีปฐมนิเทศและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ พิธีถวายบังคมหลังรับพระราชทานปริญญาบัตรหรือถวายบังคมลา และเป็นสถานที่เคารพสักการะของนิสิต บุคคลากรและผู้มาเยือน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ่อยครั้ง ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่มหาวิทยาลัย<ref>ผู้จัดการออนไลน์ MGR. (2556, พฤษภาคม 30). เรื่องริม ม. Retrieved เมษายน 9, 2559, from ปฐมนิเทศจุฬา’56 นิสิตใหม่พร้อมเพรียง “ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬา” : http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064948</ref>
 
==ประวัติ==
ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาคมจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาจึงจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาล เพื่อรำลึกถึงพระผู้พระราชทานกำเนิดและพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมรำลึกเหตุการณ์ที่เป็นรากฐานของการ[[อุดมศึกษา]]ใน[[ประเทศไทย]] ทุนสนับสนุนการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์มาจากประชาคมจุฬาฯ<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.</ref> และประชาชนทั่วประเทศและได้รับความร่วมมือจากศิลปินหลายท่าน โดยมีประติมากรหลักคือไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ปั้นหล่อพระบรมรูป สุเทพ นวลนุช ประติมากรผู้ช่วยปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มานพ สุวรรณปิณฑะ ประติมากรผู้ช่วยปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จินตรัตน์ พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ดำเนินการหล่อพระบรมรูป มีบุคลากรจุฬาฯ จาก[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]]ร่วมออกแบบ โดยมี[[ภิญโญ สุวรรณคีรี]]และ[[เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี]]เป็น[[สถาปนิก]]ออกแบบฐานพระบรมราชานุสาวรีย์<ref>สุวรรณคีรี, ภ. (2549). thai-architecture . Retrieved เมษายน 9, 2559, from http://www.thai-architecture.com/: http://www.thai-architecture.com/download/pinyo_cv.pdf</ref> กี ขนิษฐานันท์เป็น[[ภูมิสถาปนิก]] ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ<ref>ศูนย์บริหารกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ . เรียกใช้เมื่อ 9 เมษายน 2559 จาก ศูนย์บริหารกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.cca.chula.ac.th/protocol/yensira/385-monument.html</ref>
 
==สถาปัตยกรรมและกายภาพ==