ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.Aek Peera (คุย | ส่วนร่วม)
Mr.Aek Peera (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
== วิวัฒนาการของเสือ ==
 
[[สัตว์]]ในกลุ่มเสือซึ่งหมายรวมถึงเสือและแมวทุกชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสิ่งที่มีชีวิตในวงศ์[[วงศ์เสือและแมว|ฟิลิดี]] เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]]ซึ่งมีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย มี[[ปอด]]ไว้สำหรับหายใจ [[หัวใจ]]มี 4 ห้องและมีลักษณะที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเมียมีเต้านมและน้ำนมไว้สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ซึ่งส่วนใหญ่การปฏิสนธิและเจริญเติบโตของลูกอ่อน จะเกิดขึ้นภายใน[[มดลูก]]ของตัวเมีย มีเขี้ยวที่ใช้ฆ่าเหยื่อ มี[[ฟันกราม]]ที่คมเหมือน[[มีด]]ไว้สำหรับตัดเนื้อ ซึ่งพัฒนามาจากฟันกรามที่ทำหน้าที่สำหรับบดเคี้ยว มีข้อต่อสำหรับ[[กระดูกสันหลัง]]ที่ยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง การเร่งความเร็วในการวิ่ง และการกระโจน มีนิ้วเท้า 5 นิ้วและ[[เล็บ]]แหลมคม
 
สัตว์กินเนื้อเริ่มปรากฏตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อต้น[[มหายุคซีโนโซอิก]] ({{lang-en|Cenozoic}}) หรือเมื่อประมาณ 65 ล้าน[[ปี]]ก่อน ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์กินเนื้อในยุคนี้ คือกลุ่มของสัตว์ที่เรียกกันว่าไมเอซิดี ({{lang-en|Miacidae}})<ref name=Polly>{{cite journal | author = Polly, David, Gina D. Wesley-Hunt, Ronald E. Heinrich, Graham Davis and Peter Houde | year = 2006 | title = Earliest Known Carnivoran Auditory Bulla and Support for a Recent Origin of Crown-Clade Carnivora (Eutheria, Mammalia) | journal = Palaeontology | volume = 49 | issue = 5 | pages = 1019–1027 | url = http://mypage.iu.edu/~pdpolly/Papers/Polly%20et%20al,%202006,%20Viverravus.pdf | doi = 10.1111/j.1475-4983.2006.00586.x}}</ref> ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ลักษณะลำตัวยาว มี[[หาง]]สั้น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาจากลำตัวและข้อต่อที่สามารถยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี ลักษณะของไมเอซิดีจะคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในปัจจุบันคือ [[จีเน็ต]] ({{lang-en|Genets}}) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์จำพวก[[ชะมด]] ({{lang-en|Civet}}) มีขนาด[[สมอง]]ที่เล็กและ[[กะโหลก]]แบน มีอุ้งเท้าที่กว้างและนิ้วเท้าที่แยกออกจากกัน อาศัยใน[[ป่า]] แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือไวเวอร์ราวิน ({{lang-en|Viverravines}}) และไมเอซิน ({{lang-en|Miachines}}) ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ใน[[หิน]]ที่มีอายุประมาณ 39 ล้านปี และในช่วงระยะเวลา 39 ล้านปีก่อนนี้เอง ปลาย[[สมัยอีโอซีน]] ({{lang-en|Eocene}}) ซึ่งต่อกันกับสมัยโอลิโกซีน ({{lang-en|Oligocene}}) เป็นช่วงเวลาที่สัตว์กินเนื้อปรากฏขึ้นบนโลกมากมายหลากหลายชนิด กระจายถิ่นฐานตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวางจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองโลกแทน[[ไดโนเสาร์]]ที่พึ่งจะสูญพันธุ์ไป<ref name="เสือ จ้าวแห่งนักล่า">ศลิษา สถาปนวัฒน์,ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, เสือ จ้าวแห่งนักล่า, สำนักพิมพ์สารคดี, 1995, หน้า 22</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เสือ"