ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระซู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tonypaph (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tonypaph (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 140:
=== กระซู่ในกรงเลี้ยง ===
[[ไฟล์:Sumatran Rhino.jpg|thumb|เอมีและฮาราปัน กระซู่สายพันธุ์ย่อย D.s. sumatrensis ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ]]
[[ไฟล์:Http://mongabay-images.s3.amazonaws.com/13/0515rhino01.jpg|thumbnail|Puntung กระซู่ชนิดย่อย D. s. harrissoni กำลังแช่ปลักในสถานเพาะเลี้ยง กระซู่ตัวนี้จับได้ในรัฐซาบาห์ ในปีพ.ศ. 2554 เพื่อเข้าโครงการอนุรักษ์ ]]
แม้จะหายาก แต่ก็มีการจัดแสดงกระซู่อยู่ในบางสวนสัตว์เกือบศตวรรษครึ่ง สวนสัตว์[[ลอนดอน]]ได้รับกระซู่ 2 ตัวในปี พ.ศ. 2415 หนึ่งในนั้นเป็นเพศเมียชื่อ บีกัม (''Begum'') จับได้ที่จิตตะกอง (Chittagong) ในปี พ.ศ. 2411 และมีชีวิตรอดได้ถึงปี พ.ศ. 2443 เป็นกระซู่ที่มีอายุมากที่สุดในกรงเลี้ยงที่มีบันทึกไว้ ในเวลาที่ได้รับกระซู่มานั้น ฟิลลิป สเคลเตอร์ (Philip Sclater) เลขานุการสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนอ้างว่ากระซู่ตัวแรกในสวนสัตว์เป็นกระซู่ที่อยู่ในสวนสัตว์[[ฮัมบูร์ก]]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ก่อนที่กระซู่ชนิดย่อย ''Dicerorhinus sumatrensis lasiotis'' จะสูญพันธุ์ มีกระซู่ชนิดนี้อย่างน้อย 7 ตัวในสวนสัตว์และโรงละครสัตว์<ref name=LitStud/> กระซู่มีสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่ดีนักเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ กระซู่ในสวนสัตว์[[โกลกาตา|กัลกัตตา]]ได้ให้กำเนิดลูกในปี พ.ศ. 2432 แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ไม่มีลูกกระซู่เกิดในสวนสัตว์อีกเลย ในปี พ.ศ. 2515 กระซู่ตัวสุดท้ายในกรงเลี้ยงได้ตายลงที่สวนสัตว์[[โคเปนเฮเกน]]<ref name=LitStud/> ประเทศไทยเองก็เคยนำกระซู่เพศเมียมาจัดแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย มีชื่อว่า ''ลินจง'' แต่ตายไปในปี พ.ศ. 2529<ref>The Star, 1986. "Rare rhino dies in Bangkok." Saturday, November 22 nd, 1986. Kuala Lumpur</ref><ref>L. C. Rookmaaker,Heinz-Georg Klös, "The rhinoceros in captivity", pp.135</ref>
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กระซู่"