ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดราชประดิษฐาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงผนวช'→'ผนวช'
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
วัดราชประดิษฐานเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เป็นราชธานี ตั้งอยู่ริมปากคลองประตูข้าวเปลือกฝั่งตะวันตก ภายในกำแพงพระนคร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างในรัชสมัยใด แต่วัดราชประดิษฐาน มีหมายความว่า วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง ดังนั้น จึงมีข้อสันนิษฐานว่า ผู้สร้างวัดนี้คงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแน่นอน
 
วัดราชประดิษฐานถูกกล่าวถึงพระราชราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง โดยเมื่อครั้ง[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]เสด็จสวรรคต [[พระยอดฟ้า]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในขณะที่มีพระชนมายุยังน้อย [[พระเฑียรราชา]]จึงอยู่ในฐานะที่อาจก่อความระแวงว่าจะแย่งชิงราชสมบัติได้ ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จออกผนวชที่วัดราชประดิษฐาน พระองค์ได้ลาผนวชและเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] หลังจากที่[[ขุนวรวงศาธิราช]]และ[[ท้าวศรีสุดาจันทร์ ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช|ท้าวศรีสุดาจันทร์]]ถูกปลงพระชนม์
 
หลังจากนี้ วัดราชประดิษฐานยังถูกกล่าวถึงเมื่อ[[พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)|พระศรีศิลป์]] พระราชโอรสใน[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]และ[[ท้าวศรีสุดาจันทร์ ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช|ท้าวศรีสุดาจันทร์]]มีพระชันษาได้ประมาณ 14 พรรษา [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]จึงทรงให้ออกผนวชเป็นสามเณร ณ วัดราชประดิษฐาน แต่พระศรีศิลป์ก่อขบถต้องปืนสิ้นพระชนม์เสียก่อน
 
นอกจากนี้ วัดราชประดิษฐานยังใช้เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]ในขณะที่พระองค์ผนวชเป็นพระภิกษุ หลังจาก[[เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]] วัดราชประดิษฐานถูกปล่อยร้างเรื่อยมา จนกระทั่ง [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนศรีสงครามเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี [[พ.ศ. 2460]] และได้รับพระราชทานวิสุงคามเมื่อวันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2497]]
 
== อ้างอิง ==