ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
{{เรซูเม}}
'''พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา'''
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/180/3.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ]</ref> อดีต[[วุฒิสมาชิก]]และ[[สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] เกิดเมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2470]] เป็นผู้มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในการพัฒนา[[การศึกษา|ระบบการศึกษา]]ของ[[ประเทศไทย]] บิดา คือ [[พระยาอิศรพงษ์พิพัฒน์]] (หม่อมหลวงศิริ อิศรเสนา) มารดาคือ ม.ล.สำลี อิศรเสนา (นามสกุลเดิม กุญชร) และเป็นหลานปู่ [[เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)|เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์]](หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง
การศึกษาเมื่อปี[[พ.ศ. 2479]] เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] เลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5270 ป.และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย เข้ารับการศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี[[พ.ศ. 2493]] ได้รับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ไฟฟ้า) (เกียรตินิยม)จาก[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]และในปีถัดมาในปี[[พ.ศ. 2494]]ได้รับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งสาขา และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา และในปี[[พ.ศ. 2497]]ได้รับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จาก[[สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์MIT ]] [[สหรัฐอเมริกา]] และในปี[[พ.ศ. 2529]]ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอให้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จาก[[คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]และในปี[[พ.ศ. 2535]] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอให้ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]รวมทั้งในปี[[พ.ศ. 2542]] ได้รับเกียรติจากทางวิทยาลัยโยนกเสนอให้ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ [[วิทยาลัยโยนก]]นับว่าได้รับเกียรติให้เป็นด๊อกเตอร์กิตติมศักดิ์จาก3แห่ง