ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนชลประทานวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Msioo147 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5998116 สร้างโดย Dolkungbighead (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
| เว็บไซต์ = http://www.cpw.ac.th
}}
'''โรงเรียนชลประทานวิทยา''' เป็น[[โรงเรียนเอกชน]]ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ[[จังหวัดนนทบุรี]] โดยมีกรมชลประทานเป็นเจ้าของ ตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ 1 [[ถนนติวานนท์]] ตำบล[[บางตลาด]] อำเภอ[[ปากเกร็ด]] จังหวัดนนทบุรี 11120 สังกัด[[สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน]] สังกัด[[เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2]]
โรงเรียนชลประทานวิทยา มีเนื้อที่ประมาณ 56 ไร่ มีอาคารเรียน 10 หลังและอาคารเรียนประกอบล้อมรอบสนาม[[ฟุตบอล]] และสนาม[[กรีฑา]] ผังของโรงเรียนท่านอาจารย์ประหยัด ไพทีกุล นำแบบอย่างมาจาก[[โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย]] จังหวัด[[เชียงใหม่]] ปัจจุบันโรงเรียนชลประทานวิทยามีนักเรียน 6,423 คน ชาย 3,339 คน หญิง 3,084 คน มีครู 305 คน มีห้องเรียนทั้งหมด 138 ห้องในปีการศึกษา 2551 และเพิ่มขึ้นเป็น 141 ในปีการศึกษา 2557 โดยโรงเรียนชลประทานวิทยาทำการสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอน 2 [[แผนการเรียน]]คือ
* แผนการเรียนที่ 1 แผนการเรียน[[วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์]]
* แผนการเรียนที่ 2 แผนการเรียน[[คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ]]
ปีการศึกษา 2553 นายวิทยา สมาหาร เป็นผู้จัดการ และนางประพิณพร เย็นประเสริฐ เป็นผู้อำนวยการ
 
==ประวัติ==
โรงเรียนชลประทานวิทยาเปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ [[2 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] โดยดำริของ[[หม่อมหลวงชูชาติ กำภู]] อดีตอธิบดี[[กรมชลประทาน]] และ[[รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของไทย|รัฐมนตรีช่วยว่าการ]][[กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ]] เนื่องจากในขณะนั้น กรมชลประทานกำลังดำเนินการก่อสร้าง[[เขื่อนเจ้าพระยา]] อยู่ที่จังหวัด[[ชัยนาท]] และมีโครงการที่จะก่อสร้าง[[เขื่อนภูมิพล]]ที่จังหวัด[[ตาก]] ในการนี้จะต้องมีการย้ายหน่วยงานบางหน่วยงานของกรมชลประทานจาก[[สามเสน]]มาอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด ทำให้ข้าราชการต้องย้ายสถานที่ทำงาน ท่านหม่อมหลวงชูชาติ กำภู มีความห่วงใยในเรื่องสถานศึกษาของบุตรหลานข้าราชการกรมชลประทาน จึงให้ท่านอาจารย์[[ประหยัด ไพทีกุล]] หัวหน้าแผนกอาณาบาลกรมชลประทานในขณะนั้น ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ [[20 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2498 การจัดตั้งโรงเรียนนั้นเต็มไปด้วยปัญหา เพราะเวลานั้นโรงเรียนต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนของ[[ปีการศึกษา]] 2498 ไปแล้วถึง 4 วัน (เปิดเรียนวันที่ [[16 พฤษภาคม]]) และการจัดตั้งโรงเรียนต้องขออนุญาตภายในเดือน[[กุมภาพันธ์]] โดยให้อาจารย์ประหยัด ไพทีกุลเป็นผู้จัดการโรงเรียน และอาจารย์โกศล ภาสวณิช เป็นอาจารย์ใหญ่
 
{{โครง-ส่วน}}
 
==รายละเอียดของอาคารเรียนในโรงเรียน (ปีการศึกษา 2550)==
[[ไฟล์:ตึกชูชาติวิทโยทัย.jpg|250px|thumb|left|ตึกชูชาติวิทโยทัย หรืออาคาร 1]]
* '''อาคาร 1 อาคารชูชาติวิทโยทัย''' เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 อาคารนี้เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถม 6 แต่ในปีการศึกษา 2550 ได้เปลี่ยนห้องเรียนบางส่วนเป็นของชั้นประถม 3 และมีห้องพยาบาลและ[[งานอนามัย]] อยู่ที่ชั้นแรก และมีห้องวิชาการ ห้องอาจารย์ใหญ่อยู่ชั้นบน รวมถึงห้องเรียนชั้นประถม 6 อีก 6 ห้อง
* '''อาคาร 2 อาคารชูชาติ อนุสรณ์''' เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อง พ.ศ. 2521 ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของชั้นประถม 5 เป็นส่วนใหญ่ และข้างๆอาคารนี้ก็จะเป็นโรงอาหาร 2 ไว้ให้นักเรียนมาซื้ออาหารรับประทานตอนกลางวันและก่อนกลับบ้าน
* '''อาคาร 3 อาคารประหยัด ไพทีกุล''' เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยชั้นล่างสุดเป็นโรงอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 2 และชั้น 3 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 3 ส่วนบริเวณด้านหน้าเป็นลานอเนกประสงค์ สำรหับจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
* '''อาคาร 4 อาคารชลประทานสามัคคี''' เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นอาคารเรียนของระดับชั้นมัธยมต้น เดิมชั้นมัธยมปลายก็เรียนอยู่ที่อาคารนี้ด้วย แต่ได้มีการย้ายไปเรียนที่อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ ในอาคารนี้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 5 อยู่ที่ชั้น 2
* '''อาคาร 5 อาคารอนุบาล''' เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 เป็นอาคารสำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัย ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง อนุบาล 2 และด้านหน้าอาคารมีลานสำหรับทำกิจกรรมนันทนาการตอนเช้า และมีเครื่องเล่นสนามสำหรับนักเรียนอนุบาล
* '''อาคาร 6 อาคาร 11 ห้อง''' เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
* '''อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์''' เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อยู่บริเวณด้านหน้า อาคารชูชาติวิทโยทัย (อาคาร 1)
* '''อาคาร 7 อาคาร 3 ห้อง''' เป็นอาคารประกอบชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 ในอดีตอาคารนี้เคยใช้เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 3 แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นอาคารโภชนาการ 2 (โรงอาหาร 2)
* '''อาคาร 8 เป็นอาคาร 24 ห้อง''' มี 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ชั้นแรกเป็นห้องเรียนสำหรับชั้นอนุบาล 3 และชั้นประถม 1-2 ส่วนชั้น 2 เป็นชั้นประถม 1 และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 - 4
* '''อาคาร 40 ปี ช.ป.ว.''' เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 มีห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 1 และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ชั้น 2 โดยมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทาง[[ชีววิทยา]] ห้องปฏิบัติการทาง[[ฟิสิกส์]] และห้องปฏิบัติการทาง[[เคมี]]
* '''อาคารเสื่อรำแพน ''' เป็นอาคารชั้นเดียว ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2546 ในอดีตเคยเป็นอาคารเก่าแก่ทรุดโทรม เมื่อได้ปรับปรุงใหม่ อาคารนี้เป็นส่วนของครูหัวหน้าช่วงชั้นที่ 3 - 4 และครูหัวหน้ากลุ่มสาระช่วงชั้นที่ 3 - 4 ที่ห้อง 01 ห้องพักครูที่ห้อง 02 ห้องอำนวยการพัสดุและห้องแนะแนวที่ห้อง 03 ห้องอาจารย์ภาษาต่างประเทศที่ห้อง 04 และห้องจริยธรรมช่วงชั้นที่ 3 - 4 ที่ห้อง 05
* '''อาคารประกอบ (อาคารดนตรี ศิลปะ และจริยธรรม)''' ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2550 เป็นอาคารประกอบ สำหรับการเรียนการสอนในวิชาดนตรีไทย - สากล นาฏศิลป์ ศิลปะ และจริยธรรมในช่วงชั้นที่ 1 - 2
* '''อาคาร 50 ปี ช.ป.ว.''' เริ่มสร้างประมาณปีการศึกษา 2547 และเปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้น 1 เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/10,11,12 ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุม 1 - 2 ห้องปฏิบัติการณ์ทางภาษาช่วงชั้นที่ 1 - 2 ด้านหน้าเป็นสนามบาสเก็ตบอล ถัดมาอีกเล็กน้อยคือสำนักปกครอง อาคารปกครองเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
* '''อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์''' เป็นอาคาร เรียน 6 ชั้น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ประมาณปีการศึกษา 2548 และเปิดใช้อาคารครั้งแรกในปีการศึกษา 2550 ในปีการศึกษา 2551 อาคารนี้ใช้ในการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในบางห้องและในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด โดยมีห้องพักครูบริเวณโถงลิฟท์โดยสาร มีหอประชุมและเวทีที่ชั้นล่าง [[ห้องปฏิบัติการทางภาษา]]ของช่วงชั้นที่ 3 - 4 หน้าอาคารเป็นสนามบาสเก็ตบอล 2 สนาม สนามวอลเลย์บอล 2 สนาม สนามแบทมินตัน 2 สนาม สนาม[[ตะกร้อ]]2 สนามและสนามฟุตซอลอีก 1 สนาม ด้านหลังอาคารเป็นลานจอดรถ โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอาคารนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้มากที่สุด โดยมีการจัดทำห้องสื่อการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมโดยรับสัญญาณจาก[[โรงเรียนวังไกลกังวล]] ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่มีอุปกรณ์และมาตรฐานทัดเทียมกับห้องปฏิบัติการในการเรียนในชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมอีก 2 ห้องรวมถึงฝ่ายอำนวยการต่างๆ ที่จะย้ายมาอยู่ที่อาคารหลังนี้
 
==ปรัชญา และวิสัยทัศน์ของโรงเรียน==
โรงเรียนชลประทานวิทยานั้นมี[[ปรัชญา]]ว่า
{{cquote|สุขภาพดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม}}
และมี[[วิสัยทัศน์]]ว่า
{{cquote|สร้างคนดีมี[[คุณธรรม]] น้อมนำความเป็นไทย ใส่ใจ[[สิ่งแวดล้อม]] พร้อมพัฒนาวิชาการ มุ่งสู่องค์กร[[แห่งการเรียนรู้]]}}
 
==คำขวัญและความหมายของคำขวัญ==
[[คำขวัญ]]ของโรงเรียนนั้นมีอยู่ว่า
{{cquote|ศักดิ์ ศรี สามัคคี และพิริยะ}}
ความหมาย :
* '''ศักดิ์''' หมายถึง ความภาคภูมิใจ
* '''ศรี''' หมายถึง ความดี ความสง่างาม
* '''สามัคคี''' หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
* '''พิริยะ''' หมายถึง บากบั่น มานะพยายาม
 
==สัญลักษณ์ของโรงเรียน==
สัญลักษณ์ของโรงเรียนชลประทานวิทยาคือพระวรุณ หรือ[[พระพิรุณ]] พระหัตถ์ขวาถืออาโภค พระหัตถ์ซ้ายถือบ่วงบาศพัดโบก ประทับบน[[เมฆ]]
 
===ความหมายของสัญลักษณ์ของโรงเรียน===
* พระวรุณ หรือ พระพิรุณ หมายถึง ตัวแทนของฝนเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของกรมชลประทาน
* เมฆ หมายถึง บ่อเกิดของน้ำทำให้เกิดความชุ่มฉ่ำเยือกเย็น
* บ่วงบาศพัดโบก หมายถึง สัญลักษณ์การพัดพาเอาความเย็นเข้ามาในโรงเรียน
[[ไฟล์:พระพิรุณ.gif|150px|thumb|สัญลักษณ์ของโรงเรียนชลประทานวิทยา]]
 
===กำเนิดพระวรุณหรือพระพิรุณ===
พระวรุณ มีหน้าที่เป็นโกลบาลปรัศจิมทิศ เป็นเจ้าฟ้าอยู่ทั่วไป มีมเหศวรศักดิ์ยิ่งเทพเจ้าอื่นๆ เป็นผู้สร้างและบำรุงทั้ง[[เทวโลก]]และ[[มนุษยโลก]] เกลียด[[ความเท็จ]] แต่เปี่ยมด้วยความ[[เมตตา]] [[กรุณา]] ฉะนั้นใครกล่าวเท็จหรือเสียสัญญาย่อมให้วรุณบาศคล้องไปลงทัณฑ์หรือบันดาลให้มีอาการป่วยไข้ แต่ถ้าใครอยู่ใน[[ความสัตย์]]หรือรู้สึกเกรงกลัวต่อบาปแล้ว จะบำเหน็จให้มีความสุขสวัสดิ์และช่วยให้พ้นมฤตยู พระวรุณไม่ได้เป็นใหญ่เฉพาะในการน้ำอย่างเดียว คือเป็นเทพเจ้าแห่ง[[ทะเล]]และ[[อากาศ]] ในตอนหลังๆ จะมีหน้าที่สำหรับเฉพาะน้ำ
รูปโฉมของพระวรุณ มี 4 กร (บางที่บอกว่ามี 6 กร) หัตถ์ขวาถือ[[อาโภค]] คือ [[ร่ม]]ที่ถูกน้ำไม่เปียกรูปคล้ายเศียรนาค หัตถ์ซ้ายถือบาศ คือ บ่วง มีผิวกายอันขาวผ่อง [[พาหนะ]]เป็น[[มังกร]] แต่บางแห่งเป็นรูป[[จระเข้]] รัศมีกายสีขาวเพราะเกี่ยวกับน้ำ
 
==ชีวิตในโรงเรียน==
{{โครง-ส่วน}}
 
==เว็บไซต์โรงเรียน==
* http://www.cpw.ac.th
* http://cpwboard.fix.gs/index.php
* http://ourcpw54.exteen.com เจ้าของบล็อก : ภานุชนารถ ยอดนิล
 
==ดูเพิ่ม==
* [[หม่อมหลวงชูชาติ กำภู]]
* [[ประหยัด ไพทีกุล]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{Geolinks-bldg|13.8991|100.50862}}
 
{{สถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี}}
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี|ชลประทานวิทยา]]
{{โครงสถานศึกษา}}