ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุรโยธน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 16:
 
ทุรโยธน์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนคติที่แตกต่างจากคนทั่วไปในยุคนั้น โดยเฉพาะเรื่องเหยียดผิวและชนชั้นวรรณะ เขารับกรรณะที่เป็นศูทรเป็นเพื่อนตายและยกแคว้นอังคะไห้ปกครอง เขาเปรียบกรรณะเป็นแม่น้ำ ความบริสุทธิ์ของแม่น้ำนั้นขึ้นอยู่กับน้ำที่ใสสะอาด หาได้มาจากแหล่งที่มา นอกจากนั้นเขายังได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักการทูตที่นิยมสร้างไมตรีมากกว่าทำสงคราม การท้ายุธิษฐิระเพื่อพนันสกาเอาบ้านเอาเมืองแทนที่จะประกาศสงครามโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด แม้ทุรโยธน์จะทำเรื่องชั่วร้ายบ้างแต่เขาทำเพื่อโจมตีฝ่ายปาณฑพที่เป็นศัตรูฝ่ายเดียว ในขณะที่ฝ่ายปาณฑพกลับมีปัญหากับหลายฝ่าย ทั้งกับเทวดา ทั้งปีศาจ ทั้งนาค แม้แต่สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ทุรโยธน์กลับมีพระราชาจากแคว้นต่างๆมาไห้การช่วยเหลือมากกว่าฝ่ายปาณฑพ
(ไม่เห็นด้วยนะครับ ข้อแรก ถ้ากรรณะถือคฑามาท้าทุรโยชน์ในงานประลองแสดงฝีมือหลังจากเหล่ายุวกษัตริย์สำเร็จการศึกษา ทุรโยชน์จะยกกรรณะเป็นกษัตริย์หรือไม่ หรือจะรับการประลองจากประชาชนของตน ข้อสอง การบีบคนที่มีสัจจะให้ยอมรับการแพ้พนัน ซึ่งสภาพสังคมกษัตริย์ กษัตริย์ไม่อาจไม่รับคำท้าได้ ปัจจุบัน ศาลยุติธรรมยอมรับบังคับหนี้พนันหรือ การที่ปาณฑพยอมรับอยู่ป่า ๑๒ ปี คือการออกบวชดีๆ นี่เอง ถามว่าคนไม่มีเมือง ไม่มีเงิน กับคนมีเมือง มีเงิน ใครจะเข้าหามากกว่ากัน ที่ฝ่ายปาณฑพพอจะมีราชามาร่วมเพราะความรู้ ความสามารถ และชื่อเสียงในอดีตต่างหาก เวลาพูดถึงทุรโยชน์ทุกคนรับกันว่าเป็นพระจักรพรรดิ์เพราะกรรณะ ไม่ใช่เพราะทุรโยชน์เป็นเองได้ และการที่ฝ่ายปาณฑพสามารถเป็รจักรพรรดิ์ได้โดยเอาชนะกองทัพที่มากกว่าสองเท่าก็เพราะพระกฤษณะ ถ้าจะชมเชยจิตใจทุรโยชน์ได้ใจกรรณะ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในความเป็นจริงอรชุนเป็นที่รักของพระกฤษณะเช่นกัน ถ้าจะเถียงว่าเพราะเป็นญาติใกล้ชิดมากกว่า แล้วเหตุใดทุรโยชน์เอาใจพลรามแต่เอาใจกฤษณะไม่ได้ และแม้จะตัดเรื่องทักษะการซื้อใจคนออกไป อรชุนก็เหนือกว่าในการสร้างชื่อและขยายอาณาจักรแคว้นกุรุ มันน่าสงสัยที่อินทรปรัศเมืองของปาณฑพก็จัดเป็นแคว้นกุรุ พวกวงศ์กุรุ แล้วทุรโยชน์คนในวงศ์กุรุมาทำพิธีราชสูยะซำ้อีก ก็ต่อเมืองต่างๆ ที่สยบต่ออรชุนไปแล้ว เมืองเหล่านั้นจะมาแข็งเมืองอีกเมื่อกรรณะยกทัพไปอีกหรือ ข้อสาม ยกยอกรรณะมากๆ บอกว่ากว่าจะฆ่าได้ต้องใช้ทุกวิถีทาง เลยมาสรุปว่าเก่งกว่าอรชุน แต่ว่าในท้องเรื่องมาท้าอรชุนด้านธนู แต่บอกว่าจะชนะเพราะอาวุธ หอก (หอกที่อวยกันเป็น หอกศักติ ของมหาเทพ) แต่อรชุนเวลาจะเอาชนะใคร ใช้เพียงธนู หอกจึงเป็นแค่อาวุธลับเท่านั้นในความเป็นจริง เมื่อใช้แล้วก็ไม่อาจใช้ได้อีกเพราะเมื่อทุกคนรู้ว่า ใช้อาวุธลับใดมันก็ไม่ลับแล้ว การมีอาวุธลับ จัดว่าเป็นอาวุธชั้นต่ำ คือ หอกเป็นของสูง ถ้าใช้ตรงไปตรงมา แต่ทักษะที่ฝึกเอาเป็นไม้ตายในขณะที่รบหรือจะประชันด้านธนู มันต้องเรียกว่า นึกไม่ถึง ฉนั้น เมื่อกรรณะใช้หอกศักติด้วยทักษะพิเศษแล้ว จึงเปิดเผยแล้ว เวลากรรณะมาท้าอรชุน มาท้าด้านธนู แต่พอในสนามรบกลับคิดเอาชัยด้วยไม้ตายคือ หอกศักติ มันจะมีศักดิ์ศรีอะไร เพราะอีกฝ่ายคือ อรชุนย่อมคิดว่า กรรณะจะต้องใช้ธนูเอาชนะจึงจะได้ชื่อว่า มาท้าประลองธนู แปลว่า กรรณะไม่สนใจเรื่องศักดิ์ศรีมือธนูแล้ว สนใจแค่หาวิธีเอาชนะอรชุนด้วยวิธีคดโกงเช่นกัน เพื่อทุรโยชน์ แล้วอรชุนล่ะ มีศักดิ์ศรีไหมที่ยิงธนูในขณะกรรณะเสียเปรียบ คำตอบ คือ อรชุนยกทุกอย่างให้กฤษณะหมด ขอแค่มีเพื่อนทางใจ เพราะกฤษณะจะไม่รบ ขนาดเสนอแผนอะไรมา อรชุนก็ไม่เห็นด้วย ห้ามไม่ให้กฤษณะรบถึงสองครั้ง แถมยังตำหนิกฤษณะในบางเรื่องที่ตนไม่เห็นด้วย การที่อรชุนยิงใส่กรรณะในสภาพเสียเปรียบโดยกรรณะอยู่บนพื้นดินไม่ใช่รถม้าเพราะอรชุนเห็นด้วยกับเหตุผลที่ว่า ความจริงนี่คือสงครามที่โหดร้าย มันไม่ใช่งานประลองเพื่อพิสูจน์ว่าใครเลิศกว่าใคร มันแค่การฆ่ากัน เหมือนที่กรรณะไม่กล้ารับคำท้าประลองของอภิมันยุบุตรชายอรชุนด้วยการประลองธนูแต่แอบยิงธนูจากด้านหลังอภิมันยุ นั้นแสดงว่ากรรณะขาดความเชื่อถือในฝีมือด้านธนูของตัวเอง และทำเพียงการฆ่าเท่านั้น แล้วถามว่าตลอดเวลา ๑๓ ปี ใครเลี้ยงอภิมันยุ พระกฤษณะรักอภิมันยุมากเหมือนลูกตนเอง คำพูดนั้นแสดงให้เห็นว่าเจ็บปวดกับการกระทำของกรรณะที่ร่วมกับคนอื่นรุมฆ่าอภิมันยุหลานตัวเอง อรชุนรับรู้เช่นนั้นด้วยใจและปัดเป่าความทุกข์ของกฤษณะด้วยใจเช่นกัน เพราะกฤษณะก็รับรู้ทุกข์ของอรชุนด้วย อรชุนจึงยิงธนูดอกนั้น ด้วยจิตใจที่บริสุทธฺ์ไม่ใช่เพราะเกลียดกรรณะ ไม่ใช่เพราะต้องการทำผิดกติกา แต่เพราะรู้ว่านี่คืิอการตอบแทนความรักของกฤษณะที่มีต่ออรชุนและอภิมันยุ เพราะมันเป็นตัวอย่างว่า ระหว่างอรชุนกับกฤษณะมันคือมิตรภาพอันบริสุทธฺ์ แต่ระหว่างกรรณะกับทุรโยชน์ กรรณะมีแต่ทำให้ทุรโยชน์พึงพอใจ และไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษเพราะด่าทราปตีว่า นังแพศยา ซึ่งสุภาพบุรุษไม่ควรกล่าวแม้สตรีนั้นจะเป็นหญิงโสเภณี เพราะต้องการเอาใจ แล้วเหตุใดต้องเอาใจล่ะ แม้กรรณะจะต้องการตอบแทนทุรโยชน์แต่มันอยู่บนพื้นฐานการได้อำนาจและทรัพย์มา มิตรภาพบนกองเงินไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบอรชุนกับกฤษณะที่เป็นเพื่อนกันซึ่งไม่ได้คิดถึงการให้หรือการตอบแทนในฐานะผู้รับหรือผู้ทดแทน ถ้าไม่ได้ตำแหน่งกษัตริย์มาจากทุรโยชน์ กรรณะจะต้องทำอะไรให้ทุรโยชน์พึงพอใจ ความจริง การท้าอรชุนประลองธนูตั้งแต่ยังเยาว์วัยในฐานะที่ตนเป็นประชาชนเท่านั้น แล้วต่อมา ก็มาผูกอาฆาตอรชุน อย่างไม่มีสาเหตุ กรรณะก็คือ คนที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนพ่อค้าเพชร ที่สามารถอาฆาตพ่อค้าเพชรคนอื่น เป็นคนที่อิจฉาริษยาเหมือนทุรโยชน์แค่นั้นเอง ถ้าอรชุนมีด้านมืดเรื่องเอกลัพย์ที่มีบทบางตำนานว่าให้โทรณาจารย์ตัดหัวแม่มือ แต่นั้นก็ตอนเด็ก แต่กรรณะมีด้านมืดที่คอยจ้องล้างผลาญอรชุนแบบไร้เหตุผลตั้งแต่แรก เพียงเพราะอรชุนเลือกวิชาธนูเป็นเอก เหมือนกรรณะแค่นั้น จิตใจกรรณะนั้น ไม่นึกถึงใจใคร (อรชุน) คิดจะท้าประลองก็ท้าประลอง โดยไม่นึกถึงผลที่จะตามมาว่า อรชุนจะรู้สึกอย่างไรถ้าแพ้ แต่ความจริงแล้วความอาฆาตของกรรณะที่มีต่ออรชุนมันคือ ความอิจฉาที่มีเกินจากความทะเยอทะยานและเห็นแก่ตัวเอง และเลยเถิดกลายเป็นบุรุษชั่วร้ายเพราะทุรโยชน์ ความจริงทุรโยชน์ไม่อาจเอาชนะยุธิษฐีระในด้านการเมือง การปกครอง ด้านตัดสินคดี ไม่อาจเอาชนะภีมะด้านคฑา ไม่อาจเอาชนะอรชุนเพราะบัญชากองทัพไม่เก่งเท่ารวมทั้งการรบก็พ่าย ไม่หล่อรูปงามเท่านุกุล ไม่มีมารยาทงามเท่าสหเทพ แต่ที่เอาชนะเพราะโกงทุกชนิด โดยที่ฝ่ายปาณฑพไม่เคยโกงจนเสียเปรียบมากมาย ยอมเป็นคนในป่า ๑๒ ปี คนที่ชื่นชมทุรโยชน์กลับคิดว่ายุติธรรม ยุติธรรมคือเท่าเทียม เหมือนน้ำหนักนักมวยที่ชั่งนั้นแหละ ที่ทุรโยชน์พอมีชื่อเสียงเพราะปู่ภีษมะถือสัจจะต่อวงศ์กุรุ โทรณาจารย์ถือเป็นหนี้บุญคุณวงศ์กุรุ และที่เอาชนะภีมะ เพราะภีษมะปู่ยังสงสารภีมะที่อยู่ป่าจนซูบผอม ถ้าเป็นสภาพเดิมก่อนออกป่าทุรโยชน์ไม่ปรากฎว่าเก่งคฑาเหนือภีมะ แต่มาเหนือตอนหลังจากภีมะต้องอยู่อย่างผู้ออกบวช ไม่ใช่อย่างราชาที่ทุรโยชน์เป็นอยู่และฝึกทุกวัน มีคนให้มาฝึกทุกวัน น่าขำที่ตอนเริ่มสงครามทุรโยชน์มีกองทัพจำนวน ๑๑ อักเษาสินี มากกว่าฝ่ายปาณฑพถึง ๔ อักเษาสินี (ปาณฑพมี ๗ อักเษาสินี) แต่ทุรโยชน์ไม่กันกองทัพกับทหารออก แต่พอเหลือปาณฑพ ๕ คน กับทุรโยชน์คนเดียว (คนที่เหลือฝ่ายเการพ อีกสามคนหนีไป และทำตัวเป็นแค่ฆาตรกรหรือโจรป่า) ทุรโยชน์ยังเรียกหาความเป็นธรรมจากยุธิษฐิระอีก ทั้งที่ ถ้าเป็นคนสมัยนี้ ห้าคนที่ว่าแค่อรชุนยิงธนูก็หัวขาดแล้ว หรือจะทรมานแบบยิงเป็นพันดอกก็ได้ ยุธิษฐิระซึ่งมีใจเป็นธรรมยังยอมให้ทุรโยชน์สู้หนึ่งต่อหนึ่ง ทุรโยชน์กลับไม่ละอายใจเลยว่า ทีเวลาตนเหนือกว่ามีกองทัพมากไม่เห็นลดทอนจำนวนกองทัพ ไม่ให้เวลาอีกฝ่ายกลับมาฝึกฝนอย่างคนที่มีเมืองแล้วอย่างตนเอง แต่ยังหวังให้ตนเองได้รับความเป็นธรรมจากคนที่ตนเองยัดเยียดความอยุติธรรมให้ แม้กระทั่งเล่นพนันสกาก็เจ้าเล่ห์ใช้กลแหย่เกียรติของยุธิษฐิระจนตกหลุมพรางเกียรติ์ของตน(คนย่อมหลงตัวเองทั้งนั้น) จนยอมแข่งกับศกุนิ(ฝ่ายทุรโยชน์เยินยอยุธิษฐิระว่าเล่นเก่งด้วย) อ่านมาทั้งเรื่องทุรโยชน์ดีแต่ปากจริง ใช้ปากใช้คนอื่นทำทุกอย่าง ตอนรบแพ้ยังหนีหลบใต้น้ำอีก แล้วกล่าวหาว่าอีกฝ่ายผิดกติกาไม่เป็นธรรม ทุรโยชน์โกงทั้งอาศัยความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นคนดีของปาณฑพ โกงเวลา โกงจำนวนคนที่รบโดยอาศัยชื่อเกียรติภูมิของปาณฑพมาอาศัยประโยชน์ แล้วมาอ้างว่าไม่อยากก่อสงครามตามที่วิจารณ์ ไปอ่านใหม่ซะว่าปาณฑพมันรบเพราะอะไร เพราะทุรโยชน์รักสงบหรือ คนที่ริษยาอยากได้บ้านเมืองของญาติตน คนที่อิจฉาคนที่สภาวงศ์กุรุเห็นชอบให้เป็นยุพราชยุธิษฐิระจนวางแผนเผาแม้กระทั่งพระนางกุนตี ญาติผู้ใหญ่ เรียกคนเช่นนี้ว่า คนรักสันติภาพ ไม่อยากให้เกิดสงคราม หรือ และเมื่อกลับมาแทนที่จะเวนคืนตำแหน่งพระยุพราชให้ยุธิษฐิระ กลับให้ป่าที่แห้งแล้งกันดารเป็นเมืองของปาณฑพ โอ้ พ่อทุรโยชน์ผู้ยุติธรรม รักสันติภาพ และพอปาณฑพสร้างและพัฒนาที่ดินแห้งแล้งได้จนเจริญกว่าหัสตินาปุระ กลับอยากได้ โอ้ ทุรโยชน์คนดีไม่อยากรบ แล้วมีตรงไหนที่ปาณฑพอยากรบ ถ้าไม่ใช่เพราะความชั่วช้า อยุติธรรม และใคร่กระหายบ้านเมืองคนอื่นของทุรโยชน์(คนที่อยากก่อสงครามก็เพราะเหตุนี้) ขอแค่ห้าตำบลหรือห้าหมูบ้านยังไม่ให้ นี่หรือนักการฑูต ทุรโยชน์นี่เรียกว่า คนสร้างสงคราม ซึ่งถ้าวิจารณ์อย่างนี้ ตรงกับประวัติศาสตร์อันประพันธ์โดยวยาสมกกว่า )