ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquarisces (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของ[[สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 ต่อมาแนวเส้นทางส่วนต่อขยายช่วงบางกะปิ-มีนบุรี ได้แยกออกไปเป็นเส้นทาง[[รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล]]เมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่จากการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2552 จึงได้นำกลับมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-มีนบุรีอีกครั้งหนึ่ง โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]] ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มกลายเป็นตลิ่งชัน-มีนบุรี และในพ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน|สายสีแดงอ่อน]]ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์-มีนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการแก้ไขเส้นทาง ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มถึงตลิ่งชันอีกครั้ง <ref>http://www.thairath.co.th/content/region/340161</ref>
 
ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วง[[สถานีบางขุนนนท์|บางขุนนนท์]]-[[สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย|ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]] และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-[[เขตบางกะปิ|บางกะปิ]]-[[เขตมีนบุรี|มีนบุรี]]<ref name="M-MAPSEMINAR3"/> ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล โดยจะเริ่มก่อสร้างเส้นทาง มีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการสูงขึ้น '''โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเตรียมการประมูลงานก่อสร้างในช่วงแรกภายในปี พ.ศ. 2558 ตามแผนงานเร่งด่วนของ[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ|คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]'''
 
ต่อมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565<ref>http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135400</ref>
 
== รูปแบบของโครงการ ==
เส้น 271 ⟶ 273:
* ช่วงปี พ.ศ. 2551 ในรัฐบาล[[นายสมัคร สุนทรเวช]] รฟม. ได้เสนอเส้นทางช่วงบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อสร้างเป็นช่วงแรก เพื่อขยายโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วออกสู่ย่านบางกะปิ<ref>'''รฟม. ชงรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงแรก 12 กม.แสน ล.''' มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551</ref> โดยชั้นชานชาลาของสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ได้ออกแบบให้มีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์เพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะช่วยรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเฉลี่ย 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน<ref name="than05022009"/>
* การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่มี[[นายสมัคร สุนทรเวช]] นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้า 9 สายขึ้น โดยกำหนดให้เส้นทางรถไฟฟ้าศาลายา-มีนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ที่เกิดจากการรวมเส้นทางสายสีน้ำตาลช่วงบางกะปิ-มีนบุรี, สายสีส้มช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และสายสีแดงอ่อนช่วงบางบำหรุ-ศาลายาเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ที่จะเริ่มประกวดราคาในปี พ.ศ. 2552<ref>'''วันที่รอคอย รถไฟฟ้า "สมัคร 1" เปิดหวูดเฟสแรก 7 เส้นทาง 3 แสนล้าน''' ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551</ref> แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้นในเวลาดังกล่าว ขณะที่เส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ของ รฟท. ที่ทับซ้อนกับเส้นทางช่วงบางบำหรุ-ศาลายาได้เริ่มการประกวดราคาไปก่อนหน้านั้นแล้ว
* วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดย'''ให้เส้นทางสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 10 ปี (เปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2562) '''
* วันที่ [[11 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2553]] นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน อาจจะแบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง เนื่องจากช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว แต่ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน มีการปรับแนวเส้นทางใหม่จึงต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกประมาณ 1-2 ปี
* วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ-บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
* วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในเส้นทางตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ให้สามารถดำเนินการได้ในปีพ.ศ. 2555 เนื่องจากมีความพร้อมในการดำเนินการ และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว<ref name="matichon online">[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310002819&grpid=03&catid=&subcatid= คมนาคมพร้อมชงครม.ใหม่ เดินหน้ารถไฟฟ้าสารพัดสี ทั้งสีส้ม ชมพู เหลือง]</ref>
* วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้เสร็จภายใน 7-8 ปี ทุกสายทางจะเริ่มต้นก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปีนี้ โดยสำหรับสายสีส้มจะสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ก่อนเพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดิน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นจึงน่าจะเริ่มต้นดำเนินการไปได้หลังจากปีพ.ศ. 2558 ไปแล้ว<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314757390&grpid=&catid=05&subcatid=0504 เพื่อไทยรื้อแผนปชป. ตัดทิ้งรถไฟฟ้า2สาย เส้นวัชรพล-พระราม9 และดินแดง-ยศเส สีส้มตัดระยะทางเหลือ 20 ก.ม.]</ref>
* วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535<ref>[http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=113732:2012-03-23-02-57-17&catid=128:-real-estate-&Itemid=478 'จารุพงศ์'ย้ำสร้างมูลค่าเพิ่มแนวรถไฟฟ้า]</ref>
*ล่าสุด เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทาง[[สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์]] ปลัดกระทรวงคมนาคม เตรียมจะเสนอโครงการนี้ให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจจารณาภายในสิ้นปีพ.ศ. 2557และเปิดประมูลช่วงต้นปีพ.ศ. 2558
* วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ให้เตรียมกระบวนการประกวดราคาภายใน 6 เดือน และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยมีประมาณการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565<ref>http://www.posttoday.com/biz/gov/403973</ref><ref>http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135400</ref> พร้อมทั้งได้ให้แนวทางเพิ่มเติมให้ออกแบบงานก่อสร้างแบบประหยัด และเน้นการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในส่วนที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจในประเทศรองรับการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบรางในอนาคต<ref>http://www.thairath.co.th/content/546386</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==