ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟรงก์ แลมพาร์ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 48:
'''แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด''' โอบีอี ({{lang-en|Frank James Lampard OBE}}) เป็น[[นักฟุตบอล]][[ชาวอังกฤษ]] ปัจจุบันเล่นให้กับ[[แมนเชสเตอร์ซิตี]]ใน[[พรีเมียร์ลีก]] โดยเขาเป็นลูกชายของ[[แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)]] อดีตนักเตะทีมชาติอังกฤษของเวสต์แฮมยูไนเต็ด
 
ลาวมาก
== ประวัติ ==
'''แฟรงก์ แลมพาร์ด''' มีชื่อเต็มว่า '''แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด'''<ref name="PFA 358"/> เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่กรุง[[ลอนดอน]] ในตระกูลนักฟุตบอล โดยพ่อของเขาคือ [[แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)]] เป็นอดีตกองหลัง[[ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ|ทีมชาติอังกฤษ]] ลุงของเขาคือ [[แฮร์รี เรดแนปป์]] ปัจจุบันเป็นผู้จัดการ[[สโมสรฟุตบอลควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส]] และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ [[เจมี เรดแนปป์]] เป็นอดีตนักเตะของ[[สโมสรฟุตบอลเซาแทมป์ตัน|เซาแทมป์ตัน]]เช่นเดียวกัน
 
การศึกษาจบจาก[[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] เขาเป็นหนึ่งในอดีตนักเตะเยาวชนของ [[สโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด|เวสต์แฮมยูไนเต็ด]] และเคยถูกยืมตัวไปเล่นกับ [[สโมสรฟุตบอลสวอนซีซิตี|สวอนซีซิตี]] ใน ค.ศ. 1995 และย้ายมาร่วมสโมสร [[สโมสรฟุตบอลเชลซี|เชลซี]] ใน ค.ศ. 2001 ติดทีมชาติอังกฤษครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1999 และยังเป็นมิดฟิลด์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมาก แม้ว่าผลงานในตอนนี้จะแผ่วลงไปบ้าง ไม่ว่าจะกับทีมต้นสังกัดหรือทีมชาติอังกฤษ จากที่มีข่าวคราวว่าเล่นไม่เข้าขากับ[[สตีเวน เจอร์ราร์ด]] กัปตันทีมลิเวอร์พูล น่าแปลกใจที่ทั้งสองเคยสนิทกัน แต่แม้กระทั่งงานแต่งงานของเจอร์ราร์ด ก็ไม่มี แลมพาร์ด ในงานเลี้ยงนั้น เมื่อ 22 มิถุนายน 2007 ที่ผ่านมา แลมพาร์ดเป็น[[กองกลาง]]ที่ทำประตูได้ 200 ประตู ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร และเป็นกองกลางคนที่สองต่อจาก[[แมธทิว ทริสเซอร์]] ที่ทำประตูมากว่า 100 ประตูใน[[พรีเมียร์ลีก]] นอกจากนี้ แลมพาร์ดยังทำสถิติเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูใน[[พรีเมียร์ลีก]]มากกว่า 10 ประตูติดต่อกันถึง 9 ฤดูกาลอีกด้วย
แฟรงก์ แลมพาร์ด เริ่มต้นอาชีพฟุตบอลกับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด โดยลงเล่นกับทีมเยาวชนตั้งแต่ ปี 1993 และสร้างผลงานได้ดีพอสมควร โดยเขายังเป็นลูกชายของ[[แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)]] ผู้ช่วยคนสำคัญของ[[แฮร์รี เรดแนปป์]] กุนซือของเวสต์แฮมในขณะนั้นซึ่งเป็นลุงของเขา
 
'''1994/1995'''
เซ็นสัญญาเป็นนักเตะกับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด แต่เขาก็ยังไม่ได้ลงเล่นในชุดใหญ่ โดยลงเล่นในทีมสำรองของสโมสรอื่น
 
'''1995/1996'''
แล้วโอกาสสัมผัสเกมกับทีมชุดใหญ่ก็เกิดขึ้นในฤดูกาลนี้ โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในเกมพรีเมียร์ชิพ และเขาลงเล่นให้เวสต์แฮม 2 นัดก็ถูกปล่อยตัวให้[[สโมสรฟุตบอลสวอนซีซิตี|สวอนซีซิตี]] ทีมในดิวิชัน 2 ยืมตัวไปใช้งาน โดยลงเล่นกับสวอนซี 9 นัด ทำได้ 1 ประตู
 
'''1996/1997'''
หลังจากกลับมาจากการยืมตัวเขาก็ได้ลงเล่นให้ทีมมากขึ้นในฤดูกาลต่อมา โดยลงเล่นอีก 13 นัด แต่ก็มาโชคร้ายกระดูกขาขวาแตกในนัดปะทะกับ[[แอสตันวิลลา]] ทำให้ต้องพักยาว
 
'''1997/1998'''
กลับมาเล่นให้ทีมอีกครั้ง โดยยึดตำแหน่งตัวจริงได้สำเร็จ และลงเล่นทั้งหมด 31 นัด ทำได้ 4 ประตู กลายเป็นมิดฟิลด์ดาวรุ่งขวัญใจกองเชียร์ทีมขุนค้อน จากผลงานอย่างต่อเนื่องกับ[เวสต์แฮม]ทำให้เขามีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดเล็ก
 
'''1998/1999'''
ยังคงเล่นกับ[เวสต์แฮม]อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ผลงานของทีมจะไปได้ไม่ไกลนัก แต่ชื่อของแฟรงก์ แลมพาร์ดก็เริ่มเข้าไปอยู่ในใจของบรรดากุนซือทั้งหลาย โดยเขาลงเล่นให้[เวสต์แฮม] 38 นัด ทำได้ 5 ประตู
 
'''1999/2000'''
ฤดูกาลนี้เวสต์แฮมผ่านเข้าไปเล่นยูฟ่าคัพ โดยผ่านการคัดเลือกจากถ้วยอินเตอร์โตโตคัพด้วย ซึ่งแลมพาร์ดก็ยังเล่นให้ทีมอย่างต่อเนื่อง โดยเขาลงเล่นทั้งสิ้น 34 นัด ทำได้ 7 ประตู และเขาก็มีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ โดยเขาลงเล่นครั้งแรกในนัดกระชับมิตรกับเบลเยียมที่สเตเดียมออฟไลต์ (สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์) ในวันที่ 10 ตุลาคม 1999
 
'''2000/2001'''
เขาเป็นนักเตะที่ผลงานคงเส้นคงวามากที่สุดคนหนึ่งในพรีเมียร์ชิพ โดยปีนี้เขาลงเล่น 30 นัด ทำได้ 7 ประตู แต่ผลงานของทีมก็ไม่น่าประทับใจนัก ซึ่งหลังจบฤดูกาลมีหลายทีมต่างให้ความสนใจในตัวเขา และก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในทีม พ่อและลุงของเขาถูกสโมสรไล่ออก ทำให้เขาเริ่มไม่มีความสุขกับทีมต้นสังกัด และก็เป็นกุนซือ [[เกลาดีโอ รานีเอรี]] ของเชลซีที่เสนอเงิน 11 ล้านปอนด์เพื่อซื้อตัวเขาไปร่วมทีม
 
'''2001/2002'''
เขากลายมาเป็นนักเตะของเชลซีโดยเซ็นสัญญาในวันที่ 14 มิถุนายน 2001 ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ และเริ่มต้นชีวิตการค้าแข้งที่ท้าทายใหม่อีกครั้ง โดยเขาลงเล่นเป็นกองกลางเคียงข้างกับ[[แอมานุแอล เปอตี]] ซึ่งถือว่าเป็นคู่กองกลางที่แข็งแกร่งมาก เขาพาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ[[เอฟเอคัพ]]ในฤดูกาลแรกของทีมสิงโตน้ำเงินคราม แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อนัดชิงพ่ายกับ[[อาร์เซนอล]] ซึ่งฤดูกาลนี้เองที่[[อาร์เซนอล]]คว้าดับเบิลแชมป์เป็นครั้งที่สอง โดยแลมพาร์ดลงเล่นในลีกทั้งสิ้น 37 นัด ทำได้ 5 ประตู และ 1 ประตูจาก 4 เกมในยูฟ่าคัพ ถึงแม้ว่าฤดูกาลนี้เขาจะโชว์ผลงานได้ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่มีชื่อติดทีมชาติไปร่วมฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่น
 
'''2002/2003'''
จากความผิดหวังที่ไม่ได้ร่วมทีมไปฟุตบอลโลกทำให้เขาตั้งใจเล่นมากขึ้นกว่าเดิม และพยายามอย่างยิ่งที่จะไปยึดตัวจริงในทีมชาติอังกฤษ ซึ่งเขาก็ทำได้ดีเลยทีเดียวโดยพาทีมคว้าอันดับ 4 ของลีก แย่งตำแหน่งการไปเล่น[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]]ให้ทีมได้สำเร็จ โดยฤดูกาลนี้เขาลงเล่นในลีก 38 นัด ทำได้ 6 ประตู และ 1 ประตูจาก 2 เกมในยูฟ่าคัพ จากผลงานที่ดีวันดีคืนของเขาทำให้เขามีโอกาสก้าวขึ้นไปติดทีมชาติบ่อยครั้งขึ้น
 
'''2003/2004'''
ปีนี้เขาโชว์ฟอร์มได้ดีพอสมควร ทั้งในนามทีมชาติ และกับสโมสรโดยเขาลงเล่นในลีก 38 นัด ทำได้ 10 ประตู และ 4 ประตูจาก 14 เกมในยูฟ่าแชมเปียนลีก เขาได้รางวัลอันดับ 2 นักเตะยอดเยี่ยมของ PFA โดยเป็นรองตีแยรี อ็องรี นักเตะระดับโลกของ[[อาร์เซนอล]] และปีนี้เองเขายังทำประตูในนามทีมชาติเป็นครั้งแรกในนัดกระชับมิตรพบกับโครเอเชีย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2003
 
ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2004 ที่โปรตุเกสปีนี้เขามีชื่อเป็นตัวจริง ในฐานะนักเตะคนสำคัญของทีม เขาลงเล่นนัดแรกพบฝรั่งเศส และอังกฤษชนะไป 2-1 โดยแลมพาร์ด ทำได้ 1 ประตู ซึ่งนัดต่อมาพบ สวิตเซอร์แลนด์ เขาก็พาทีมชนะไป 3-0 โดยต่อมาพบกับ โครเอเชีย และแลมพาร์ดก็ยิงอีก 1 ประตูในชัยชนะ 4-2 แต่แล้วอังกฤษก็ต้องตกรอบต่อมาด้วยฝีมือเจ้าภาพ ในการดวลจุดโทษ
 
'''2004/2005'''
ปีนี้เองเชลซีมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยการมาของโชเซ โมรีนยู ผู้จัดการทีมคนใหม่ซึ่งพกดีกรีมามากมายทั้งแชมป์ลีกโปรตุเกส แชมป์ยูฟ่าคัพ และ[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] เขาเปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่โดยซื้อนักเตะใหม่เข้ามาเสริมมากมาย แต่แฟรงก์ แลมพาร์ดก็ยังเป็นนักเตะคนสำคัญของทีมรวมดาราโลกอยู่ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ทีมผิดหวังเขาพาทีมขึ้นคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษ และทะลุไปถึงรอบ 4 ทีมสุดท้ายของแชมป์เปียนลีกแต่ก็พ่ายกับ[[ลิเวอร์พูล]]ซึ่งเป็นแชมป์ของแชมป์เปียนลีกในเวลาต่อมาไปด้วยประตูคาใจของแฟนเชลซีทั่วโลก นอกจากนี้ยังพาทีมได้แชมป์[[ลีกคัพ]]อีกด้วย โดยในฤดูกาลนี้เขาลงเล่นทั้งสิ้น 38 นัด ทำได้ 13 ประตู และ 4 ประตูจาก 12 เกมในยูฟ่าแชมเปียนลีก
 
'''2005/2006'''<ref>http://www.chelseafc.com/page/PlayerProfileDetail/0,,10268~6076,00.html</ref>
เขายังโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างสม่ำเสมอ พาต้นสังกัดขึ้นสู่จ่าฝูงพรีเมียร์ลีก ด้วยคะแนนท่วมท้น และยังยิงประตูอย่างต่อเนื่อง โดยทำลายสถิติลงสนามติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ชิพของเดวิด เจมส์ที่ทำไว้ 159 นัดลงอย่างสิ้นเชิง โดยฤดูกาลนี้เขาทำได้ 20 ประตู เป็นประตูจาก[[พรีเมียร์ลีก]] 16 ประตู จากการลงเตะ 35 นัด ซึ่งสูงที่สุดในบรรดากองกลางจาก[[พรีเมียร์ลีก] และ 2 ประตูจาก[[ลีกคัพ]]และอีก 2 ประตูจาก[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] และพาเชลซีได้แชมป์[[พรีเมียร์ลีก] อีกสมัย
 
'''2006/2007'''
ปีนี้เขาก็ยังยิงประตูได้อย่างต่อเนื่อง ทำได้ถึง 21 ประตูจาก[[พรีเมียร์ลีก]] 11 ประตู จากการลงเตะ 36 นัด [[เอฟเอคัพ]] 6 ประตู [[ลีกคัพ]] 3 ประตู [[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] 1 ประตู
 
'''2007/2008'''
ในปีนี้อาจเป็นปีที่โชคไม่ค่อยดีสำหรับเขา เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บและสูญเสียมารดา แต่ก็ยังสามารถทำประตูสำคัญได้จากจุดโทษในนัดเจอ[[ลิเวอร์พูล]] เกม[[ยูฟ่าแชมเปียนลีก]]รอบรองชนะเลิศ และฤดูกาลนี้เขาทำประตูได้ถึง 20 ประตู จาก[[พรีเมียร์ลีก]] 10 ประตูจากการลงเตะ 23 (1) นัด [[เอฟเอคัพ]] 2 ประตู [[ลีกคัพ]] 4 ประตู และ[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] 4 ประตู
 
'''2008/2009'''
เขาต่อสัญญาใหม่ออกไปอีก 5 ปี และยังรักษามาตรฐานการเล่นได้อย่างดี ทำประตูในทุกรายการ 20 ประตู จาก[[พรีเมียร์ลีก]] 12 ประตู จากการลงเตะ 37 นัด [[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] 3 ประตู [[ลีกคัพ]] 2 ประตู และ[[เอฟเอคัพ]] 3 ประตู และเป็นประตูสำคัญให้ทีมกลับมาเอาชนะ[[เอฟเวอร์ตัน]]คว้าแชมป์ไปในที่สุด ด้วยฟอร์มของเขา ทำให้ได้รับการโหวตให้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของเชลซี ประจำฤดูกาลนี้
 
'''2009/2010'''
เขาสามารถคว้าดับเบิลแชมป์กับเชลซีเป็นสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ โดยการเป็นแชมป์[[พรีเมียร์ลีก]]และ[[เอฟเอคัพ]] โดยยิงไปทั้งสิ้น 27 ประตูรวมทุกรายการในตำแหน่งกองกลาง
 
'''2010/2011'''
เป็นฤดูกาลที่ย่ำแย่สำหรับเขา ด้วยอาการบาดเจ็บที่รบกวนทำให้ในฤดูกาลนี้เขาได้ลงเล่นแค่ 32 เกม ยิงได้ 13 ประตู รวมทุกรายการ โดยแบ่งเป็นใน[[พรีเมียร์ลีก]] 10ประตู และ[[เอฟเอคัพ]] 3 ประตู
 
'''2014/2015'''
แลมพาร์ดได้ย้ายออกจากเชลซี สโมสรที่เขาประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงไปยัง[[New York City FC|นิวยอร์กซิตี]] ใน[[เมเจอร์ลีกซอกเกอร์|เมเจอร์ลีก]] สหรัฐอเมริกา แต่ทว่ายังมิได้ทันได้ลงเล่นให้กับต้นสังกัด ก็ถูกแมนเชสเตอร์ซิตีขอยืมตัวกลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ทันที พร้อมกับได้ประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติไป โดยทำสถิติติดทีมชาติทั้งสิ้น 106 นัด ยิงประตูได้ทั้งหมด 29 ลูก
<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9570000097830|title=“แลมพ์” ลาทีมชาติ อวย “ปู่รอย” พาสิงโตลิ่วยูโร 2016 |date=26 August 2014|accessdate=27 August 2014|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
 
แลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีครั้งแรก ในนัดที่พบกับ[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าถูกใบเหลืองในนาทีที่ 22 และถูกเปลี่ยนตัวออกเมื่อหมดครึ่งแรก<ref>{{cite web|url=http://www.siamsport.co.th/arsenal/news_inside.asp?IDN=247302|title=ปืนใหญ่จมเรือใบไม่ลง!เปิดรังเจ๊าสุดมัน2-2|date=13 September 2014|accessdate=14 September 2014|publisher=สยามสปอร์ต}}</ref>
 
แลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีนัดที่สอง ในนัดที่พบกับ[[สโมสรฟุตบอลเชลซี|เชลซี]] ทีมเก่าของตัวเอง ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าผู้เล่นของแมนเชสเตอร์ซิตีถูกใบแดงในนาทีที่ 66 จึงทำให้เชลซีขึ้นนำก่อน 1-0 ในนาทีที่ 71 จนกระทั่งถึงช่วงท้ายในนาทีที่ 85 แลมพาร์ดทำประตูตีเสมอให้กับทีม ช่วยให้ผลการแข่งขันกลับมาเสมอได้สำเร็จ <ref>{{cite web|url=http://www.siamsport.co.th/football/premierleague/view.php?code=140921213328|title=แลมพ์สยิงทีมเก่า!เรือ 10 ตัวเจ๊าสิงห์ดราม่า 1-1|date=22 September 2014|accessdate=22 September 2014|publisher=สยามสปอร์ต}}</ref>
 
== เกียรติประวัติ ==