ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แบริออน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
จนถึงเร็ว ๆ นี้ ยังเชื่อกันว่ามีการทดลองบางอย่างที่สามารถแสดงถึงการมีอยู่ของ ''[[เพนตาควาร์ก]]'' หรือแบริออนประหลาดที่ประกอบด้วยควาร์ก 4 ตัวกับแอนติควาร์ก 1 ตัว<ref>H. Muir (2003) </ref><ref>K. Carter (2003) </ref> ชุมชนนักฟิสิกส์อนุภาคทั้งหมดไม่เคยมองการมีอยู่ของอนุภาคในลักษณะนี้มาก่อนจนกระทั่ง ค.ศ. 2006<ref name=PDGPentaquarks2006>W.-M. Yao ''et al.'' (2006) : [http://pdg.lbl.gov/2006/reviews/theta_b152.pdf Particle listings – Θ<sup>+</sup>]</ref> แต่ในปี ค.ศ. 2008 มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือซึ่งล้มล้างความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเพนตาควาร์ก<ref name=PDGPentaquarks2008>C. Amsler ''et al.'' (2008) : [http://pdg.lbl.gov/2008/reviews/pentaquarks_b801.pdf Pentaquarks]</ref>
 
เนื่องจากแบริออนประกอบด้วยควาร์ก มันจึงมี[[อันตรกิริยาอย่างเข้ม]] ตรงข้ามกับ[[เลปตอน]] ซึ่งไม่มีส่วนประกอบของควาร์ก จึงไม่มีคุณสมบัติอันตรกิริยาอย่างเข้ม แบริออนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ [[โปรตอน]] และ [[นิวตรอน]] ซึ่งเป็นส่วนประกอบของมวลของ[[สสาร]]ที่มองเห็นได้ในเอกภพ ขณะที่[[อิเล็กตรอน]] (ส่วนประกอบหลักอีกอย่างหนึ่งของ[[อะตอม]]) เป็นเลปตอน แบริออนแต่ละตัวจะมีคู่ปฏิอนุภาคเรียกว่า แอนติแบริออน ซึ่งควาร์กจะถูกแทนที่ด้วยคู่ตรงข้ามของมันคือ แอนติควาร์ก ตัวอย่างเช่น [[โปรตอน]]ประกอบด้วย 2 ควาร์กอัพอัพควาร์ก และ 1 ดาวน์ควาร์กดาวน์ คู่ปฏิอนุภาคของมันคือ [[แอนติโปรตอน]] ประกอบด้วย 2 อัพแอนติควาร์กอัพ และ 1 ดาวน์แอนติควาร์กดาวน์
 
== สสารแบริออน ==