ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปรากร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Sydney Opera House Australia.jpg|thumb|right|250px|[[โรงอุปรากรซิดนีย์]]ใน[[ประเทศออสเตรเลีย]] เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก]]
{{โครง}}
{{ความหมายอื่น|||ดูที่=โอเปร่า (แก้ความกำกวม)}}
[[Image:SydneyOperaHouse.jpg|thumb|right|400px|[[โรงอุปรากรซิดนีย์]]: โรงโอเปร่าที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก]]
'''อุปรากร''' ({{lang-en|opera}}) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบ[[ละคร]]ที่ดำเนินเรื่องโดยใช้[[ดนตรี]]เป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของ[[ดนตรีคลาสสิก]] ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับ[[ละครเวที]]ในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึง[[วงออร์เคสตรา]]ขนาดใหญ่
'''โอเปร่า (opera)''' คือ [[ละคร]]ประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก
 
== ประวัติ ==
[[Category:การบันเทิง]]
อุปรากรกำเนิดขึ้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ณ [[ประเทศอิตาลี]] สามารถสืบค้นต้นกำเนิดได้ถึงสมัยกรีกโบราณ ซึ่งมีการแสดงที่เรียกว่า tragedies ลักษณะเป็นการขับร้องประสานเสียงประกอบบทเจรจา ในสมัยกลางและเรเนส์ซองส์มีการแสดงที่ใช้การขับร้องดำเนินเรื่อง เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 16 กลุ่มนักดนตรีอิตาเลียนที่เมืองฟลอเรนซ์ได้ศึกษาประวัติเกี่ยวกับละครร้องย้อนไปถึงยุคกรีกโบราณดังกล่าว ในที่สุดจึงคิดรูปแบบการประพันธ์ที่เรียกว่า '''อุปรากร''' (Opera) ขึ้น ผู้ประพันธ์เพลงที่ได้พัฒนารูปแบบของอุปรากร คือ เพรี ราวต้นศตวรรษที่ 17 มอนเทเวร์ดีได้ปรับรูปแบบอุปรากรให้สมบูรณ์ขึ้น ทำให้คล้ายกับรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
[[Category:ละคร]]
 
[[ดนตรีบาโรค|ยุคบาโรค]]อุปรากรเป็นการแสดงที่ผู้ขับร้องนำบทพระเอกและนางเอกเป็นสตรีล้วน ตั้งแต่[[ยุคคลาสสิก (ดนตรี)|ยุคคลาสสิก]]เป็นต้นมา ผู้ขับร้องนำทั้งพระเอกและนางเอกใช้ผู้ขับร้องเป็นชายและหญิงแท้จริง [[โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท|โมสาร์ท]]เป็นผู้หนึ่งที่พัฒนารูปแบบอุปรากรในยุคคลาสสิกให้มีมาตรฐาน โดยไว้หลายเรื่องด้วยกัน ใน[[ยุคโรแมนติก (ดนตรี)|ยุคโรแมนติก]]การประพันธ์อุปรากรมีรูปแบบหลากหลาย บางเรื่องมีความยาวมาก สามารถแสดงได้ทั้งวันทั้งคืน
[[he:אופרה]]
 
[[af:Opera]]
== องค์ประกอบของอุปรากร ==
[[bg:Опера]]
* '''1. เนื้อเรื่อง''' เนื้อเรื่องที่นำมาเป็นบทขับร้อง เป็นเรื่องที่มาจากตำนาน เทพนิยายโบราณ และวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาทำเป็นบทร้อง และที่แต่งขึ้นใหม่โดยเฉพาะ โดยมีคีตกวีเป็นผู้แต่งทำนอง คีตกวีบางคนก็มีความสามารถแต่งเนื้อเรื่องหรือบทละคร และดนตรีประกอบด้วย
[[bs:Opera]]
* '''2. ดนตรี''' ดนตรีในอุปรากรเป็นสิ่งที่ทำให้อุปรากรมีชีวิตจิตใจ มักเริ่มด้วยบทโหมโรง (Overture) และดนตรีประกอบบทขับร้อง ทั้งดำเนินเรื่องและเจรจากันตลอดทั้งเรื่อง ดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญ จนอุปรากรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานของคีตกวี (Composer) มากกว่าที่จะคิดถึงผู้ประพันธ์เนื้อเรื่อง เช่น เรื่อง Madame Butterfly ของ Giacomo Puccini (1878-1924) [[จาโกโม ปุชชีนี|ปุชชีนี]] เป็นคีตกวีที่แต่งดนตรีประกอบ ผู้แต่งละครมาดามบัตเตอร์ฟลาย คือ David Belasco (ได้โครงเรื่องมาจากเรื่องสั้นของ John Luther Long) ผู้แต่งเนื้อเรื่องให้เป็นบทขับร้อง คือ Luigi lllica และ Giuseppe Giacosa ซึ่งเมื่อพูดถึงเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายแล้ว ก็จะยกย่องให้เป็นงานของปุชชินี มักไม่มีใครนึกถึงนักประพันธ์บทขับร้อง หรืออุปรากรเรื่อง คาร์เมน (Carmen) ของ [[จอร์จ บีเซต์|บิเซต์]] (Georges Bizet) ที่มี Prosper Merimee เป็นผู้ประพันธ์เรื่อง และมี Henri Meilhac และ Ludovic Halevy เป็นผู้ร้อยกรองบทขับร้อง แต่คนก็จะพูดกันถึงแต่เพียงว่า อุปรากรเรื่องคาร์เมนของบิเซต์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นวงออร์เคสตรา
[[ca:Òpera]]
* '''3. ผู้แสดง''' ผู้แสดงอุปรากรนอกจากจะต้องเป็นนักร้องที่มีเสียงไพเราะ มีพลังเสียงดี แข็งแรง ฝึกฝนเป็นนักร้องอุปรากรโดยเฉพาะแล้ว ยังเป็นนักแสดงผู้มีบทบาทยอดเยี่ยมด้วย เน้นในเรื่องน้ำเสียง ความสามารถในการขับร้องและบทบาทมากกว่าความสวยงามและรูปร่างของผู้แสดง มักให้นักร้องเสียงสูงทั้งหญิงและชายแสดงเป็นตัวเอกของเรื่อง โดยทั่วไป น้ำเสียงที่ใช้ในการขับร้องแบ่งเป็น 6 ระดับเสียง คือ เป็นน้ำเสียงนักร้องชาย 3 ระดับ และน้ำเสียงนักร้องหญิง 3 ระดับ ดังนี้
[[cs:Opera]]
 
[[de:Oper]]
1. [[โซปราโน]] (Soprano) เป็นระดับเสียงสูงสุดของนักร้องหญิง
[[eo:Opero]]
 
[[en:Opera]]
2. [[เมซโซโซปราโน]] (Mezzo - Soprano) เป็นระดับเสียงกลางของนักร้องหญิง
[[es:Ópera]]
 
[[et:Ooper]]
3. คอนทรัลโต หรือ [[อัลโต]] (Contralto or Alto) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องหญิง
[[fa:اپرا]]
 
[[fi:Ooppera]]
4. [[เทเนอร์]] (Tenor) เป็นเสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย
[[fr:Opéra (musique)]]
 
[[ga:Opera]]
5. [[บาริโทน]] (Baritone) เป็นเสียงระดับกลางของนักร้องชาย
[[gd:Opra]]
 
[[hr:Opera]]
6. [[เบส]] (Bass) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องชาย
[[hu:Opera (színmű)]]
 
[[id:Opera]]
== ลักษณะของอุปรากร ==
[[it:Opera]]
* 1. [[ลิเบรตโต]] (Libretto) คือเนื้อเรื่อง หรือบทละครของอุปรากร บางครั้งอาจดัดแปลงมาจากนวนิยายหรือบทละครอื่น ๆ บางครั้งก็เป็นบทที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับคีตกวี เช่น ดา ปองเต (Da Ponte) เขียนบทบางเรื่องให้กับ[[โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท|โมสาร์ท]] เช่น เรื่อง [[Don Giovanni]], บัวตา (Boita) เขียนบทบางเรื่องให้กับ[[จูเซปเป แวร์ดี|แวร์ดี]] เช่น เรื่อง Otella บางครั้งบทก็เป็นของผู้ประพันธ์เพลงเอง เช่น [[ริชาร์ด วากเนอร์|วากเนอร์]] ประพันธ์ Lohengrin และ The Flying Dutchman และเมน็อตตี (Menotti) ประพันธ์ The Telephone เป็นต้น
[[ja:オペラ]]
* 2. [[เพลงโหมโรง]] (Overture) คือ บทประพันธ์ที่ใช้บรรเลงนำก่อนการแสดงอุปรากร บางครั้งใช้คำว่า [[พรีลูด]] (Prelude) เป็นเพลงที่แสดงถึงอารมณ์โดยรวมของอุปรากรที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าเป็นเรื่องเศร้า เพลงโหมโรงก็จะมีทำนองเศร้าอยู่ในที เป็นต้น บางครั้งเพลงโหมโรงอาจรวมเอาทำนองหลักจากอุปรากรฉากต่าง ๆ ไว้ก็ได้ เพลงโหมโรงนี้มักเป็นเพลงสั้น ๆ ประมาณ 5-10 นาที ปกติจะใช้[[วงออร์เคสตรา]]ทั้งวงบรรเลง ลักษณะของเพลงโหมโรงมักรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านความดัง – ค่อย สีสัน ลีลาต่าง ๆ จึงทำให้เพลงโหมโรงเป็นบทเพลงที่ชวนฟัง เพลงโหมโรงของอุปรากรบางเรื่องมีความไพเราะเป็นที่นิยมฟังและบรรเลงเป็นบทเพลงแรกของการแสดงคอนเสิร์ตโดยทั่วไป เช่น “Overture of [[The Marriage of Figaro]]” ของโมสาร์ท “The Barber of Seville Overture” ของ [[จิโออัคคิโน รอสซินี|รอสซินี]] “Fidelio” ของ[[ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น|เบโธเฟ่น]] “Overture of [[Carmen]]” ของ[[จอร์จ บีเซต์|บิเซต์]] เป็นต้น
[[nl:Opera]]
* 3. [[เรซิเททีฟ]] (Recitative) คือบทสนทนาในอุปรากรที่ใช้การร้องแทนการพูด อย่างไรก็ตามมักจะไม่เป็นทำนองที่ไพเราะมากนัก จะเน้นที่คำพูดมากกว่า แต่ก็มีดนตรีและการร้องช่วยทำให้บทสนทนาน่าสนใจ เป็นลักษณะการร้องอีกประเภทหนึ่ง
[[pl:Opera (muzyka)]]
* 4. [[อาเรีย]] (Aria) คือ บทร้องเดี่ยวในอุปรากร มีลักษณะตรงกันข้ามกับเรซิเททีฟ เนื่องจากเน้นการร้องและดนตรีมากกว่าเน้นการสนทนา อาเรียเป็นบทร้องที่ตัวละครเดี่ยวร้อง จัดเป็นบทร้องที่เต็มไปด้วยลีลาของดนตรีที่งดงาม ยากแก่การร้อง กล่าวได้ว่าอาเรียเป็นส่วนที่ทำให้อุปรากรมีความเป็นเอกลักษณ์ได้เลยทีเดียว
[[pt:Ópera]]
* 5. บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other Small Ensembles) บทร้องที่มีนักร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรีย เรียกว่า [[ดูโอ]] (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า [[ทริโอ]] (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า [[ควอเต็ต]] (Quartet) และ[[ควินเต็ต]] (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (Sextet) “Lucia” จากเรื่อง Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงมาก
[[simple:Opera]]
* 6. [[วงขับร้องประสานเสียง|บทร้องประสานเสียง]] (Chorus) ในอุปรากรบางเรื่องที่มีฉากประกอบไปด้วยผู้เล่นจำนวนมากมักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ บทร้องประสานเสียงที่มีชื่อเสียง เช่น “The Anvil Chorus” จาก Il Trovatore, “The Pilgrim’s Chorus” จาก “Tannhauser, The Triumphal Chorus” จาก Aida
[[sr:Опера]]
* 7. [[วงออร์เคสตรา|ออร์เคสตรา]] (Orchestra) วงออร์เคสตรานอกจากจะเล่นเพลงโหมโรงแล้ว ยังใช้ประกอบการร้องในลักษณะต่าง ๆ ตลอดเรื่อง ในบางครั้งออร์เคสตราจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้อง เพื่อให้การร้องหรือเรซิเททีฟแต่ละตอนต่อเนื่องหรือสร้างอารมณ์ให้เข้มข้นขึ้น บางครั้งวงออร์เคสตราจะมีบทบาทมาก เช่น อุปรากรของวากเนอร์ มักจะเน้นการบรรเลงของวงออร์เคสตราเสมอ
[[sv:Opera]]
* 8. ระบำ (Dance) ในอุปรากรบางเรื่องอาจมีบางฉากที่มีการเต้นรำประกอบ โดยทั่วไปมักเป็นการแสดง[[บัลเลต์]]ที่สวยงาม ซึ่งเป็นของคู่กันกับอุปรากรแบบฝรั่งเศส (French Opera) บางครั้งอาจจะเป็นระบำในลักษณะอื่น ๆ เช่น ระบำพื้นเมือง การเต้นรำแบบต่าง ๆ เช่น วอล์ทซ (Waltz) เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
[[vo:Lop]]
* 9. องก์ และฉาก (Acts and Scenes) อุปรากรก็เช่นเดียวกับละครทั่ว ๆ ไป มีการแบ่งเป็นองก์ และแบ่งย่อยลงไปเป็นฉาก เช่น คาร์เมน (Carmen) เป็นอุปรากร 4 องก์ เป็นต้น
* 10. [[ไลท์โมทีฟ]] (Leitmotif) ในอุปรากรบางเรื่อง ผู้ประพันธ์จะมีแนวทำนองต่าง ๆ แทนตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์ สภาพการณ์ แนวทำนองเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดเวลาเพื่อแทนตัวละครหรือเหตุการณ์นั้น ๆ วากเนอร์เป็นผู้หนึ่งที่ชอบใช้ไลท์โมทีฟ เช่น Ring motive ในอุปรากรชุด The Ring และ Love motive จากอุปรากรเรื่อง Tristan and Isolde
 
== ประเภทของอุปรากร ==
* 1. อุปรากร (Opera) โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง โอเปราซีเรีย (Opera seria) หรือ Serious opera หรือ Grand opera ซึ่งเป็นอุปรากรที่ผู้ชมต้องตั้งใจชมเป็นอย่างมาก เพราะการดำเนินเรื่องใช้บทร้องลักษณะต่าง ๆ และเรซิเททีฟ ไม่มีการพูดสนทนา จัดว่าเป็นศิลปะดนตรีชั้นสูง การชมอุปรากรประเภทนี้จึงต้องมีพื้นความรู้และความเข้าใจในองค์ประกอบของอุปรากร โดยเฉพาะด้านดนตรีเพื่อความซาบซึ้งอย่างแท้จริง เรื่องราวของอุปรากรประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องความเก่งกาจของพระเอกหรือตัวนำ หรือเป็นเรื่องโศกนาฏกรรม (Heroic or Tragic drama)
* 2. อุปรากรชวนหัว (Comic Opera) คือ อุปรากรที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน ตลกขบขันล้อเลียน มักมีบทสนทนาที่ใช้พูดแทรกระหว่างบทเพลงร้อง อุปรากรประเภทนี้ดูง่ายกว่าประเภทแรก เนื่องจากเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีบทสนทนาแทรก ดนตรีและเพลงที่ฟังไม่ยากเกินไป อุปรากรชวนหัวมีหลายประเภท เช่น Opera–comique (ฝรั่งเศส) Opera buffa (อิตาเลียน) Ballad opera (อังกฤษ) และ Singspiel (เยอรมนี)
* 3. โอเปเรตตา (Operetta) จัดเป็นอุปรากรขนาดเบา เนื้อเรื่องส่วนใหญ่สะท้อนชีวิตในสังคม มีการสอดแทรกบทตลกเบาสมองอยู่ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักกระจุ๋มกระจิ๋ม คล้ายกับอุปรากรชวนหัว โดยปกติใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา
* 4. คอนทินิวอัส โอเปร่า (Continuous opera) เป็นอุปรากรที่ผู้ประพันธ์ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ มิใช่เป็นการร้องหรือสนทนาที่เป็นช่วง ๆ ลักษณะของคอนทินิวอัส โอเปร่านี้วากเนอร์เป็นผู้นำและใช้เสมอในอุปรากรที่เขาเป็นผู้ประพันธ์
 
== ตัวอย่างอุปรากรที่สำคัญ ==
* 1. Opera, Serious Opera
** [[Don Giovanni]] โดย โมสาร์ท
** [[The Magic Flute]] โดย โมสาร์ท
** Alceste โดย [[คริสโตฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค|กลุ๊ค]]
** [[La Bohème]] โดย [[จาโกโม ปุชชีนี|ปุชชีนี]]
** [[Hensel and Gretel]] โดย ฮุมเปอร์ดิง
** [[Julius Caesar]] โดย [[เกออร์ก ฟรีดริก ฮันเดล|ฮันเดล]]
** Lohengrin โดย วากเนอร์
** [[Madama Butterfly]] โดย [[จาโกโม ปุชชีนี|ปุชชีนี]]
** The Mastersingers of Nuremberg โดย วากเนอร์
** Norma โดย เบลลินี
** [[Orpheus and Eurydice]] โดย กลุ๊ค
** [[Otello]] โดย แวร์ดี
** Parsifal โดย วากเนอร์
** Pelleas et Melisande โดย [[โคล้ด เดอบูซี|เดอบูซี]]
** Prince Igor โดย โบโรดิน
** The Rake's Progress โดย [[อิกอร์ สตราวินสกี้|สตราวินสกี้]]
** Rigoletto โดย แวร์ดี
** The Ring of the Nibelung (ชุดอุปรากร 4 เรื่อง) โดย วากเนอร์
** [[Romeo et Juleitte]] โดย [[ชาร์ลส กูโนด์|กูโนด์]]
** The Tale of Hoffmann โดย [[ฌาร์ค ออฟเฟนบาค|ออฟเฟนบาค]]
** [[Tosca]] โดย ปุชชินี
** Tristan and Isolde โดย วากเนอร์
** [[La Traviata]] โดย แวร์ดี
** [[William Tell]] โดย [[จิโออัคคิโน รอสซินี|รอสซินี]]
* 2. Comic Opera, Operetta
** The Abduction From The Seraglio โดย โมสาร์ท
** [[The Barber of Seville]] โดย รอสซินี
** The Bartered Bride โดย สเมทานา
** Die Fledermaus โดย โยฮัน สเตราส์
** Hary Janos โดย โคดาย
** H.M.S. Pinafore โดย เซอร์อาร์เธอร์ ซัลลิแวน
** [[The Marriage of Figaro]] โดย โมสาร์ท
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* คมสันต์ วงค์วรรณ์. '''ดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
* ณรุทธ์ สุทธจิตต์. '''สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548
* กรมวิชาการ. กระทรวงศึกษาธิการ. '''ดนตรีคลาสสิก...บทเพลงและการขับร้อง'''. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. 2545
{{จบอ้างอิง}}
 
 
[[หมวดหมู่:ดนตรีคลาสสิก]]
[[หมวดหมู่:การบันเทิง]]
[[หมวดหมู่:ละคร]]
[[หมวดหมู่:อุปรากร|*]]
{{โครงดนตรี}}